กรุงเทพฯ--3 เม.ย.--ฟิทช์ เรทติ้งส์
ฟิทช์ เรทติ้งส์
ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Issuer
Default Rating) ของธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ที่ 'BBB’ และคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่
'AA+(tha)’ และฟิทช์ยังได้ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว
(National
Long-Term Rating) ของบริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย ซีมิโก้ จำกัด หรือ KTZ ที่ 'A+(tha)’ ทั้ง KTB และ KTZ มีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
พร้อมกันนี้
ฟิทช์ได้ปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ KTB ลงเป็น 'AA-(tha)’ จาก 'AA(tha)’
รายละเอียดอันดับเครดิตทั้งหมดได้แสดงไว้ในส่วนท้าย
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
อันดับเครดิตของ KTB มีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากอันดับเครดิตสนับสนุนที่
'2’ อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (Support
Rating Floor) ที่
'BBB’
เนื่องจากฟิทช์เชื่อว่าความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนพิเศษที่นอกเหนือจากการดำเนินงานตามปรกติ
(extraordinary
support) แก่
KTB
ในกรณีที่มีความจำเป็น
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
(Viability
Rating)
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KTB ที่ 'bbb-’ พิจารณาถึงถึงเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่งในประเทศไทยและฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งโดยเฉพาะในกลุ่มรัฐวิสาหกิจและข้าราชการ
โดยความสัมพันธ์กับหน่วยงานรัฐเป็นยปัจจัยช่วยให้ธนาคารรักษาความสามารถในการระดมทุน
(funding)
ให้อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพและรักษาความสามารถในการแข่งขัน
ฐานะเงินกองทุนของ KTB ปรับตัวดีขึ้นมาในระดับใกล้เคียงกับกลุ่มธนาคารในต่างประเทศที่มีอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินคล้ายกัน
และช่วยลดลความเสี่ยงได้บ้าง ณ ระดับเครดิตปัจจุบัน
แต่อย่างไรก็ตามอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนที่เป็นของเจ้าของต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Core Equity
Tier 1) ที่
15.2% ณ สิ้นปี 2562 ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่
16%
อีกทั้งฟิทช์ยังมองว่า KTB มีระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้สูงกว่าธนาคารขนาดใหญ่รายอื่นในประเทศ
เนื่องจากธนาคารมีการให้การสนับสนุนโครงการของรัฐบาลบ้าง
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินยังสะท้อนถึงความท้าทายของสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจและผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่กระจายไปในวงกว้าง
โดยผลกระทบดังกล่าวได้เพิ่มแรงกดดันต่อสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานที่อ่อนแอมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและทั่วโลกที่ซบเซา
แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมาตรการผ่อนปรนเพื่อช่วยสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้
แต่มาตรการเหล่านี้ไม่น่าจะหักล้างความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำต่อลูกหนี้ที่มีฐานะทางการเงินที่อ่อนแอหรือเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางได้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานของธาคารไทยสามารถดูได้จาก
“Coronavirus
Outbreak Increases Challenges for Thai Banks’ Operating Environment” ลงวันที่ 2 เมษายน 2563
เนื่องจากระยะเวลาและแนวโน้มความรุนแรงของสถานการณ์การระบาดของโคโรน่าไวรัสยังมีความไม่แน่นอน
ซึ่งตามสมมติฐานกรณีฐานของฟิทช์นั้นคุณภาพของสินทรัพย์รวมถึงผลการดำเนินงานของ KTB อาจได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงระยะเวลา
2
ปีข้างหน้าเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานในปี 2562
โดยนอกจากระดับค่าใช้จ่ายการสำรองหนี้สูญ (credit cost) ที่อาจเพิ่มขึ้นแล้ว
รายได้ของธนาคารก็อาจจะปรับตัวลดลงจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำรวมถึงรายได้ที่ไม่ใช้ดอกเบี้ยที่ชะลอตัว
อย่างไรก็ตามด้วยอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KTB ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าธนาคารขนาดใหญ่ในประเทศอยู่
1 อันดับ
น่าจะสะท้อนไปแล้วบ้างถึงความผันผวนที่จะสูงกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารที่มีอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสูงกว่าและอยู่ในสภาวะแวดล้อมในระดับเดียวกัน
KTB
ยังคงมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงในด้านของเงินกองทุนและอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ
(132% ณ สิ้นปี 2562) น่าจะช่วยรองรับความเสี่ยงได้
อีกทั้งมาตรการผ่อนปรนของธนาคารแห่งประเทศไทยในด้านคุณภาพสินทรัพย์และการปรับโครงสร้างหนี้น่าจะช่วยบรรเทาความเสี่ยงไปได้ในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตามฟิทช์ยังเชื่อผลการดำเนินงานของธนาคารไทยน่าจะปรับตัวแย่ลงในช่วง 2 ปีข้างหน้า
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสนับสนุน
(Support
Rating) และ
อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (Support Rating Floor)
อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ KTB มีปัจจัยในการพิจารณาจากการที่ฟิทช์เชื่อว่าความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนพิเศษที่นอกเหนือจากการดำเนินงานตามปรกติ
ในกรณีที่มีความจำเป็น นอกจากนี้ KTB ยังเป็น 1 ใน 5
ธนาคารที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้เป็นธนาคารที่มีนัยต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
(D-SIB)
ประกอบกับ
KTB
ยังมีความสำคัญในเชิงกลยุทย์ต่อรัฐบาลไทย
โดย KTB
เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งเดียวที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่
ดังนั้น KTB
จึงมีความพร้อม
(ด้านของระบบและเครือข่ายสาขา) ที่จะช่วยให้การสนับสนุนแก่นโยบายจากภาครัฐ เช่น
โครงการกระเป๋าเงินอิเลคทรอนิกส์ (National e-wallet)
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิสกุลเงินบาทที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่
2 ตามเกณฑ์บาเซล
3 ของ KTB ถูกปรับลดอันดับลงมาที่
'AA-(tha)’
ซึ่งต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวและเป็นอันดับเครดิตอ้างอิงของหุ้นกู้ด้อยสิทธิอยู่
2 อันดับ
ทั้งการจัดอันดับเครดิตดังกล่าวสอดคล้องกับกรณีพื้นฐานตามเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตฉบับปรับปรุงใหม่ของฟิทช์
เนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวมีโอกาสที่จะได้รับชำระหนี้คืน (recovery rate) ในอัตราที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
ไม่มีหลักประกัน หุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวมีสถานะสิทธิด้อยกว่าหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกัน และไม่มีคุณสมบัติบังคับตัดหนี้สูญทั้งจำนวน
และหุ้นกู้ดังกล่าวไม่ได้ถูกปรับลดอันดับเพิ่มเติมเพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นกู้จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ดาดการณ์
(non-performance
risk) เนื่องจากไม่มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินกิจการ
(going-concern
loss absorption) เช่น
สิทธิในการยกเว้นหรือการเลื่อนจ่ายดอกเบี้ย
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
–
บริษัทลูกและบริษัทร่วม
อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ KTZ อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ
KTB
(ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่)
3
อันดับ
เพื่อสะท้อนถึงการที่ผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของ KTZ มีสัดส่วนการถือหุ้นในระดับที่ใกล้เคียงกัน
รวมทั้งยังสะท้อนถึงความไม่แน่นอนในนโยบายของรัฐบาลและลำดับความสำคัญในการให้การสนับสนุนแก่บริษัทในฐานะที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มในกรณีที่
KTB
ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่โดยตรงของ
KTZ
ไม่สามารถให้การสนับสนุนแก่บริษัทได้ด้วยฐานะทางการเงินของธนาคารเองในภาวะวิกฤต
อย่างไรก็ตามในปีที่ผ่านมามีสัญญาณที่บ่งชี้ว่าความสัมพันธ์ของ KTZ กับ KTB มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น
เช่นการเปลี่ยนชื่อบริษัทและสัญญลักษณ์ทางการค้าที่คล้ายกันมากขึ้นกับของ KTB แม้ KTZ
จะเป็นผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่สำคัญแก่กลุ่มลูกค้าของธนาคาร
แต่บริษัทยังมีความใกล้ชิดและเชื่อมโยงกับธนาคารแม่ในระดับที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตโดยฟิทช์
อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
ไม่มีหลักประกัน (senior unsecured debt) ของ KTZ ที่ 'A+(tha)’ อยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของบริษัท
เนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวมีสถานะเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิ
ไม่มีหลักประกันของบริษัท
การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม
และธรรมาภิบาล (ESG)
KTB มีระดับคะแนนความสัมพันธ์ของโครงสร้างธรรมาภิบาล
(Governance
Structure) ที่ระดับ
4
เนื่องจากมีโอกาสที่ภาครัฐจะมีอิทธิพลต่อการกำกับดูแลกิจการและความเสี่ยง (risk governance)
จากการถือหุ้นโดยรัฐบาลในธนาคารรวมถึงจะสามารถมีอิทธิพลต่อคณะกรรมการและผู้บริหารซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบทางลบต่อโครงสร้างเครดิตและสัมพันธ์ต่ออันดับเครดิตเช่นเดียวกับปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิตอื่น
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ
และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ
KTB
อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
ซึ่งอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำนั้นสะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ต่อความสามารถและโอกาสที่ภาครัฐจะให้การสนับสนุนช่วยเหลือแก่
KTB ได้อย่างทันท่วงที
ดังนั้นการปรับเพิ่มอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (ดูได้จากด้านล่าง)
น่าจะส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิตดังกล่าว
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับลดอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (ดูได้จากด้านล่าง)
น่าจะส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิตดังกล่าวเช่นกัน
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตภายในประเทศและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับภายในประเทศอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหาก
มีการปรับเพิ่มอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำได้ขึ้นมาเท่ากับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทย
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าเกิดขึ้นในระยะสั้น
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับตัวด้อยลงของโครงสร้างเครดิตของ KTB เทียบกับบริษัทหรือธนาคารอื่นที่ได้การจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ
อาจส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต
เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดได้หากฟิทช์ประเมินว่ารัฐบาลมีควรามสามารถในการสนับสนุนแหรือมีโอกาสที่จะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารลดลง
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินมีความเป็นไปได้น้อยในขณะนี้
เนื่องจากยังคงมีความท้าทายจากสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินงานและธนาคารมีระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกันธนาคารขนาดใหญ่ในประเทศ
ซึ่งฟิทช์คาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้คุณภาพสินทรัพย์และผลประกอบการของธนาคารปรับตัวด้อยลงในช่วง
2 ปีข้างหน้า
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินอาจถูกปรับลดอันดับลงมาเป็น
'bb+’
หากฐานะเงินกองทุนของธนาคารปรับตัวลดลงมาในระดับที่ฟิทช์ประเมินว่าไม่เพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยง
เช่น อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ส่วนที่เป็นของเจ้าของ หรือ CET1 ต่ำกว่า 13%
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับเพิ่มอันดับเครดิตสนับสนุนไม่น่าจะเกิดขึ้น
ยกเว้นอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยได้รับการปรับเพิ่มอันดับขึ้นไปที่
'A’
และฟิทช์เชื่อว่าไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในโอกาสที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคาร อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ KTB อาจเปลี่ยนแปลงได้จากการเปลี่ยนแปลงในมุมมองของฟิทช์ต่อแนวโน้มที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคาร
อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากฟิทช์เชื่อว่า KTB มีบทบาทในเชิงนโยบายของรัฐที่ชัดเจนและมั่นคงมากขึ้นกว่าระดับเดิมที่ฟิทช์เคยคาดไว้
พร้อมทั้งยังคงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินในประเทศ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิเดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับลดอันดับเครดิตสนับสนุนอาจเกิดขึ้นได้
หากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยถูกปรบลดอันดับลงไปที่ 'BBB-’ หรือต่ำกว่า
นอกจากนี้อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ KTB อาจถูกปรับลดลงมาเท่ากับธนาคารพาณิชย์เอกชนที่มีนัยสำคัญต่อระบบ
(D-SIB)
หากฟิทช์เชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกับรัฐปรับตัวลดลงอย่างมาก
เช่น การลดสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐลงไปต่ำกว่า 50%
และการไม่มีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับกระทรวงการคลังในด้านการบริหารจัดการเงินสดให้กับรัฐบาล
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิสกุลเงินบาทของธนาคารจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคาร
ซึ่งเป็นอันดับเครดิตอ้างอิง (anchor rating) ดังนั้นการปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคาร
จะส่งผลให้อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคารได้รับการปรับเพิ่มอันดับเช่นกัน
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคาร
จะส่งผลให้อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคารได้รับการปรับลดอันดับเช่นกัน
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – บริษัทลูกและบริษัทร่วม
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
ฟิทช์อาจปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศของ KTZ หากฟิทช์เชื่อว่าโอกาส
(propensity)
ที่
KTB
จะให้การสนับสนุนเป็นพิเศษที่นอกเหนือจากการสนันสนุนในด้านการดำเนินงานปรกติแก่
KTZ
มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่าระดับปัจจุบัน เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ หาก KTB เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน
KTZ
(มีมีระดับการควบคุมที่สูงขึ้น)
หรือ KTZ
มีบทบาทในเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญขึ้นต่อธนาคาร
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต
(ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
ในทางกลับกันฟิทช์อาจปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศของ KTZ หาก KTZ มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อ
KTB
น้อยลง
ซึ่งจะส่งผลให้โอกาสที่ KTB จะให้การช่วยเหลือและสนับสนุนแก่บริษัทปรับตัวลดลง ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้
เช่นในกรณีที่ KTB
ลดสัดส่วนการถือหุ้นในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่และระดับการควบคุมใน
KTZ
ลง
การที่ KTB
ลดระดับการสนับสนุนทางการเงินหรือการปฏิบัติงานที่มีให้กับ
KTZ หรือหากผลการดำเนินงานในอนาคตของ KTZ หรือธนาคารแม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านกลยุทธ์และลำดับความสำคัญในการดำเนินงาน
ซึ่งอาจส่งผลให้มีความไม่ชัดเจนต่อโอกาสที่ธนาคารแม่จะให้การสนับสนุน
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันของ KTZ จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันกับอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของบริษัท
การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม
และธรรมาภิบาล (ESG)
KTB มีระดับคะแนนความสัมพันธ์ของโครงสร้างธรรมาภิบาล
(Governance
Structure) ที่ระดับ
4
เนื่องจากมีโอกาสที่ภาครัฐจะมีอิทธิพลต่อการกำกับดูแลกิจการและความเสี่ยง (risk
governance)
ยกเว้นในกรณีที่กล่าวไว้ด้านบน ระดับคะแนนความสัมพันธ์ของ ESG ต่ออันดับเครดิต
ไม่เกินระดับ 3
ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร
ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตาม
ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จาก Fitch's ESG Relevance Scores, visit
www.fitchratings.com/esg.
รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้
KTB:
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับที่ 'BBB’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ 'F2’อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ 'AA+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ 'F1+(tha)’อันดับเครดิตความแข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับที่ 'bbb-’อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ คงอันดับที่ 'BBB’อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ '2’อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ 'BBB’อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ 'AA+(tha)’อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ 'F1+(tha)’อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ลดอันดับเป็น 'AA-(tha)’ จาก 'AA(tha)’
KTZ:
อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ 'A+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ 'F1+(tha)’อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ 'A+(tha)’