DPU SHOWCASE ระเบิดไอเดีย สร้างต้นแบบธุรกิจแห่งโลกอนาคต

ข่าวทั่วไป Friday May 8, 2020 16:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 พ.ค.--มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้รูปแบบการเรียนรู้ในปัจจุบันแตกต่างจากในอดีต ทำให้เกิดอาชีพใหม่ที่มีความหลากหลาย และด้วยทิศทางของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีทักษะสำคัญเพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคต จึงได้จัดให้มีการเรียนรูปแบบใหม่ที่มีชื่อว่า DPU CORE กลุ่มวิชา DPU CORE เป็นการผสมผสานระหว่างกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป (GenEd) กับกลุ่มวิชาของหลักสูตรผ่านวิชา Capstone project โดยนักศึกษาจะรวมกลุ่มข้ามคณะ ข้ามหลักสูตรเพื่อทำโปรเจค แสดงไอเดียผ่าน Prototype และนำเสนอแนวทางในการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมืออัจฉริยะสร้างสรรค์ ที่สามารถตอบโจทย์ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับสังคมได้ นักศึกษาบางกลุ่มสามารถพัฒนาไอเดียเป็นแผนธุรกิจที่สามารถต่อยอดและทำได้จริงในอนาคต โดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จัดกิจกรรม Showcase Day ประกวดโครงงานนักศึกษาพร้อมให้นักศึกษาได้นำเสนอผลงานของตนเอง อาทิ กลุ่มวิชาที่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรมหุ่นยนต์ โลกของปัญญาประดิษฐ์ และ IOTs และ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Virtual Reality และ Augmented Reality ผ่านการ Pitching โดยมีอาจารย์เป็นกรรมการตัดสิน กิจกรรมนี้ทำให้เห็น Output ของนักศึกษาที่แสดงออกมาเป็นลักษณะของ Prototype ทำให้มองเห็นภาพชัดว่าโครงการที่นักศึกษาทำขึ้นนั้นสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ก่อให้เกิดการพัฒนา 6 ทักษะสำคัญในอนาคต ได้แก่ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะทางเทคโนโลยี ทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม และทักษะด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ นักศึกษาสามารถนำความรู้และทักษะแห่งอนาคตมาประยุกต์ใช้และเป็นแนวทางในการสร้างโอกาสทางธุรกิจและอาชีพใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต “นุ้ย” ภาพัชร คอร์ก นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ ทีม Smart farm ชนะเลิศประเภทโครงงานดีเด่น กล่าวว่า กลุ่มของตนได้เลือกทำโครงการ Smart farm อัจฉริยะโดยการควบคุมสื่อสารจาก line เพราะมองเห็นปัญหาเรื่องสุขภาพ ปัญหาการว่างงานเป็นเรื่องสำคัญอีกทั้งการเกษตรเป็นอาชีพที่ส่งเสริมรายได้อันดับหนึ่งของประเทศ แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องผลผลิตได้ไม่มากและผลผลิตที่ได้ก็ไม่แน่นอน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับภาคการเกษตรเราจึงได้นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ คือ smart farm ที่ช่วยในเรื่องการควบคุมการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ในอนาคตอยากจะต่อยอดโครงการโดยการรวมกลุ่มกันจัดตั้งหุ้นส่วนบริษัทผนวกกับใช้ความรู้กฎหมายที่เรียนให้เกิดประโยชน์และหาบริษัทร่วมลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ เมื่อถึงสิ่งที่ได้จากการเรียนนี้คือ เราได้หลักการคิดอย่างเป็นระบบได้ทักษะการเป็นผู้นำ การใช้เทคโนโลยี รวมถึงการเขียนโค๊ดโปรแกรมที่สามารถใช้จริงได้ “เจน” ณัฐฐินันท์ สวัสดี วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) ทีมบับเบิ้ลบี ผู้ชนะเลิศประเภทโครงงานดีเด่น กล่าวว่า ทีมได้เลือกทำฟาร์มไก่ เพราะเห็นว่าไก่เป็นสัตว์ที่ใช้ทำอาหารเกือบทุกประเภทและมีผู้บริโภคจำนวนมากทั่วโลก ในประเทศไทยมีฟาร์มไก่จำนวนมากแต่มีปัญหาเรื่องการควบคุมอุณหภูมิส่งผลกระทบในเรื่องการผลิตและส่งออกคุณภาพของไก่และไข่ จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ตอบรับความต้องการของผู้บริโภค และมองว่าโครงการนี้สามารถนำความรู้ที่เรียนมาเกี่ยวกับนวัตกรรมหุ่นยนต์ระบบเซนเซอร์และคลังสินค้าที่จัดส่งออกไปยังลูกค้ามาปรับใช้ ช่วยลดต้นทุนการจ้างงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลอย่างถูกต้องและแม่นยำทั้งยังมีมาตรฐานได้คุณภาพตรงตามที่ตลาดต้องการ อีกทั้งเห็นว่าโครงการนี้ในอนาคตเราสามารถต่อยอดได้โดยอาจจะร่วมลงทุนกับทางฟาร์มไก่เพื่อให้โครงการนี้สมบูรณ์แบบได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ