กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--โรงพยาบาลรามคำแหง
โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่รับเชื้อและมีการติดเชื้อ กว่า 80%มักจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่นมีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือไอ คล้ายกับเป็นไข้หวัด จะมีผู้ป่วยประมาณ 20%ที่มีอาการป่วยและจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน มะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคอ้วน
COVID-19
มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส เป็นเวลาติดกันหลายวันไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ มีอาการเจ็บคอขณะกลืนอาหารหรือพูดคุยบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อต่อ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหารเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก หายใจถี่เร็วจากภาวะปอดบวมแน่นหน้าอก และต้องพยายามหายใจอย่างหนักเกิดพังผืด และมีการอักเสบของเนื้อเยื่อปอด โดยมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
ไข้หวัดทั่วไป
มีไข้ต่ำๆ แต่จะดีขึ้นใน 3-4 วันไอ จาม มีน้ำมูกไหล และคัดจมูกเล็กน้อย จะดีขึ้นใน 3-4 วันไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนปวดเมื่อยตามตัวเล็กน้อยคัดจมูก หายใจไม่สะดวก เนื่องจากมีน้ำมูก
ดังนั้นใครที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรืออยู่ใกล้ชิดผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง ควรสังเกตอาการอย่างละเอียดและรีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการไข้สูงต่อเนื่องหลายวันครับ