ปรับตัวแบบทันท่วงที คือทางรอดเดียว ท่ามกลางวิกฤติโควิด -19

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 7, 2020 07:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 พ.ค.--มายด์ พีอาร์ เปิดมุมมองความคิดผู้บริหารแห่ง TCC Technology Group นายธีรพันธุ์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด หรือ ทีซีซีเทค เกี่ยวกับแนวทางการรับมือต่อวิกฤติโควิด -19 การจัดการตามลำดับความสำคัญ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เหมาะกับสถานการณ์ ตลอดจนรูปแบบ ผลกระทบที่ส่งผลถึงผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ และการมองข้ามช็อตสู่เทรนด์ในอนาคต ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤติครั้งใหญ่ ที่ยากต่อการรับมือให้สำเร็จได้ ภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งตัวแปรสำคัญที่นายธีรพันธุ์ เหลืองนฤมิตชัย ได้อธิบายไว้คือ การรู้รับ ปรับตัว และการปรับใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์มากที่สุดต่อธุรกิจหรือการดำเนินชีวิต ซึ่งภายใต้การบริหารงานของแม่ทัพท่านนี้ เป็นอีกหนึ่งเสียงสะท้อนที่ทำให้เห็นถึงความสำคัญของ การวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Planning - BCP) เพื่อทำให้การบริหารธุรกิจยังคงดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดชะงัก ซึ่งกลุ่มบริษัททีซีซี เทคโนโลยีมี BCP ขององค์กรเองมาตั้งแต่ครั้งเริ่มสร้างบริษัท รวมทั้งที่มีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการความเสี่ยงให้ลูกค้าผ่านบริการ Disaster Recovery ซึ่งมาตรการเหล่านี้ได้ผ่านการทดสอบจากหลายสถานการณ์ในอดีต อาทิ เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ และเหตุการณ์ระบาดของไข้หวัดใหญ่ “เราเรียนรู้จากอดีต และนำแนวทางต่างๆ มาปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ใหม่ที่กำลังเผชิญหน้าในปัจจุบัน เพื่อทำให้องค์กรสามารถยืนหยัดได้อย่างยั่งยืน ไม่เพียงเพื่อธุรกิจขององค์กรเท่านั้น แต่เพิ่มความต่อเนื่องและแข็งแกร่งขององค์กรลูกค้าด้วยเช่นกัน” คำกล่าวของแม่ทัพแห่ง TCC Technology กลุ่มทีซีซี เทคโนโลยี ให้ความสำคัญเสมอมาแม้ไร้ซึ่งวิกฤติใดๆ คือ ประเด็นเรื่องการบริหารจัดการความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 27001 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปกป้องทรัพย์สินสารสนเทศขององค์กรลูกค้า ซึ่งครอบคลุมถึง BCP โดยได้พิจารณาแผนรองรับในหลากหลายความเสี่ยง และหลายสถานการณ์ รวมทั้งการแพร่ระบาดของโรคด้วย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ทางกลุ่มทีซีซี เทคโนโลยีจึงสามารถนำแผน BCP เดิมมาปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นให้สอดคล้องกับมาตรการทางสังคมที่ภาครัฐกำหนด รวมถึงตรงกับความต้องการหรือแผนงานของลูกค้าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมเน้นการติดต่อสื่อสารกับ ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง การวางกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงจากวิกฤติแบบเชิงรุก พร้อมกำหนดให้มี การประเมินความเสี่ยง และรายงานผลแบบทันท่วงทีเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ หากพบว่าสถานการณ์ได้ยกระดับความรุนแรงเกินกว่าที่ระบุไว้ก่อนหน้า แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ ของ ทีซีซี เทคโนโลยี กรุ๊ป จะถูกนำมาปฎิบัติใช้โดยทันที เพื่อสร้างความมั่นใจ ทั้งในมุมความปลอดภัย ระหว่างการปฎิบัติงานของบุคลากร และการสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจของลูกค้า การจัดการตามลำดับความสำคัญ จากการให้ความสำคัญต่อการสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจของลูกค้า ควบคู่ไปกับการ ดูแลความปลอดภัยของพนักงาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของ พนักงาน กลุ่มทีซีซี เทคโนโลยี จึงออกมาตรการจำกัดจำนวนพนักงานที่ต้องปฎิบัติงานในสำนักงาน โดยพนักงานส่วนใหญ่ได้รับมอบให้ปฎิบัติงานระยะไกล หรือ remote working แต่ยังคงสามารถ เข้าถึงสิทธิ์การใช้งานข้อมูลและเครื่องมือต่างๆ ได้ตามปกติ แต่เนื่องจากบริการด้าน Infrastructure ขององค์กร ให้ความสำคัญกับข้อตกลงระดับการให้บริการ ทำให้พนักงานบางส่วนจำเป็นต้องอยู่ปฎิบัติงาน ณ ไซต์งานนั้นๆ ซึ่งจุดนี้ทางบริษัทมีการจัดเตรียมพื้นที่ พักอาศัยในบริเวณใกล้เคียง และอุปกรณ์จำเป็นต่างๆ พร้อมรับหากในกรณีที่รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ทั้งประเทศ ในขณะเดียวกัน ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งที่บริษัทไอทีส่วนใหญ่ รวมถึงกลุ่มทีซีซี เทคโนโลยีให้ความสำคัญคือ ความพยายามในการสนับสนุนลูกค้าในทุกๆ ด้านภายใต้การดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการคำตอบและคำแนะนำที่รวดเร็วมาก มีทีมงานพร้อมให้การสนับสนุนภารกิจที่สำคัญ มีการแยกตัวอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย เพื่อให้แน่ใจว่าจะให้บริการได้อย่างต่อเนื่องแบบ 24 ชั่วโมง ซึ่งบุคลากร ของเราสามารถบริหารจัดการสถานการณ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี แม้มีความคาดหวังที่สูงจากลูกค้าในการ ทำให้ทุกการดำเนินงานของพวกเขาเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งนี้ อีกหนึ่งความโดดเด่นของ TCC Technology Group คือ การมี professional pool หรือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ครอบคลุมทั้งในส่วนของ Infrastructure, Platform, Analytics และ Application ที่พร้อมการันตรีการเพิ่มคุณค่าระยะยาวในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจที่แท้จริงทั้งในยามปกติและยามวิกฤติ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะยังคงปักหลักทุ่มเทความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดการสนับสนุนที่มีประสิทธิผล ให้คำแนะนำที่ใช้ได้จริง และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในยามจำเป็น การปรับใช้เทคโนโลยีช่วงปฎิบัติงานระยะไกล เทคโนโลยีคือองค์ประกอบสำคัญในการดูแลลูกค้าและองค์กร ซึ่งกระบวนการส่วนใหญ่ของ พวกเขาออนไลน์อยู่ ดังนั้นจึงเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายจากทุกที่ทุกเวลา เพียงแต่ต้องมั่นใจว่าการเข้าถึงข้อมูล ดำเนินไปอย่างปลอดภัย โดยเครื่องมือที่พวกเขาใช้อยู่ในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน อาทิ SAP on cloud สำหรับระบบหลังบ้าน และ Microsoft Teams สำหรับ Video Conferencing ทั้งนี้กลุ่มทีซีซี เทคโนโลยี ยังช่วยแบ่งเบาภาระให้กับลูกค้าในยามวิกฤติโดยเพิ่ม Bandwidth ให้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และจัดโซลูชันสำหรับการทำงานที่บ้านให้ในราคาพิเศษ มากไปกว่านั้นเทคโนโลยีที่นำเสนอให้กับลูกค้า มาจากหลากหลายพันธมิตร อาทิ การแชร์ไฟล์ / จัดเก็บ / สำรองข้อมูล - อีเมล O365, เครื่องมือการทำงานร่วมกันบนแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่าง Microsoft Team, Zoom, แอปปลิเคชั่น สำหรับการจัดการหลังบ้านเช่น SAP เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลจาก Microsoft, IBM โครงข่ายสื่อสาร เครือข่ายส่วนตัวเสมือน VPN เพื่อเข้าถึงระบบสำคัญได้อย่างปลอดภัย IP Phone ช่วยให้ลูกค้าสามารถรับสายที่โอนจากโทรศัพท์ office วิกฤตการณ์ส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ รุนแรงมากและไม่เหมือนกับวิกฤติใดๆในอดีต ซึ่งส่งผลกระทบ ไม่มากก็น้อยต่อองค์กรต่างๆทั่วโลก รวมถึงกลุ่มองค์กรที่อยู่ในระบบนิเวศน์ ทั้งในส่วนของผู้ขายลูกค้า และแม้กระทั่งองค์กรเราเอง ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคฯ ส่งผลให้หลายองค์กรต้องปรับตัวสู่โลกออนไลน์ กลุ่มลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของทีซีซีเทคแบ่งออกเป็นสามกลุ่มหลัก คือ 1. ลูกค้าที่เปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกดิจิทัลแล้ว 2. ลูกค้าที่กำลังเริ่มเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกดิจิทัลแล้ว 3. ลูกค้าที่ธุรกิจยังไม่ได้ใช้ดิจิทัลมากนัก โดยลูกค้ากลุ่มแรกสามารถปรับตัวได้เองอย่างรวดเร็ว มักมีความต้องการ อาทิ การขยายพื้นที่บน ระบบคลาวด์ การเปิดใช้งานศูนย์สำรอง การใช้งานทางไกลด้วยเครื่องมือการทำงานร่วมกันผ่านแพลตฟอร์ม ออนไลน์หรือ การเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์โดยเชื่อมต่อที่ปลอดภัยผ่านเครือข่าย VPN ในกรณีที่มีการดำเนินตามแผน BCP หรือการทำงานระยะไกล สำหรับกลุ่มที่สองอาจต้องใช้ความพยายามมากกว่ากลุ่มแรก อย่างเช่น ช่วงต้นของการปรับตัวสู่ระบบ คลาวด์หรือต้องการความช่วยเหลือและการฝึกอบรมจากผู้ให้บริการ จะเห็นว่าทั้งสองกลุ่มนี้ ส่งผลให้อุปสงค์ ในระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นโดยฉับพลัน ในส่วนของกลุ่มที่สามถือเป็นกลุ่มที่เผชิญกับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์ COVID-19 เนื่องจากลักษณะของธุรกิจที่ต้องพึ่งพาบริบททางกายภาพมากกว่าระบบดิจิทัล เมื่อมีประกาศให้ปิดหน้าร้านจึงได้รับผลกระทบรุนแรง ไม่สามารถใช้งานเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อทำงานจากบ้านได้ในทันที นอกจากนี้หลายองค์กรในกลุ่มนี้เน้นการลดค่าใช้จ่าย อาจมีความล่าช้าในการตัดสินใจและการชำระเงิน รวมถึงต้องการ ส่วนลดหรือโปรโมชั่นจากผู้ให้บริการ ขณะที่บางองค์กรอาจสูญเสียรายได้จากความไม่แน่นอนของฐานลูกค้า บางองค์กรจำเป็นต้องลดขนาดองค์กร หรืออาจถึงขั้นเลิกกิจการ “เราเข้าใจสถานการณ์ของลูกค้าเป็นอย่างดี และเน้นการทุ่มเทในการใช้ทรัพยากรเทคโนโลยีเป็นพิเศษ เพื่อตอบ สนองความคาดหวังของพวกเขา เพื่อช่วยให้ลูกค้าดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นและผ่านพ้นสถานการณ์ ที่ยากลำบากนี้ไป ซึ่งเรามองว่าวิกฤตินี้ถือเป็นความท้าทายที่เรามั่นใจว่าสามารถจัดการได้ด้วยประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของบุคลากรทีซีซี เทคโนโลยี” กล่าวโดย นายธีรพันธุ์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด” มองข้ามช็อตสู่เทรนด์ในอนาคต แม้ว่าวิกฤตนี้จะส่งผลให้องค์กรต่างๆจากทุกภาคส่วนจะเปิดรับเทคโนโลยีได้เร็วขึ้นแบบอัตโนมัติ ทำให้ ตลาดไอทีได้รับความต้องการเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม โดยเฉพาะเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับ การทำงาน ร่วมกันผ่านออนไลน์ ระบบคลาวด์ และระบบการเชื่อมต่อที่ปลอดภัย ฯลฯ ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมายที่ทำให้เกิด ผลกระทบทางลบได้แก่การชลอการตัดสินใจใช้บริการ การชำระเงินที่ล่าช้า การนำเสนอโครงการ เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ ให้กับลูกค้าในระยะสั้น อันเป็นผลกระทบต่อรายได้ ถึงแม้ว่ารายได้หลักจะเป็นในรูปแบบของ “การให้บริการ” รูปแบบรายได้ต่อเนื่อง (Recurring Revenue) ของทีซีซีเทค ซึ่งขนาดของผลกระทบนั้นจะขึ้นอยู่กับ ว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อมากแค่ไหนและบริษัทจะสามารถรับมือกับมันได้ดีเพียงใด จากการทำนายของ IDC เผยให้เห็นความน่ากังวล เกี่ยวกับอัตราการลงทุนด้านเทคโนโลยี ไตรมาสแรกของปี 2563 ในเอเชียแปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่นและจีน คาดว่าจะมีอัตราเติบโตที่ลดลงเป็น 1.2% จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่เคยคาดการณ์ว่าจะเติบโตมากกว่า 5.2 % และคาดว่าอัตราการเติบโต จะลดลงอีกอย่างต่อเนื่องจากความไม่แน่นอนของผลกระทบโควิด - 19 *Source: https://www.idc.com/getdoc.jsp?containerId=prAP46159120 ทั้งนี้ หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ยังคงยืดเยื้อเกินหนึ่งไตรมาสหรือกินเวลาถึงหนึ่งปี จะทำให้เกิดความท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจในระยะกลาง อาทิเช่น การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain) อาจส่งผลกระทบต่อการส่งมอบบริการที่ล่าช้ากว่า กำหนด จนนำไปสู่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น การเสียโอกาสจากความล่าช้าของความร่วมมือในการสร้างโปรเจคและพลาดโอกาสในการเป็น พันธมิตร เนื่องจากการสร้างเครือข่ายด้วยมนุษย์สัมพันธ์ กลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยาก ฐานลูกค้าและเป้าหมายลูกค้าที่ประสบปัญหาทางการเงิน การชะลอตัวด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี และภาพรวมของตลาดโดยรวม บางโครงการมีการเลื่อนการลงทุนออกไป ชะลอการดำเนินโครงการในช่วงส่งมอบงานหรือแม้แต่ การยกเลิกบริการ แสงสว่าง ณ ปลายอุโมงค์ ณ ชั่วโมงนี้ ผู้คนเริ่มประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างอัตโนมัติ หลายธุรกิจต่างกระตือรือร้นในการปรับตัว สู่โลกดิจิทัลและเตรียมความพร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้ในอนาคต พวกเขาต่างมองหาเทคโนโลยี โซลูชัน รวมถึงเทคโนโลยีสำหรับการติดตามขณะพนักงานปฎิบัติงานที่บ้าน นอกจากนี้ในอนาคตธุรกิจต่างไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อรองรับการทำงาน แต่จะหันไปพึ่งเครื่องมือการทำงานร่วมกันผ่านระบบออนไลน์แทน และปัจจัยดังกล่าวคาดว่าจะเป็นตัวเร่งอัตราการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีให้เติบโตขึ้นในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเทคโนโลยีคลาวด์ โครงสร้างพื้นฐานไอที และการเปิดใช้งานแอปพลิเคชัน ทางธุรกิจ แต่ทั้งนี้ผลประกอบการและการดำเนินธุรกิจ ของแต่ละองค์กรจะสว่างสดใสท้าทายกระแสวิกฤติ ได้มากน้อยเพียงใด คงต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะ การนำพาพวกเขาเข้าสู่วิถีดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ