ไขข้อข้องใจ 3 ข้อ อะไรคือ “ห้องความดันลบ” ห้องสุดพิเศษในโรงพยาบาล เพื่อรองรับและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

ข่าวทั่วไป Wednesday April 8, 2020 14:16 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 เม.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ การแพร่กระจายของเชื้อโรคในอากาศนับว่าเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุข ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด–19 ซึ่งเป็นเชื้อโรคอุบัติใหม่ที่สามารถแพร่กระจายได้ในอากาศได้ดี ซึ่งปัจจุบันมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยที่พบว่ามีผู้ติดเชื้อไปแล้วหลักพันราย และมีจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต ประกอบกับสถิติของบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อจากการรักษาผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยได้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงสภาวการณ์เช่นนี้ รองศาสตราจารย์.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า หนึ่งในความหวังของการควบคุมปริมาณการกระจายของโรค คือ ห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) เพราะด้วยคุณสมบัติที่เป็นห้องปรับความดันอากาศภายในห้องต่ำให้เป็น Negative หรือมีแรงดันต่ำกว่าภายนอกห้อง เพื่อไม่ให้อากาศภายในห้องที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนไหลออกสู่ภายนอกห้อง โดยห้องดังกล่าวมีความพิเศษ ดังนี้ ระบบควบคุมความดันห้องเป็นลบ การปรับความดันภายในห้องให้เป็น Negative หรือมีแรงดันต่ำกว่าภายนอกห้อง เพื่อไม่ให้อากาศภายในห้องที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนไหลออกมาสู่ภายนอก ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ชื้อโรคที่อยู่ภายในห้องไม่ให้แพร่กระจายออกไปสู่ภายนอกเครื่องดูดอากาศเสียให้เป็นอากาศดี คือ ระบบมอเตอร์จะดูดอากาศที่อาจเชื้อโรคเจือปนผ่านเครื่องกรองอากาศฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูงในการกรองอนุภาคขนาดเล็ก เพื่อกรองเชื้อไวรัสและปล่อยออกมาเป็นอากาศดีสู่ภายนอกอาคารห้องกักเชื้อชั้นยอด จากประสิทธิภาพการควบคุมการไหลเวียนของอากาศ จึงสามารถจำกัดบริเวณการเคลื่อนของเชื้อโรคให้อยู่ในบริเวณที่ควบคุมเท่านั้น จึงทำให้จุดต่างๆ ของโรงพยาบาลมีความปลอดภัย เพราะสามารถ “กักกันเชื้อโรค” ในบริเวณจำกัด สจล. โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ สจล. ได้วิจัยและพัฒนา ห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) มีความพิเศษดังนี้ สำหรับวัตถุประสงค์ในการผลิตห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต ประกอบกับดีมานด์หรือความต้องการใช้งานที่สูงขึ้น แต่ปริมาณห้องมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน และยังช่วยรองรับกับมาตรการการป้องกันและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 อย่างไรก็ตาม หลังจากทำการวิจัยและพัฒนาด้วยการปรับเปลี่ยนและหันมาใช้วัสดุทดแทนที่หาได้ภายในประเทศ อาทิ พัดลมอัดอากาศ และระบบกรองอากาศฆ่าเชื้อโรคแบบกรองอนุภาคขนาดเล็ก เป็นต้น ซึ่งมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับวัสดุที่มีราคาแพงจากต่างประเทศ ทำให้ทุนในการผลิตลดลงเหลือราว 150,000 ถึง 200,000 บาทต่อห้อง จากปกติที่ต้องใช้เงินในการผลิตห้องละ 1 ล้านบาท นอกจากนี้ทีมคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ยังเตรียมดัดแปลงห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ในรูปแบบเคลื่อนที่ได้ (Movable room) เพื่อความสะดวกในการขนย้าย และสามารถเคลื่อนไปตั้งที่จุดคัดกรองในสถานที่ต่างๆ ตามความต้องการใช้งาน ในลำดับต่อไป สจล. จะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่โรงพยาบาลสิรินธร ในการให้คำแนะนำและจัดสร้างห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) หรือห้องกักกันเชื้อโรค จำนวน 3 ห้อง ไว้ใช้ในโรงพยาบาล เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด–19 และป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อโรคจากผู้ป่วยออกมาสู่ภายนอก และคาดว่าจะเริ่มเปิดให้ใช้งานได้ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2563 นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลกลาง ในการจัดสร้างห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room), Clean room และ Anti room เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด–19 ที่เข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลกลาง และยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตห้องแยกโรคความดันลบให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ อีก 10 แห่ง รองศาสตราจารย์.ดร.คมสัน กล่าวสรุป ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร. สกุล ห่อวโนทยาน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวเพิ่มว่า นอกจากห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ที่เตรียมเปิดตัวที่โรงพยาบาลกลาง และโรงพยาบาลสิรินธรแล้ว ยังมีห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สจล. และบริษัท NL Development ที่ถูกจัดตั้งเสร็จสมบูรณ์ พร้อมใช้งานได้ทันที จำนวน 5 ห้องตรวจ ที่วชิรพยาบาล (โรงพยาบาลวิชิระ) เพื่อรองรับปริมาณผู้ป่วยที่เข้ามาคัดกรองเชื้อโควิด-19 ที่มีจำนวนมาก นอกจากนี้ คณะผู้พัฒนาห้องดังกล่าว มีความพร้อมในการแชร์ต้นแบบการสร้างห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ในต้นทุนที่ต่ำ และได้มาตรฐาน ให้แก่โรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่สนใจ เพื่อให้โรงพยาบาลทั่วประเทศมีห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ใช้ได้ทันต่อความต้องการตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม สจล. และศูนย์นวัตกรรม KMITL GO FIGHT COVID-19 ยังคงตระหนักถึงความสำคัญกับมาตรการรักษาความสะอาดและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งที่ผ่านมา สจล. ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ในวงกว้าง จะเห็นได้จากการจัดสร้างประตูสแกนอุณหภูมิร่างกาย เพื่อคัดกรองผู้ป่วยโควิด–19 รวมถึงการผลิตเพื่อนำมาใช้สาธารณะ และเจลล้างมือ เพื่อแจกจ่ายให้กับบุคลากร นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เป็นต้น สจล. ภายใต้โครงการ 60 ปี พระจอมเกล้าลาดกระบัง ไร้ขีดจำกัด (KMITL 60thYear: Go Beyond the Limit) มั่นใจว่าจากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดังกล่าว จะสามารถนำองค์ความรู้มาใช้เป็นต้นแบบในการจัดสร้างห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ให้กับหน่วยงานหรือโรงพยาบาลที่สนใจ โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง (KRIS) โทร. 091-812-0416 หรืออีเมล kannika.li@kmitl.ac.th โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ