กรุงเทพฯ--22 เม.ย.--มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ผู้ประกอบการที่จัดบริการอาหารแบบเดลิเวอรี่ (Delivery) ยุคการระบาดไวรัสโคโลน่าโควิด – 19 ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่สำคัญมากสำหรับภาคประชาชนที่ต้องการใช้บริการ สำนักอนามัยได้ออกคำแนะนำสำหรับการให้บริการอาหารแบบเดลิเวอรี่ในสถานการณ์การระบาดของไวรัส ให้ติดตามสถานการณ์และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันโรค และให้ความรู้หรือประชาสัมพันธ์แก่ผู้ขนส่งอาหาร ใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และจัดให้มีการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้ขนส่งอาหาร หากมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงานและไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ใช้วิธีการส่งอาหารแบบ Personal distancing ยืนห่างจากลูกค้าอย่างน้อย 1 เมตร และห้ามวางอาหารบนพื้น อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายยังมีความเป็นห่วงความปลอดภัยพนักงานส่งอาหาร เนื่องจากยังปรากฏข่าวตามสื่อต่างๆมากมายกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับพนักงานส่งอาหารช่วงโควิดแบบนี้ ทำให้นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกันรรรงค์สร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับพนักงานส่งอาหาร
นางสาว วิจิตรา นาสิน คณะบริหารธุรกิจ สาขา การจัดการโลจิสติกส์ ชั้นปีที่2 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล่าว่า “ถ้าเป็นช่วงภาวะโรคระบาดโควิด – 19 นี้ พนักงานส่งอาหารมีความสำคัญมาก อีกทั้งอาชีพนี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงมาก เนื่องจากต้องออกไปเจอคนจำนวนมาก ต้องสัมผัสกับคนหรือธนบัตรซึ่งอาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้ออย่างมาก พี่ ๆที่ทำอาชีพเหล่านี้ทุกคนต้องมารับความเสี่ยงแทนเรา ทำให้เราได้รับความเสี่ยงน้อยลงจากการที่ไม่ต้องออกไปซื้ออาหารเอง อยาให้พี่ ๆ ทุกคนดูแลรักษาสุขภาพร่างการตัวเอง ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกไปทำงาน สวมใส่ถุงมือทุกครั้งเพราะจะได้เป็นการหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง แต่ถ้าสวมใส่ถุงมือไม่ได้จริง ๆ เราก็อยากจะให้พกเจลล้างมือ เพื่อที่จะรีบทำความสะดวกมือตัวเองทุกครั้งหลังจากที่สัมผัสสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงอยากให้อยู่ห่างจากคนอื่นในระยะที่ทางรัฐบาลกำหนด แต่ทางร้านขายอาหารหรือร้านของขายต่าง ๆ ก็ควรจัดพื้นที่ที่มีระยะห่างไว้สำหรับให้พี่ ๆ รอรับอาหาร อยากให้บริษัท ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างมาตรฐานให้กับอาชีพนี้ โดยเฉพาะการเพิ่มสวัสดิการสวัสดิการประกันสังคม สวัสดิการประกันสุขภาพให้พนักงานส่งอาหาร เพราะอาชีพเหล่านี้เสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุแล้วยังต้องมาเสี่ยงกับโรคระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน”
นายสวิตต์ ศิลปะระเสริฐ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ ชั้นปีที่4 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า “พนักงานส่งอาหารทุกแบรนด์เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงติดเชื้อวัสพอกับอาชีพบุคลากรทางการแพทย์ เพราะถ้าเราไม่มีพนักงานส่งอาหารเหล่านี้บางครอบครัวที่อยู่แต่บ้านจริง ๆ ไม่ออกไปไหน แต่มีความจำเป็นในการซื้ออาหารต้องการที่จะพึ่งพาและสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่น ถึงแม้การประกอบอาชีพนี้มีความเสี่ยง แต่ก็ต้องทำเพราะว่าช่วงนี้มันเป็นวิธีเดียวที่ทำให้สามารถหาเลี้ยงปากท้องตนเองและครอบครัวได้ อยากให้พนักงานส่งอาหารทุกคนดูแลตัวเองเป็นพิเศษ รู้จักป้องกันตัวเองมากขึ้น สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน และตลอดเวลาที่ทำงานควรพกเจลล้างมือหรือสวมใส่ถุงมือทุกครั้งเวลาเราสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัส ซึ่งถ้าเป็นไปได้จากการรับเงินอยากจะแนะนำให้คนที่สั่งอาหารของสิ่งของต่าง ๆ ชำระเงินโดนการตัดบัตรเครดิตของตัวเอง เพื่อเป็นการลดการสัมผัสธนบัตร ที่สำคัญอยากหนุนสร้างมาตรฐานที่ชัดเจนเจ้าของบริษัทหรือนายทุนที่ดูแลในแอพพลิเคชั่นเดลิเวอรี่ฟู้ดต่าง ๆ ควรจะดูแลพนักงานเป็นพิเศษช่วงภาวะโรคระบาด เช่น หน้ากากอนามัยและเจลล้างมือโดยที่ไม่ต้องให้พนักงานส่งอาหารหาซื้อกันเอง เพราะสิ่งของพวกนี้บางทีขาดตลาดมีราคาสูง เพราะฉะนั้นทางบริษัทควรจะดูแลและแจกสิ่งของพวกนี้ให้กับพนักงาน โดยระบุแน่ชัดว่าจะแจกเป็นรายวันหรือรายอาทิตย์ก็เป็นได้ การสร้างมาตรฐานเว้นระยะห่างการรับอาหารและการส่งสินค้าให้กับลูกค้าอย่างชัดเจน นอกจากนี้ระบบประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ภายใต้การกำกับดูแลมาตรฐานจากตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ”