กรุงเทพฯ--15 พ.ค.--สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA จัดประชุมก่อตั้งศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ หรือ Digital Government Technology & Innovation Center โดยความร่วมมือ ระหว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มผู้ประกอบการเทคโนโลยีนวัตกรรมดิจิทัลของไทย และ สพร. เพื่อกระตุ้นและ ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมดิจิทัลต่อการเพิ่มขีดความสามารถ ประสิทธิภาพการ ให้บริการของหน่วยงานภาครัฐของไทย ตลอดจนเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมเทคโนโลยีภาครัฐ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย และวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษา วิจัยและพัฒนาต่อยอดให้เกิดนวัตกรรม บริการด้านดิจิทัลสำหรับภาครัฐ ศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ
ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กล่าวในโอกาสนี้ว่า “GovTech หรือ Government Technology” คือการให้บริการจากภาครัฐโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวเชื่อมโยง และอำนวยความสะดวกในการทำงานและการบริการประชาชนแทนการติดต่อและเข้าถึงภาครัฐแบบเดิม เพื่อส่งมอบ ประสบการณ์ด้านบริการสาธารณะที่ดีเยี่ยมแก่ประชาชน ดังนั้น GovTech ครอบคลุมการใช้เทคโนโลยีทางดิจิทัลขั้นสูง ในบริการสาธารณะของภาครัฐผ่านออนไลน์ บริการด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา บริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง บริการการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ หรือการทำให้ลดขั้นตอนการบริหารราชการภาครัฐ ผลคือการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการต่าง ๆ ของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน สะดวกความปลอดภัย และตอบสนองต่อความต้องการของภาคประชาชนได้ดีขึ้น ทำให้รัฐบาลก้าวสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัลเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
ในการขับเคลื่อน GovTech ต้องอาศัยพันธมิตรจากองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการศึกษา และมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างคน สร้างองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในฐานะหนึ่งในมหาวิทยาลัย ชั้นนำของประเทศ จึงมีความยินดีและภูมิใจที่ได้เป็นส่วนสำคัญ ในการขับเคลื่อน GovTech ในครั้งนี้ โดยเป็นสถานที่ตั้ง ของ GovTech Center ในใจกลาง EEC มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พร้อมร่วมขับเคลื่อน Govtech Thai โดยสามารถ
ร่วมคิดค้นออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านระบบบริหารจัดการและการออกแบบบริการดิจิทัล เพื่อผลักดันการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลในภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลร่วมจัดการศึกษา ผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นทางเลือกหนึ่งให้แก่ ประชาชนที่ภาครัฐสามารถให้บริการได้ ผ่านรูปแบบต่าง ๆ เช่น คอร์สเรียนออนไลน์ ห้องสมุดออนไลน์ เกม หรือ แอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมพัฒนาทักษะและองค์ความรู้การฝึกอบรม สัมมนา และกิจกรรมอื่น ๆ ให้กับหน่วยงานภาครัฐร่วมสร้างมาตรฐานเพื่อการพัฒนาการให้บริการภาครัฐและเครื่องมือในการพัฒนาต่าง ๆ แบบ Open Source จนไปถึงพัฒนาระดับย่อยของหน่วยงานต่าง ๆส่งเสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับภาคประชาชน และเอกชน
ด้วยพร้อมด้านเทคโนโลยี ความรู้ และกำลังคนในการส่งเสริม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยินดีสนับสนุนให้เกิดผลงานนวัตกรรมด้านรัฐบาลดิจิทัล ให้มีจำนวนเพียงพอต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับกระบวนการทำงานของภาครัฐ เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตามแผนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ในระยะเวลา 20 ปี ตรงตามวัตถุประสงค์ ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) การที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลได้ขับเคลื่อนโครงการ Govtech Innovation Center นี้ จะทำให้คนไทยทุกคนได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น การที่มีภาครัฐ เป็นเจ้าภาพที่สำคัญมาเป็นแกนนำขับคลื่อน GovTech และสร้างพันธมิตรระหว่าง ภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคการศึกษา จะทำให้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ราบรื่น ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและ เกิด รัฐบาลดิจิทัลที่รวดเร็วด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ใหม่ไปตอบสนองความต้องการของประชาชน อย่างแน่นอน”
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ได้กล่าวเสริมว่า “เป็นโอกาสสำคัญที่ DGA ได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัลสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัลของไทย โดย DGA เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการพัฒนา บริหารจัดการ และให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล และระบบการให้บริการหรือแอปพลิเคชันพื้นฐานแก่หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นเกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล DGA ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพในพื้นที่ของ EEC ที่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน จึงได้ริเริ่มดำเนินการโครงการ “Digital Government Technology & Innovation Center” หรือ “ศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ” โดย ความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม ดิจิทัลอย่างเป็นระบบ เป็นแหล่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะดึงดูดให้เกิดความร่วมมือทั้งจากมหาวิทยาลัย เอกชน วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และประชาชน มาร่วมคิดออกแบบสร้างสรรค์ ค้นหาแนวทางปรับปรุงระบบบริหาร จัดการ การบริการภาครัฐแบบใหม่ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ให้ภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงประเมินผลโครงการ เพื่อให้การ บริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย โดยเน้นการหารือกับข้าราชการ เจ้าหน้าที่และประชาชนที่ เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ทั้งนี้ข้อมูลการให้บริการจะถูกจัดเก็บเพื่อนำมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ (Open Data) ให้กับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เพื่อนำไปต่อยอดนวัตกรรมในการพัฒนาบริการภาครัฐต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่ม เห็นผลดำเนินการโครงการต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรมได้ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2563 นี้ ในการพัฒนาโครงการความ ร่วมมือขับเคลื่อนนวัตกรรมภาครัฐในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกไปสู่ต้นแบบการบริหารจัดการพื้นที่อื่น ๆ ด้วย เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัลในปี 2564 – 2565 เป็นต้นไป”
โดยในระยะแรกจะมีการวางกรอบของโจทย์และปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรที่ เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มนักวิชาการ และตัวแทนผู้ประกอบการ Digital Startups เพื่อ กำหนดประเด็นการ ขับเคลื่อนสำคัญในการดำเนินงานเพื่ออำนวยความสะดวก ลดภาระและขั้นตอนที่เป็นอุปสรรค ตลอดจนเพิ่ม ประสิทธิภาพและสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่าในการให้บริการของหน่วยงานรัฐ โดยมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ