AIS เดินหน้าช่วยเหลือสังคมไทย ฝ่าวิกฤตไวรัส COVID-19 ผลักดันองค์กรร่วมแบ่งปันน้ำใจ ผสานนวัตกรรมดิจิทัล สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ทันต่อสถานการณ์

ข่าวทั่วไป Friday April 17, 2020 16:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--โพลีพลัส พีอาร์ จากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย ที่มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น หากแต่บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นหน้าด่านในการรับมือกับไวรัส COVID-19 ยังต้องทุ่มเททำงานหนักและรับความเสี่ยงในทุกๆ วัน เอไอเอส ตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของบุคลากรทางแพทย์ในสถานการณ์วิกฤต จึงได้ระดมสรรพกำลังและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโยโลยี 5G ที่ทรงประสิทธิภาพ พร้อมพัฒนาหุ่นยนต์ผู้ช่วยคุณหมอ 5G เพื่อสนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์และพยาบาลอย่างเต็มกำลัง สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 กลุ่มบุคลากรทางแพทย์ นับว่าเป็นผู้ที่ต้องทำงานอย่างหนัก พร้อมเผชิญกับความเสี่ยงจากการสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย อีกทั้งยังประสบปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ดังนั้น เอไอเอส ในฐานะ Digital Life Service Provider ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ เข้ามาช่วยเหลือคนไทยทุกภาคส่วน เพื่อแบ่งเบาภาระการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ผ่านเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่าง 5G เริ่มด้วย เร่งขยายโครงข่าย 5G ครอบคลุมพื้นที่ 159 โรงพยาบาล ทั่วประเทศ รองรับการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และการตอบสนองที่รวดเร็ว ที่เป็นคุณสมบัติสำคัญของ 5G พร้อมสนับสนุนระบบสื่อสารทั้ง AIS Fibre, 4G, AIS Super WiFi และสมาร์ทดีไวซ์ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของทีมแพทย์และพยาบาล ซึ่งได้ส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็น กรมควบคุมโรค, โรงพยาบาลปัตตานี จ.ปัตตานี, โรงพยาบาลยะลา จ.ยะลา และศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ เป็นต้น เพราะสำหรับผู้ป่วยแล้วการได้รับความช่วยเหลือที่รวดเร็วเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะทุกนาทีที่สามารถติดต่อสื่อสาร หรือรับ-ส่งข้อมูลทางการแพทย์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นั่นหมายถึงการเพิ่มเวลาในการช่วยรักษาชีวิตมากขึ้น ถัดมาคือ ตั้งศูนย์เฉพาะกิจ AIS Robotic Lab ผลักดันนวัตกรรมการแพทย์ในช่วงการระบาด COVID-19 พร้อมระดมนักวิจัยนักพัฒนาที่เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล พัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ 5G Telemedicine และโซลูชั่นงานบริการทางแพทย์ โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาลเพื่อให้สอดรับกับความต้องการเฉพาะของแต่ละแห่ง ส่งมอบหุ่นยนต์ทางการแพทย์ 5G เทเลเมดิซีน โรบอท ฟอร์ แคร์ จำนวน 23 ตัว โดยจะส่งมอบให้กับโรงพยาบาล 22 แห่ง เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ช่วยดูแลและตรวจอาการผู้ป่วยโควิด-19 ภายในหอพักผู้ป่วย โดยหุ่นยนต์สามารถตรวจวัดอุณหภูมิของคนไข้ด้วยระบบเทอร์โมสแกน, ระบบปรึกษาทางไกลระหว่างคนไข้และหมอผ่านวิดีโอคอล ด้วยเทคโนโลยี 5G ที่ให้ความคมชัดสูง อีกทั้งยังสามารถบังคับหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ผ่าน 5G ช่วยแบ่งเบาภาระ ลดการแออัด และลดเสี่ยงติดเชื้อทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ โดยดำเนินการมอบให้ โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ และสถาบันบำราศนราดูร เพื่อนำไปใช้งานจริงแล้ว มอบเงินบริจาคให้โรงพยาบาล ซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต่อการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อาทิ สนับสนุนตู้ปลอดเชื้อ เพื่อนำไปใช้ในการรักษาคนไข้ที่ติดเชื้อ COVID-19 ให้แก่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, สนับสนุนการผลิตตู้ความดับลบ (Negative Pressure Cabinet) สำหรับเตียงผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อเป็นการมอบความห่วงใย และมอบขวัญกำลังใจจากบุคลากรทุกหน่วยในองกรค์เอไอเอส จึงได้รวมพลังพนักงานเอไอเอสทั่วประเทศร่วมจัดทำ โครงการอุ่นใจอาสา ทำหน้ากากอนามัย DIY จากผ้า พร้อมทั้งจัดหาและส่งมอบหน้ากากอนามัยให้กับ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์, พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แก่โรงพยาบาลราชวิถี , โรงพยาบาลวชิรพยาบาล, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลศิริราช รวมจำนวน 40,000 ชิ้น เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกัน” นายแพทย์สุกรม ชีเจริญ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า “ROBOT FOR CARE หรือหุ่นยนต์ผู้ช่วยคุณหมอ ROC (ร็อค) สามารถช่วยลดการติดต่อระหว่างคนไข้ติดเชื้อ กับบุคลากรทางการแพทย์ ได้ในสามประเด็นหลักๆ 1. ลดภาระในการใช้อุปกรณ์เครื่องป้องกันที่โรงพยาบาลประสบปัญหาขาดแคลนอย่างหน้ากากอนามัย และชุด PPE ซึ่งหุ่นยนต์สามารถเข้าไปตรวจวัดเบื้องต้นแทนบุคลากร 2. ลดความเสี่ยงและช่วยสนับสนุนมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ลดการติดต่อใกล้ชิดกับบุคลากรทางการแพทย์ 3.สามารถช่วยส่งยาให้กับผู้ป่วยถึงเตียงได้อย่างแม่นยำเพียงแค่ตั้งค่าพิกัด หรือบังคับทางไกล และคนไข้ยังสามารถติดต่อสอบถามเมื่อมีข้อสงสัยในการทานยาผ่านกล้องหุ่นยนต์ได้ทันที” ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า “รู้สึกดีใจ และนับเป็นตัวอย่างที่ภาคเอกชนได้ร่วมมือกับภาครัฐช่วยกันแก้ไขภาวะวิกฤตไวรัส COVID-19 ปัญหาที่ทราบกันอยู่แล้วว่าสำหรับผู้ป่วย COVID-19 ที่เป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับการรักษา นั่นคือการติดตามและเฝ้าดูอาการอย่างเป็นระยะๆ เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้อาการทรุดลง และทำการรักษาตามอาการได้อย่างทันท่วงที โดยแพทย์และพยายาลเฝ้าระวัง และตรวจวัดอุณหภูมิ สังเกตอาการผู้ป่วยเป็นระยะๆ ดังนั้น หุ่นยนต์ ROBOT FOR CARE หรือหุ่นยนต์ผู้ช่วยคุณหมอ ROC (ร็อค) ที่เอไอเอส ได้มอบให้ถือว่าสามารถช่วยการทำงานได้อย่างตรงจุด สามารถนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างตอบโจทย์ สามารถนำมาใช้งานในการเฝ้าดูอาการผู้ป่วย COVID-19 ตรวจวัดอุณหภูมิและระดับออกซิเจนในเลือดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งติดตามอาการผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิดและบ่อยครั้ง แต่ช่วยลดความเสี่ยงให้กับบุคลากร” รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า “การนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในหุ่นยนต์ทางการแพทย์ และเทเลเมดิซีน (telemedicine) ถือเป็นอนาคตของการแพทย์ โดยสะท้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ในขณะนี้ ซึ่งการใช้เทคโนโลยี 5G และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ เข้ามาช่วยคัดกรองจะช่วยเพิ่มระยะห่างในโรงพยาบาล ก็เท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อมากยิ่งขึ้น ยิ่งมีความรวดเร็วและแม่นยำในรับส่งข้อมูลมากเท่าใด ก็ยิ่งช่วยในการทำงานของบุคลากรมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้ช่วงวิกฤตการณ์ครั้งนี้เท่านั้น แต่ในอนาคตการให้บริการผู้ป่วยด้วยเทเลเมดิซีนถือว่ามีประโยชน์และเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดูแลสุขภาพให้กับประชาชน ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารด้วย 5G มีความทันสมัยและรวดเร็วมาก ก็ยิ่งช่วยเสริมศักยภาพให้การทำงานของแพทย์และหน่วยงานสาธารณสุขมากยิ่งขึ้น”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ