กรุงเทพฯ--7 เม.ย.--มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง จัดเสวนาพิเศษ Tech Talk Season 4#10 ในหัวข้อ "Young Startup ถอดรหัสความสำเร็จสำหรับคน Gen Z" โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ (มิหมี) CEO & Co-Founder Techsauce Media Ltd., ณ ห้อง Auditorium 1 อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม พอสรุปประมวลความได้ดังต่อไปนี้
คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ (มิหมี) เล่าว่า เธอทำงานอยู่ที่บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด รับจัดงาน Event ในประเทศไทย และต่างประเทศ หลังจากนั้นก็เริ่มต้นค้นหาข้อมูล เช่น ข้อมูลเรื่องของ Startup ทางบริษัทก็ได้สนับสนุน ในการแสวงหาความรู้ข้อมูลต่างๆ ด้วยเช่นกัน ถ้าอยากจะก้าวให้สูงยิ่งขึ้นไปก็ต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่อย่างสม่ำเสมอ เช่น ถ้าอยากฝึกงาน อยากได้ความรู้และประสบการณ์ ก็สามรถนำไอเดียมาเสนอกับบริษัทของเราได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเรื่องของ Startup ตัวอย่างของ Application วงใน และ NETFLIX ก็จัดว่าเป็น Startup โดยในส่วนของตนเองนั้น เริ่มต้นจากการทำเว็บให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ Startup และจัดงาน Event ก็เริ่มมีคนเข้ามาร่วมใน Community มากขึ้น ในการจัดงาน Event ครั้งแรก มีคนเข้ามาร่วมงาน 370 คน โดยมีคนจาก Application วงใน และ Ookbee มาร่วมแบ่งปันให้ความรู้ ในปีที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 20,000 คน โดยจัดที่ Central World หลายคนคงรู้จัก Application Grab เป็น Application เรียกรถแท็กซี่และรถส่วนบุคคล และยังมีบริการส่งของ และส่งอาหารอีกด้วย เจ้าของเป็นคนประเทศมาเลเซีย เขาเคยไปเรียนที่ Harvard สำนักงานใหญ่ของ Grab อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ คุณแม่ของมิหมีก็เคยใช้บริการของ Grab ด้วยเหมือนกัน ตอนนี้จะเห็นได้ว่า คนคุ้นเคยและรู้จัก Grab กันมาก คล้ายกับการรู้จักผงซักฟอกแฟ๊บในสมัยก่อน เราเรียกกันจนคุ้นเคย จริงๆ แล้วมันก็คือผงซักฟอกที่คนรู้จักกันดีกันนั่นเอง ดังนั้น Grab จึงเป็นที่คุ้นเคยอย่างรวดเร็ว ตอนนี้มี Get หรือ GoGet Application เรียกรถมอเตอร์ไซค์ มาจากประเทศอินโดนีเซีย
สำหรับงาน Event สำคัญอีกงานหนึ่งที่ได้จัด ในระหว่างวันที่ 19-20 มิถุนายน พ.ศ.2562 เนื้อหาการจัดงาน Cover ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ก็มา บัตรราคาเข้างาน 10,000 บาท สำหรับในประเทศไทยมีหลายบริษัทที่มา เช่น AIS, True, ปตท. SCG, KBank นอกจากนี้ก็มีลูกค้า SME ก็มากันเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่สนใจมาทำ Application หรือเว็บไซต์เกี่ยวกับทางด้านบัญชี ในส่วนของของธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank ก็อาจจะมาทำ Application แล้วนำไปให้ลูกค้าที่เป็น SME ใช้ทั่วประเทศ เป็นการจัดงานที่ทำให้มีโอกาสได้พบเจอบริษัทใหญ่ๆ รวมทั้งเป็นการหางานทำด้วย ตำแหน่งงานทางด้านไอที ยังขาดอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ตำแหน่ง Programmer และ Data ดังนั้น บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด หรือ Techsauce Accelerator ก็เหมือนกับโรงเรียนสอน Startup ให้กับภาครัฐ
คำว่า Startup เหมือนเป็น Subset ของ SME มีคำถามว่า What is Tech Startup? โดยความหมายก็คือ ธุรกิจที่นำเอาเทคโนโลยีมา “แก้ปัญหา” โดยถูกออกแบบมาให้สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด และสามารถทำซ้ำได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นร้านขายกาแฟ จัดเป็น SME แต่ถ้ารวมเอาร้านกาแฟจำนวนหลายร้านมารวมไว้ในที่เดียวกันจัดเป็น Startup และมีการพึ่งพาอินเทอร์เน็ตเป็นสำคัญ เช่น Lineman ก็ประสบความสำเร็จ (ซึ่งในตอนแรกเขาก็ไม่มีฐานข้อมูลร้านอาหาร) อีก Application หนึ่งก็คือ วงใน เขามีฐานข้อมูลร้านอาหาร ด้วยการเชื่อมโยงเข้ากับ Lineman และตอนนี้เขาก็เป็นหุ้นส่วนกันเรียบร้อยแล้ว มีบางคนจัดตั้งบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมา เมื่อก่อนมักเรียกกันว่า Software House บางคนก็รับเป็น Outsource การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับผู้ว่าจ้าง ไม่จัดว่าเป็น Startup แต่ Startup เป็นวิธีแก้ปัญหา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนตัวอย่างหนึ่ง คือ คุณโบ๊ต เขาเรียนจบด้านวิศวะก่อสร้างมา คุณพ่อคุณแม่ของเขาก็ทำธุรกิจก่อสร้างด้วย ซื้อซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการก่อสร้างมาใช้ก็ราคาแพง ต่อมาเขาก็ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เอง และนำซอฟต์แวร์นี้ไปไว้บน Cloud จัดเป็น Startup ชื่อ Builk.com อีกธุรกิจหนึ่ง คือร้านอาหาร Marketplace การทำธุรกิจจัดให้คนมาซื้อผักผลไม้สดๆ กับร้านอาหารให้มาเจอกัน ซึ่งจัดว่าเป็นการแก้ปัญหา (Pain Point) ธุรกิจที่มีปัญหาก็ทำให้เป็น Startup ได้ หรือ SKootar รับส่งเอกสาร (Messenger) คุณบอยให้บริการส่งเอกสาร หรือเป็น Messenger ถ้าเราเลือกไปใช้บริการส่งเอกสารทั่วไป ไม่สามารถติดตามเอกสารได้ แต่ SKootar สามารถติดตามเอกสารได้ เป็นต้น
เมื่อคุยกันถึงเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ เราต้องยอมรับว่าเราเป็นคน Gen X ซึ่งก็ต้องเคารพความคิดเห็นของเด็ก Gen Y และเข้าใจว่าพวกเขามีศักยภาพอะไร อีกอย่างคืออย่ามัวแต่ไปคิดว่าเด็ก Gen Z ไม่มีความอดทน เพราะถ้าเราเกิดมาในยุคนี้ เราก็อาจจะเป็นคนแบบนี้ก็ได้ การที่เราเอาสิ่งแวดล้อมที่เราเคยเจอไปสวมกรอบให้เด็ก Gen Y และ Gen Z เป็นสิ่งที่ผิดมากๆ วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมจะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าหากว่าผู้ใหญ่ยังยึดตัวเองเป็นที่ตั้งและไปสวมหมวกให้กับเด็กๆ (https://adaybulletin.com)
ลำดับต่อมาเป็นเรื่องของการระดมทุน Startup การระดมทุนของ Startup ไม่เหมือนกับ SME เนื่องจาก SME ต้องไปกู้เงินกับทางธนาคาร ส่วน Startup มีนักลงทุนให้ความช่วยเหลือจ่ายเงินให้สำหรับไอเดียดีๆ เรียกกันว่า นางฟ้า (Angel) คนเหล่านี้ต้องเข้าใจธุรกิจ Startup เป็นอย่างดี สำหรับเรื่องการระดมทุนเกี่ยวกับ Startup มี 3 อย่าง คือ: (1). Angel Investor นางฟ้าใจดี หรือนักลงทุนใจดีนั่นเอง ได้แก่ บุคคลธรรมดาทั่วไปที่ต้องการลงทุนในธุรกิจ คือ ชอบไอเดีย หรือเห็นแนวโน้มอะไรที่ดีก็ตัดสินใจลงทุนเลย (2). Venture Capitalist หรือ VC เป็นนักลงทุนในรูปแบบขององค์กร ซึ่งหน้าที่หลักก็คือการบริหารเงินของผู้อื่นโดยเอามาลงทุนในโครงการที่น่าสนใจ โดย VC เหล่านี้จะมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อเงินของลูกค้าเหล่านั้น ด้วยความที่ VC มีแหล่งเงินหลากหลาย ดังนั้นการลงทุนของ VC จึงมักจะมีมูลค่าที่สูงกว่า Angel investor โดย VC อาจจะสนใจและพร้อมจะลงทุนในโครงการมูลค่าเป็นสิบๆ ล้านขึ้นไป (www.thumbsup.in.th) เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ มีบริษัทย่อยเป็น Digital Venture หรือ เช่น Lazada และ AirB&B (3). Unicorn (ยูนิคอร์น) หมายถึง ธุรกิจ Startup ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในต่างประเทศเราจะเห็น Startup ชื่อดังใน Sillicon Valley ประเทศสหรัฐอเมริกา อย่าง Uber, Airbnb หรือ Snapchat เป็นต้น (https://techsauce.co) หรือ Grab, Garina เมื่อก่อนเคยเป็น Unicorn แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นบริษัทไปแล้ว แม้กระทั่งอย่าง Facebook เขาต้องการหา Freelance มาทำเรื่อง Graphic ให้ ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีพวก Designer และ พวก Graphic เข้ามาหารายได้ จากงานเหล่านี้ นอกจากนี้ก็ยังมี Application เกี่ยวกับการหาคู่ ก็เป็น Startup ซึ่งแอพพลิเคชั่นเหล่านี้ ต้องมีช่องทางเป็นเหมือนเป็น Application เฉพาะทาง มีโอกาสเกิดเป็นอย่างมาก สำหรับ Unicorn นี้ในประเทศไทยยังไม่มี โดยปัจจุบันก็มีสตาร์ทอัพจากจีน อย่าง Xiaomi หรือ Didi Chuxing ผู้ให้บริการเรียกแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่นรายใหญ่ในจีน ที่ได้ผ่านจุดประสบความสำเร็จเป็น Unicorn กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สำหรับในประเทศไทยมี Startup เป็นจำนวน 100 แต่เจ้งถึง 95% เพราะว่าไม่ได้แก้ปัญหาจริงๆ เช่น ยารักษาโรค เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกิน แต่อาหารเสริมกินก็ได้ไม่กินก็ได้ ขอยกตัวอย่าง สมมุติว่า มีคนๆ หนึ่งเห็นคุณตาคนหนึ่งไม่สบาย นั่งอยู่ที่สะพาน ถามคุณตาว่า อยากข้ามสะพานไปฝั่งโน้นหรือไม่? เพราะว่าฝั่งโน้นมีโรงพยาบาล คุณตาก็ตอบว่า อยากข้ามไป เขาจึงลงมือสร้างเรือ และต่อสะพานให้ แต่เมื่อหันมามองที่คุณตาอีกที ปรากฏว่า คุณตาหายไปแล้ว จึงไปถามผู้หญิงคนข้างๆ ว่าคุณตาหายไปไหน ผู้หญิงคนนั้นบอกว่า คุณตาไม่ข้ามไปฝั่งโน้นแล้ว เพราะคุณตาแกปวดท้อง และเขาได้กินยาแก้ปวดท้องหายแล้ว จึงไม่ขอข้ามไป นี่เป็นตัวอย่างว่า ต้องรู้ปัญหาจริง ถ้าไม่รู้ปัญหาจริงก็เหมือนกับการเสียเวลาไปสร้างสะพานและต่อเรือนั่นเอง
ดังนั้น การทำ Startup จึงเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่แท้จริงของธุรกิจ ลองไปสัมภาษณ์คนที่ใช้งานเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ ดู คือต้องรู้ว่า ลูกค้าของเราคือใคร (Who is Customer?) แล้วก็สร้าง Prototype ขึ้นมาและการทำ Remote Control เน้นการใช้งานง่าย ปุ่มไม่มาก ใช้งานง่าย และใช้งานได้จริงด้วย.
บทความโดย ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์ อาจารย์ที่ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม www.spu.ac.th