กรุงเทพฯ--3 เม.ย.--ฟิทช์ เรทติ้งส์
ฟิทช์ เรทติ้งส์
ประกาศปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign
Currency IDR) ของธนาคารไทยพาณิชย์
จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ลงเป็น 'BBB’ จาก 'BBB+’ และลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น
(Short-Term
Foreign Currency IDR) พร้อมกันนนี้ฟิทช์คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ SCB ที่ 'AA+(tha)’ และคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ
บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBS ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ
SCB
ที่
'AA(tha)’ โดยทั้ง SCB และ SCBS มีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
การปรับลดอันดับเครดิตของ
SCB
สะท้อนถึงความท้าทายของสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจและผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่กระจายไปในวงกว้าง
โดยผลกระทบดังกล่าวได้เพิ่มแรงกดดันต่อสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานของธนาคารที่อ่อนแอมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและทั่วโลกที่ซบเซา
แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมาตรการผ่อนปรนเพื่อช่วยสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้
แต่มาตรการเหล่านี้ไม่น่าจะหักล้างความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำต่อลูกหนี้ที่มีฐานะทางการงินที่อ่อนแอหรือเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางได้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานของธาคารไทยสามารถดูได้จาก
“Coronavirus
Outbreak Increases Challenges for Thai Banks’ Operating Environment” ลงวันที่ 2 เมษายน 2563
เนื่องจากระยะเวลาและแนวโน้มความรุนแรงของสถานการณ์การระบาดของโคโรน่าไวรัสยังมีความไม่แน่นอน
ซึ่งตามสมมติฐานกรณีฐานของฟิทช์นั้นคุณภาพของสินทรัพย์รวมถึงผลการดำเนินงานของ SCB อาจได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงระยะเวลา
2
ปีข้างหน้าเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานในปี 2562
โดยนอกจากระดับค่าใช้จ่ายการสำรองหนี้สูญ (credit cost) ที่อาจเพิ่มขึ้นแล้ว
รายได้ของธนาคารก็อาจจะปรับตัวลดลงจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำรวมถึงรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ชะลอตัว
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
อันดับเครดิตของ SCB พิจารณาจากโครงสร้างเครดิตของตัวธนาคารเอง
ซึ่งสะท้อนในอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating หรือ VR)
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิมีสถานะเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันของธนาคาร
และมีอันดับเครดิตในระดับเดียวกันกับอันดับเคดริของธนาคาร
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น สอดคล้องกับเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตของฟิทช์และสะท้อนถึงการประเมินโครงสร้างการระดมเงินและสภาพคล่องอขงธนาคารที่ระดับ
'bbb’
การคงอันดับเครดิตภายในประเทศและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิสกุลเงินบาทสะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ว่าโครงสร้างเคดริตโดยรวมของ
SCB
ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศในไทย
แม้ว่าโครงสร้างเครดิตอาจจะปรับตัวด้อยลงบ้าง
ซึ่งบ่งชี้ได้จากการปรับลดอันดับเครดิตสากล
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ
SCB
สะท้อนถึงความสามารถในการแข่งขันในฐานะที่เป็นธนาคารชั้นนำในประเทศไทย
โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้ารายย่อย ซึ่งรวมถึงสินเชื่อที่อาศัย ธนาคารยังมีเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่ง
โดยธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงเป็น 1 ใน 3
อันดับในด้านขนาดสินทรัพย์และเงินฝากที่ประมาณ 14%-15% ในปี 2562 ฟิทช์มองว่า ณ
ระดับความแข็งแกร่งทางการเงินปัจจุบัน
ธนาคารน่าจะสามารถหลีกเลี่ยงการถูกปรับลดอันดับลงเพิ่มเติมได้
เนื่องจากฟิทช์เชื่อว่า SCB มีความสามารถในการรองรับผลกระทบเชิงลบที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นที่มีอันดับเครดิตที่ต่ำกว่า
เช่น ในด้านอัตราส่วนเงินกองทุนที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Core Equity Tier 1) ที่ 17% ณ สิ้นปี 2562
และอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (2562: 134%)
และฐานะสภาพคล่องและความสามารถในการระดมเงิน
นอกจากนี้ปัจจัยดังกล่าวจะมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานของธนาคาร
อีกทั้งฟิทช์ยังเชื่อว่ามาตรการผ่อนปรนของธนาคารแห่งประเทศไทยในด้านคุณภาพสินทรัพย์และการปรับโครงสร้างหนี้น่าจะช่วยให้ธนาคารไทย
รวมทั้ง SCB
ให้สามารถรับมือกับสภาวะแวดล้อมที่ปรับตัวแย่ลงอย่างรุนแรงได้บ้าง
แต่คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบได้ทั้งหมด
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
อันดับเครดิตสนับสนุน
(Support
Rating) และ
อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ
SCB
สะท้อนถึงความสำคัญของธนาคารต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย
ในฐานะที่ธนาคารมีฐานลูกค้าเงินฝากใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในระบบธนาคารพาณิชย์
ฟิทช์ยังเชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนช่วยเหลือ (extraordinary
support) แก่ธนาคารหากมีความจำเป็น
เนื่องจากธนาคารเป็นหนึ่งในธนาคารที่มีนัยต่อระบบเศรษฐกิจ (D-SIB) ของประเทศไทย
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
อันดับเครดิตบริษัทลูก
การคงอันดับเครดิตภายในประเทศของ
SCBS
สอดคล้องกับการคงอันดับเครดิตของธนาคารแม่
(SCB)
SCBS ได้รับการจัดอันดับเครดิตให้อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตของธนาคารแม่
1 อันดับ
ซึ่งพิจารณาจากการที่ฟิทช์คาดว่า SCBS จะได้รับการสนับสนุนพิเศษที่นอกเหนือจากการดำเนินงานตามปรกติ
(extraordinary
support) จาก
SCB
โดยฟิทช์มองว่า
SCBS
มีสถานะเป็นบริษัทลูกที่สำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อ
SCB
ซึ่งสะท้อนได้จากการใช้ชื่อและเครื่องหมายทางการค้าร่วมกัน
การถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทลูกของธนาคารแม่ และการผสานการดำเนินงานและบริหารงานกันอย่างใกล้ชิดมากกับธนาคารแม่
อีกทั้ง SCBS
ยังมีบทบาทที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจรูปแบบธนาคารครบวงจร
(universal
banking strategy) ของธนาคารแม่
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
–
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ
SCB
จะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร
การปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินน่าจะส่งผลให้อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิในทิศทางเดียวกัน
ในขณะที่อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับ
หากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวได้รับการปรับเพิ่มอันดับหรือหากฟิทช์ประเมินว่าโครงสร้างการระดมเงินและสภาพคล่องของธนาคารปรับตัวดีขึ้น
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงในมุมมองของฟิทช์ต่อระดับโครงสร้างเครดิตของ
SCB
เทียบกับโครงสร้างเครดิตของธนาคาร
(หรือบริษัท)
อื่นในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศจะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตภายในประเทศของ
SCB
เช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตามโอกาสในการปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น
ด้วยโครงสร้างเครดิตของ SCB ในปัจจุบันเมื่อเทียบกันธนาคารอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินจะส่งผลให้อันดับเครดิตสากลถูกปรับลดลงเช่นกัน
อย่างไรก็ตามความเสี่ยงดังกล่าวจะถูกจำกัดโดยอันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
(ซึ่งอันหลังอยู่ที่ระดับ 'BBB-’)
การปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศลงอาจเกิดได้จากโครงสร้างเครดิตของธนาคารที่ด้อยลงเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
–
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับเป็น
'bbb+’
หาก
SCB
มีแนวโน้มอัตรากำไรและคุณภาพสินทรัพย์จัดอยู่ในระดับสอดคล้องกับธนาคารอื่นที่มีอันดับเครดิตสูงกว่าและอยู่ในสภาวะแวดล้อมการดำเนินงานที่ระดับเดียวกัน
(ที่ bbb)
เช่น
อัตราส่วนสินเชื่อคุณภาพต่อสินเชื่อรวมต่ำกว่า 3%
อีกทั้งยังมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่แข็งแกร่งในด้านของอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื้อคุณภาพและเงินกองทุน
เช่น CET1 อยู่ที่ระดับ 16%
อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับความแข็งแกร่งของธนาคารอาจได้รับการปรับลดอันดับเป็น
'bbb-'
หากฐานะเงินกองทุนของ
SCB
ปรับตัวด้อยลงอย่างต่อเนื่องจนไม่เพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากคุณภาพสินทรัพย์ที่ด้อยลง
เช่น การที่อัตราส่วน CET1 ของธนาคารปรับตัวลดลงต่ำกว่า 13%
โดยอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นสูงกว่า 6% และอัตราส่วนสำรองหนี้เสียต่อสินเชื้อด้อยคุณภาพต่ำกว่า
120% ใน 2 ปีข้างหน้า
ในมุมมองของฟิทช์ เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้จากผลประกอบการและกำไรของ SCB ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากการลดลงของอัตรากำไรและคุณภาพสินทรัพย์ที่ด้อยลง
ที่อาจเกิดจากทั้งความท้าทายของสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของธนาคาร
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
–
อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากฟิทช์เชื่อว่ามีโอกาสมากขึ้นที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารที่มีนัยต่อระบบ
(D-SIB)
ซึ่งรวมถึง
SCB
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง
การปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยที่ 'BBB+’/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
ก็อาจบ่งชี้ได้ว่ารัฐบาลมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการสนับสนุนธนาคาร (รวมถึง SCB) แต่การพิจารณาอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำต้องคำนึงถึงการที่โอกาสในการให้การสนับสนุนธนาคารไม่มีการปรับตัวลดลง
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอาจถูกปรับลดอันดับหากฟิทช์เชื่อว่าความสามารถที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารนั้นลดลง
เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นหากอันอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยถูกปรับลดอันดับ
นอกจากนี้การปรับลดอันดับเครดิตยังอาจเกิดได้หากฟิทช์เชื่อว่ามีโอกาสลดลงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารที่มีนัยต่อระบบ
(รวมถึง SCB)
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
อันดับเครดิตบริษัทลูกและบริษัทย่อย
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตภายในประเทศของ SCBS จะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารแม่ อีกทั้งยังอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงมุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับโอกาสในการที่ธนาคารแม่ (ซึ่งคือ SCB) จะให้การสนับสนุนแก่บริษัท เช่น หาก SCBS มีขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและมีสัดส่วนการสร้างรายได้ให้กับธนาคารแม่เพิ่มขึ้น
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตอาจได้รับกระทบเชิงลบ
ในกรณีที่โอกาสที่ธนาคารแม่จะให้การสนับสนุนแก่ SCBS ปรับตัวลดลง เช่นในกรณีที่ธนาคารแม่ลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทลูกลงอย่างมากหรือการลดระดับความใกล้ชิดหรือความเชื่อมโยงในด้านการดำเนินงานและการบริหารงาน
อย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง
การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
หากไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนนี้
แสดงว่าธนาคารมีระดับคะแนนความสัมพันธ์ของ ESG ต่ออันดับเครดิต
ไม่เกินระดับ 3
ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร
ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตาม
รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้
SCB:
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว ลดอันดับเป็น 'BBB’ จาก 'BBB+’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น ลดอันดับเป็น 'F3’ จาก 'F2’อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน ลดอันดับเป็น 'bbb’ จาก 'bbb+’อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ '2’อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ คงอันดับที่ 'BBB-’อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ 'AA+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ 'F1+(tha)’อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ลดอันดับเป็น 'BBB’ จาก 'BBB+’อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ 'AA+(tha)’อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ 'F1+(tha)’
SCBS:
อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ 'AA(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ 'F1+(tha)’