กรุงเทพฯ--23 เม.ย.--บลจ.ไทยพาณิชย์
นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงนี้นับว่าเป็นจังหวะที่ดีที่สุดในรอบ 10 ปีสำหรับการลงทุนระยะยาวและมีโอกาสได้ผลตอบแทนในระดับสูง พร้อมทั้งแนะนำลงทุนใน 5 กองทุนชนิดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-class ที่ฟรีค่าธรรมเนียมการซื้อ (Front-End Fee) และค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) ด้วยมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำ 1 บาท - สูงสุด 1 ล้านบาท สามารถซื้อได้ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน SCB Easy Net และ SCBAM Fund Click ซึ่งถือว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ง่ายและสะดวก สามารถเลือกลงทุนในกองทุนภายใต้การบริหารของบลจ.ไทยพาณิชย์ ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยสามารถเลือกตัดบัญชีเพื่อซื้อกองทุนได้จากหลากหลายธนาคารชั้นนำ นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการออมระยะยาวยังสามารถทำรายการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (Dollar Cost Average หรือ DCA) ผ่านช่องทาง SCBAM Fund Click ได้อีกด้วย
โดย 5 กองทุนที่แนะนำลงทุนในสภาวะปัจจุบัน ประกอบด้วย กองทุนตลาดเงิน 1 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารรัฐตลาดเงิน พลัส (SCBTMFPLUSE) เน้นลงทุนในตราสารภาครัฐ จึงมีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง เหมาะเป็นที่พักเงินในช่วงตลาดผันผวน, กองทุนหุ้นไทย 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET Index (SCBSETE) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET50 Index (SCBSET50E) เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี SET และดัชนี SET50 (ตามลำดับ) เพื่อให้กองทุนมีผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราผลตอบแทนของดัชนี SET และดัชนี SET50 มากที่สุด, กองทุนหุ้นต่างประเทศ 1 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นจีนเอแชร์ (SCBCHAE) เน้นลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับ CSI 300 Index (A-Share Index) โดยปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน และกองทุนทองคำ 1 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ (SCBGOLDE)ที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟทองคำต่างประเทศ คือ SPDR Gold Trust ซึ่งกองทุนดังกล่าวจัดตั้งและจัดการโดย World Gold Trust Services, LLC ที่ถือหุ้นโดย World Gold Council (WGC) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสวิสเซอร์แลนด์
สำหรับกองทุนประเภท e-class มีทั้งสิ้น 15 กองทุน ประกอบด้วยกองทุนตลาดเงิน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารรัฐตลาดเงิน พลัส (SCBTMFPLUSE) กองทุนหุ้นไทย ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET Index (SCBSETE), กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET50 Index (SCBSET50E), กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET Banking Sector Index (SCBBANKINGE) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET Energy Sector Index (SCBENERGYE) กองทุนหุ้นต่างประเทศ ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นเกาหลี (SCBKEQTGE), กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นจีน (SCBCEE), กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นจีน THB เฮ็ดจ์ (SCBCEHE), กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นจีนเอแชร์ (SCBCHAE), กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นอินเดีย (SCBINDIAE), กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นญี่ปุ่น (SCBNKY225E), กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยุโรป (SCBEUEQE), กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยูเอส (SCBS&P500E) และสินทรัพย์ทางเลือก ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ THB เฮดจ์ (SCBGOLDHE) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ (SCBGOLDE)
นายณรงค์ศักดิ์ ได้กล่าวถึงภาพรวมการลงทุนว่า จากแรงกดดันจากเศรษฐกิจชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงผลกระทบของ Covid-19 เป็นปัจจัยให้ กนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายฉุกเฉินลง ในขณะที่ ธปท.ร่วมกับกระทรวงการคลัง และก.ล.ต.มีมาตราการสนับสนุนเสถียรภาพตลาดการเงินไทยเพิ่มเติม 3 ด้าน ปัจจัยเหล่านี้ทำให้นักลงทุนคลายความกังวลต่อตลาดตราสารหนี้ได้ ส่วนของตลาดหุ้นไทยว่า ในช่วงไตรมาสที่ 1 ตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลง 453.98 จุดหรือ 28.74% โดยปรับตัวลดลงจาก 1,559.84 จุด ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2562 เป็น 1,125.86 จุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 สาเหตุจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับราคาน้ำมันที่ลดลงแรงจากการประกาศสงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซียทำให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ทุกประเภท ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกทั้งในแง่การหยุดชะงักของภาคการผลิต ภาคการบริการ การท่องเที่ยวและการบริโภค อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นวันที่ 21 เมษายน 2563 ดัชนีได้ปรับตัวขึ้นอยู่ที่ระดับ 1,253 จุด ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในวันที่ 23 มีนาคม 2563 ที่ประเทศไทยประกาศ lockdown โดยสาเหตุหลักจากการฟื้นตัว อาทิเช่น มาตรการผ่อนคลายของนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางทั่วโลก นโยบายการคลังที่ทยอยออกมาเพื่อเยียวยาภาคการจ้างงานซึ่งได้รับผลกระทบจากการ lockdown จำนวนผู้ติดเชื้อภายในประเทศและยุโรปลดลง รวมถึงองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก (OPEC) รัสเซีย และสหรัฐฯ กลับมาเจรจาเพื่อลดกำลังการผลิตเพื่อรับมือกับอุปสงค์ที่ลดลงจาก COVID-19 ซึ่งคาดว่าปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศสามารถเดินหน้าต่อได้บ้างส่วน และจะฟื้นตัวอย่างเต็มที่ในช่วงไตรมาสที่ 4 นับว่าเป็นจังหวะการลงทุนที่ดีที่สุดในรอบ 10 ปี
“ตลาดหุ้นจีนนั้น ถึงแม้ว่าตัวเลขการส่งออกในเดือน มี.ค. ลดลงจากเดิมที่ระดับ -17.2%YoY มาอยู่ที่ -6.6%YoY แต่ในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 ในจีนเริ่มคลี่คลายทำให้รัฐบาลกลับมาประกาศเปิดเมืองอีกครั้ง ประกอบกับธนาคารกลางจีนได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยโครงการเงินกู้ระยะกลาง 1 ปี ลง 0..20% มาอยู่ที่ระดับ 2.95% และอัดฉีดสภาพคล่องผ่านโครงการดังกล่าวเพิ่มเติมอีก 100,000 ล้านหยวน ซึ่งเหล่านี้จะส่งผลให้เศรษฐกิจของจีนจะค่อยๆ ฟื้นตัวถึงแม้ว่าอาจจะถูกกดดันจากอุปสงค์โลกที่อ่อนแอหลังจากการระบาดของ Covid-19 ที่แพร่ระบาดทั่วโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของจีน สำหรับตลาดทองคำนั้นการลงทุนในทองคำจะช่วงกระจายความเสี่ยงในพอร์ตได้ โดยในช่วงที่ผ่านมา Fed ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายนอกรอบการประชุมเป็นครั้งที่ 2 สู่ที่ระดับที่ 0.00 – 0.25% และประกาศทำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารการเงินที่ผู้ซื้อลงทุนในสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Mortgage Backed Securities) อย่างไม่จำกัด ประกอบกับมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการปล่อยกู้วงเงิน 2.3 ล้านล้านดอร์ล่าร์ จึงส่งผลให้ราคาในปัจจุบันสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม นักลงทุนที่ลงทุนในทองคำโดยตรงควรระมัดระวังเนื่องจากมีนักลงทุนมีการเข้าไปเก็งกำไรสูง” นายณรงค์ศักดิ์ กล่าว
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการ ได้ที่ SCBAM Call Center โทร.02-777-7777 กด 0 กด 6 หรือผู้สนับสนุนการขายทุกราย หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://scbam.link/7c53c