อยากเป็น “มากกว่าวิศวกร” ต้อง TU-PINEมธ. ! โอกาสเงินเดือนสูงในยุคดิสรัปชัน เพราะเรียนรู้มากกว่า “วิศวฯ”

ข่าวทั่วไป Monday April 20, 2020 11:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ อยากเป็น “วิศวกร” ก็อยากเป็น !แต่จะเป็นอย่างไรให้สามารถปรับตัวได้ในยุคดิสรัปชัน ? นั่นเป็นเพราะส่วนหนึ่งของโอกาสเติบโตในระดับที่สูงขึ้น เกิดจากความเชี่ยวชาญที่มากกว่า 1สาขา และไม่หยุดเรียนรู้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือTSEได้เปิดสอนในหลักสูตรที่ช่วยเติมเต็มความฝันน้อง ๆ ให้เป็นได้ “มากกว่าวิศวกร” ในโครงการหลักสูตรนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ (TU-PINE) ที่ประกอบด้วย 4หลักสูตรวิศวะฯ พันธุ์ใหม่ที่ผลิตวิศวกรรุ่นพี่มากความสามารถขับเคลื่อนประเทศจำนวนมาก ในวันนี้ TSEจึงได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับTU-PINE มาให้น้อง ๆ ได้ทำความเข้าใจไปพร้อมกัน แต่ละหลักสูตรจะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกันเลย ! “EBM หลักสูตรวิศวกรอนาคตไกล ก่อสร้างก็ได้ บริหารธุรกิจก็ดี”รองศาสตราจารย์ ดร.วีรยา ฉิมอ้อยประธานหลักสูตร EBMเล่าว่าไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพอะไร ต้องเข้าใจเสมอว่าการทำงานของเรานั้น เป็นเสมือนฟันเฟืองหนึ่งของ'ธุรกิจ’ หากเราเป็นวิศวกรที่เปี่ยมด้วยความรู้เฉพาะทางนั่นก็นับเป็นเรื่องดี แต่ถ้าเราเป็นวิศวกรที่มีทั้งทักษะเฉพาะทาง และมุมมองด้านการบริหารธุรกิจ เราก็จะมีโอกาสเติบโตได้ไวและก้าวหน้าไปได้ไกลขึ้น เช่นเดียวกับนักศึกษาที่เรียน “หลักสูตรวิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง (EBM)” เพราะหลักสูตรนี้ถูกดีไซน์มาให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์ และพาณิชยศาสตร์ โดยมุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่สำคัญในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธา ขณะเดียวกันก็มีความรู้ทางธุรกิจควบคู่กันไป นอกจากรายวิชาด้านวิศวกรรมโยธาอันเข้มข้นแล้ว นักศึกษาจะได้เรียนรายวิชาด้านการบริหารธุรกิจอย่าง นวัตกรรมกับกระบวนการคิดผู้ประกอบการ หลักสำคัญของการบัญชี การเงินธุรกิจ และหลักการตลาด ตลอดจนสามารถเลือกทำโปรเจกต์จบเกี่ยวกับการบริหารโครงการฯ โดยมีอาจารย์จากทั้งคณะวิศวะฯ และพาณิชย์ฯ เป็นที่ปรึกษาร่วมกันอีกด้วย โดย ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคสเกลใหญ่ ๆ ที่ทำให้วิศวกรโยธา ยังคงเป็นที่ต้องการอีกมาก และนักศึกษาที่เรียนจบหลักสูตร EBMจะสามารถตอบโจทย์ตลาดแรงงานได้เป็นอย่างดี หรือจะทำธุรกิจเป็นของตัวเองก็ย่อมได้ เพราะไม่ได้มีดีแค่ความรู้ทางด้านวิศวกรรมโยธาเท่านั้น แต่มีข้อได้เปรียบในด้านการบริหารธุรกิจที่มากกว่าด้วย “ไฟฟ้า+อุตสาหการ (iPEN-iEE) ประตูสู่โอกาสในการทำงานที่กว้างกว่า”รองศาสตราจารย์ ดร.นภดล อุชายภิชาติ ประธานหลักสูตรiPEN-iEEเล่าเพิ่มเติมว่า ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า'การบริหารจัดการ’ เป็นทักษะสำคัญสำหรับการทำงานในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะงานด้านวิศวกรรมที่ต้องอาศัยการมองภาพรวมของระบบงาน และบริหารจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น ซึ่งจะดีแค่ไหนถ้าน้องๆ สามารถพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ตั้งแต่วัยเรียน ดังนั้น หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ (iPEN-iEE) ถูกดีไซน์มาเพื่อตอบโจทย์นี้ ด้วยโครงสร้างหลักสูตรที่ผสมผสานความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า 70%และวิศวกรรมอุตสาหการ30% เข้าด้วยกัน จะทำให้นักศึกษาจบมาเป็น'วิศวกรไฟฟ้าที่มีทักษะด้านการบริหารจัดการอุตสาหกรรม’ที่พร้อมทำงานอย่างมืออาชีพได้ทันที “การออกแบบธุรกิจเพื่องานนวัตกรรม”“การเตรียมตัวเป็นผู้ประกอบการ”“การประยุกต์ใช้ AI และ IoT ในงานอุตสาหกรรม”“การจัดการทางวิศวกรรม”“ไมโครโปรเซสเซอร์ในระบบอัตโนมัติ”นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากหลักสูตรiPEN-iEE ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เรามีโอกาสในการทำงานที่กว้างขวางและหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายวางแผนการผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง ฯลฯ ท่ามกลางตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูง คนที่มีทักษะรอบด้านย่อมสร้างความโดดเด่นให้ตนเองได้มากกว่า เช่นเดียวกันกับนักศึกษาที่จบหลักสูตรiPEN-iEE ที่นอกจากจะถูกเติมเต็มด้วยความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าอันเข้มข้นแล้ว ยังแฝงไว้ซึ่งทักษะด้านการบริหารจัดการอุตสาหกรรมระดับมืออาชีพอีกด้วย “Soft-enหลักสูตรพันธุ์ใหม่ ความต้องการสูง แต่รายได้สูงกว่า” รศ.ดร.วีรชัย อโณทัยไพบูลย์ ประธานหลักสูตร Soft-enเล่าว่า ในยุคปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และใช้สมาร์ทโฟนราวกับเป็นอวัยวะที่ 33 'ซอฟต์แวร์’ จึงทวีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่เพียงเป็นที่ต้องการใช้งานของคนทั่วไปในรูปแบบแอปพลิเคชันมือถือ แต่ยังเป็นที่ต้องการของทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นสังคมดิจิทัลอีกด้วย แต่ทั้งนี้ แม้วิศวกรซอฟต์แวร์จะเป็นสายอาชีพที่มีค่าตอบแทนสูง แต่ปัจจุบันประเทศไทยเรียกได้ว่าขาดแคลนอีกมาก โดยหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Soft-en)ของ TSE นั้นมุ่งผลิตวิศวกรซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ผ่านการเรียนการสอนที่เน้นการลงมือปฏิบัติในลักษณะProject-basedเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์จริงตลอดระยะเวลาเรียน นอกจากนี้หลักสูตรยังมีรายวิชาที่สนับสนุนให้นักศึกษาได้ลองสร้างซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ และในปีสุดท้ายนักศึกษาสามารถเลือกไปทำสหกิจโดยฝึกงานจริงในสถานประกอบการได้ทั้งในและต่างประเทศ ส่วนการทำโปรเจกต์ปีสุดท้ายนักศึกษาสามารถเลือกทำกับอาจารย์ในคณะหรือเปลี่ยนไปทำสหกิจกับหน่วยงานภายนอกได้ ทั้งนี้ ตลอด4 ปี ผู้เรียนจะได้ประสบการณ์ในการทำงานจริง จากโครงงานในรายวิชา การไปศึกษาดูงาน รวมถึงการบรรยายพิเศษจากวิทยากรภายนอกที่หลักสูตรจัดให้อย่างสม่ำเสมอ โดยเมื่อเรียนจบก็มีทักษะพร้อมทำงานได้ทันที และหากใครพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ก็มีโอกาสที่จะทำรายได้หลักแสนต่อเดือนภายในระยะเวลาไม่กี่ปีได้ด้วย “ถ้าเรียนจบV-TECHไป บริษัทก็มั่นใจได้เลยว่าทำงานเป็น ไม่ต้องเทรนนิ่งให้เสียเวลา”ดร. สนันตน์เขม อิชโรจน์ประธานหลักสูตร V-TECHเล่าว่า จากการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับผู้ผลิตยานยนต์อันดับต้น ๆ ของประเทศไทยอย่าง Mitsubishi Motors (Thailand) มาตั้งแต่ต้น เพื่อออกแบบให้เนื้อหาที่น้อง ๆ จะได้เรียนนั้นตอบโจทย์ความต้องการของตลาดยานยนต์มากที่สุด จึงเป็นจุดเริ่มต้นของหลักสูตรวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์ (V-TECH) หลักสูตรนี้ เรามีการจัดการเรียนการสอนแบบ Work Integrated Learning (WIL) ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติแบบจัดเต็ม ด้วยเครื่องมือและห้องปฏิบัติการที่ครบครันและทันสมัย ประหนึ่งยกโรงงานมาไว้ที่คณะ โดยในแต่ละชั้นปีก็จะเน้นให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่ต่างกันไป ดังนี้ ปี 1 ปูความรู้พื้นฐานที่ต้องใช้ในการพัฒนายานยนต์ พร้อมเน้นให้ออกแบบยานยนต์เบื้องต้นได้ปี2เจาะลึกเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์ และเข้าใจทฤษฎีกลไกการเคลื่อนไหวเชิงกลปี 3 ประยุกต์ใช้ความรู้ในการจำลองการออกแบบยานยนต์ ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปี 4 ฝึกงานตลอด 1ปีการศึกษา พร้อมทำโปรเจกต์ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม โดยเมื่อนักศึกษาผ่านการฝึกงานตลอด 1 ปีการศึกษาเต็มในช่วงชั้นปีที่4 ก็การันตีได้เลยว่าเราจะเป็นวิศวกรที่ครบเครื่องเรื่องยานยนต์ พร้อมทำงานอย่างมืออาชีพได้ทันทีเมื่อเรียนจบ ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีความต้องการบุคลากรทางด้านวิศวกรรมสูงถึง 9,100 อัตรา ดังนั้นนักศึกษาที่เรียนจบหลักสูตร V-TECH ทุกคนจึงมั่นใจได้เลยว่ามีแต่คนอยากจะมาจองตัวไปทำงานด้วยอย่างแน่นอน สำหรับน้อง ๆ TCAS63คนไหนที่สนใจศึกษาต่อในหลักสูตร TU-PINE ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. (TSE) สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่www.facebook.com/ENGR.THAMMASATและwww.engr.tu.ac.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ