รู้แล้วรอด โรคความดันโลหิตสูง ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

ข่าวทั่วไป Friday May 15, 2020 15:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 พ.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ วันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปีถูกจัดตั้งให้เป็น “วันความดันเลือดสูงโลก” (World Hypertensioan Day) เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนได้ตื่นตัวและตระหนักเห็นความสำคัญของการป้องกัน “โรคความดันเลือดสูง” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตที่คร่าชีวิตคนไทยและคนทั่วโลก โรคความดันเลือดสูงคือ สภาวะของระดับความดันเลือดที่สูงกว่าระดับปกติ โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีความดันเลือดปกติ จะวัดค่าความดันได้ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่ผู้ที่มีความดันเลือดสูงจะวัดค่าความดันได้ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และถือว่าเป็นสภาวะที่ต้องได้รับการควบคุมตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากอาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนและโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดในสมอง โรคไตเสื่อม โรคเบาหวาน เป็นต้น สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง ความน่ากลัวของโรคความดันเลือดสูงคือผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่า 90-95 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ว่าเกิดขึ้นจากอะไร ทำให้โรคความดันเลือดสูงถูกขนานนามว่า “โรคเพชฌฆาตเงียบ” โดยทางการแพทย์นั้นได้อธิบายโรคความดันเลือดสูงนี้ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์ เช่น เกิดจากกรรมพันธุ์และอายุที่มากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะพบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป หรือวัยหมดประจำเดือน วิธีรักษา แม้โรคความดันเลือดสูงจะเป็นโรคที่อันตราย แต่ก็เป็นโรคที่สามารถควบคุมได้ในระยะยาว หากได้รับการรักษาที่ทันท่วงที โดยเบื้องต้นจะรักษาด้วยวิธีการให้ยาลดความดันเลือดเพื่อรักษาระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากการรับประทานยาแล้ว ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้ สิ่งที่ควรทำ หมั่นตรวจวัดความดันเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งรับประทานอาการให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก และผลไม้ชนิดที่ไม่หวานควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติออกกำลังเป็นประจำพักผ่อนให้เพียงพอรักษาสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ ไม่เครียด สิ่งที่ไม่ควรทำงดการสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ตีบตัน ของหลอดเลือดต่าง ๆ รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดไตลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำให้มีโอกาสเป็นโรคความดันเลือดสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ลดอาหารเค็ม หรืออาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป เช่น กะปิ น้ำปลา ของหมักดองลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อติดมัน หนังสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม อาหารประเภทผัดหรือทอดลดน้ำตาล เช่น น้ำหวาน อาหารหรือขนมที่มีรสหวาน ข้อมูลโดย ผศ. นพ.ภาวิทย์ เพียรวิจิตร สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คลิกชมรายการได้ที่ : https://youtu.be/x9CnTOTP07U, https://youtu.be/8OSYEpsmTNU ข้อมูลเพิ่มเติมสื่อมวลชนติดต่อ (ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์) Media Hotline : 0814863407

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ