กรุงเทพฯ--18 พ.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
“เชียงใหม่” และภาคเหนือตอนบนถือเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสูงในการลงทุนธุรกิจในประเทศไทย และเป็นอันดับหนึ่งในภาคเหนือ ด้วยจุดแข็งด้านโลเคชันภูมิศาสตร์เศรษฐกิจที่ดี การท่องเที่ยว และอื่น ๆ ที่หลายภาคส่วนผลักดันเป็น “Startup District” เมืองแห่งสตาร์ทอัพคอมมูนิตี้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล การเกษตร วัฒนธรรม ในพื้นที่เชียงใหม่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และจุดประกายไอเดีย สู่การพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ในพื้นที่ ปักหลักลงทุนธุรกิจและร่วมพัฒนาบ้านเกิด โดยที่ล่าสุด มีสตาร์ทอัพ (Startup) หน้าใหม่ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การท่องเที่ยว งานคราฟต์ สุขภาพ รวมถึงบริษัทชั้นนำเลือกขยายสาขาใหม่ในเชียงใหม่ จำนวนมาก
อาทิ 'Beneat’ แอปพลิเคชันจองบริการทำความสะอาดออนไลน์ 'Tripzii.co’ แพลตฟอร์มออนไลน์แมตช์ นักท่องเที่ยวกับคนพื้นที่ เปิดประสบการณ์เที่ยวตามไลฟ์สไตล์เฉพาะตัว 'Retire Gym’ แอปฯ ช่วยวิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงสุขภาพสำหรับวัย 50+
และเมื่อพูดถึงหลักสูตรที่ช่วยต่อยอด Startup สายดิจิทัลข้างต้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) คณะที่มีหลักสูตรวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แห่งแรกของไทย ที่ธรรมศาสตร์ปั้นเป็นหลักสูตรบุกเบิกของศูนย์รังสิต ซึ่งเรียกกระแสตอบรับด้วยคะแนนรับเข้าสูงสุดของวิชาสายวิทย์ ตั้งแต่เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในปี 2529 โดยหลักสูตรดังกล่าว เน้นการประยุกต์ใช้ Know How ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล สู่การเขียนโปรแกรม พัฒนาแอปฯ และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังสามารถผลิต CEO ผู้ประกอบการธุรกิจ ป้อนวงการไอทีทั้งในไทยและต่างประเทศจำนวนมาก
โดยปี พ.ศ. 2559 SCI-TU ได้ขยายหลักสูตรไปเปิดเต็มตัวที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ ที่สามารถต่อยอดความรู้ สู่นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อสร้างกำลังคนคุณภาพด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ อันสอดคล้องกับปณิธานของ คุณบุญชู ตรีทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ผู้มีคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อชาวธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาการศึกษาภาคเหนือ นอกเหนือจากท่านบริจาคที่ดินสำหรับสร้างมหาวิทยาลัย บริจาคทุนทรัพย์ในการสร้างห้องสมุดดิจิทัล และอาคารเรียนหลังใหม่เพื่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ท่านยังมอบทุนการศึกษาเต็มจำนวนแก่ นักศึกษา SCI-TU ที่ลำปางทุกคน เพื่อเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ในการศึกษาเล่าเรียน และพัฒนาศักยภาพตนเอง สู่ผู้ขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
วิทย์คอมฯ ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เปิดสอนในสาขาวิชา “เทคโนโลยีการเรียนรู้” ที่เน้นการเรียนรู้ปัจจัยมนุษย์ในการผลิตเทคโนโลยีระบบอัจฉริยะ น้อง ๆ จึงมีทักษะพิเศษในการผสมผสานความรู้ด้านวิทย์คอมฯ เข้ากับสาขาวิชาต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ภายใต้ความช่วยเหลือของอาจารย์และรุ่นพี่ต่างสาขา เช่น จับคู่รุ่นพี่สาขาฟิสิกส์ช่วยประดิษฐ์ตัวหุ่นยนต์ ขอความช่วยเหลืออาจารย์คณิตศาสตร์ ช่วยยืนยันโมเดลหรือสมการที่เตรียมออกแบบ อาจารย์สาขาเคมี ช่วยคิดเซนเซอร์หรือแปลผลสารที่พบในเซนเซอร์วัดสภาพอากาศ หรือกระทั่งอาจารย์สาขาไบโอเทค วิเคราะห์พันธุ์ไม้ผ่านการใช้บินโดรนเก็บข้อมูลภาพถ่ายผืนป่า
และพิเศษกว่านั้นคือ นักศึกษาวิทย์คอมฯ ที่นี่ มีโอกาสสร้างทางเดินสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ได้ด้วย เนื่องจาก คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้าน กฎหมายสำหรับระบบทางปัญญาประดิษฐ์ กฎหมายเกี่ยวกับการพิสูจน์ตัวตนและการเงินดิจิทัล โดยด้านหน้าธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เป็นที่ตั้งของ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 ซึ่งเป็นสถานฝึกตำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยและการสืบ สวนสอบสวน ดังนั้น นักศึกษาสามารถศึกษาเทคโนโลยีความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ และผสานต่อยอดไปที่กระบวนการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล ย้อนรอยการอำพรางข้อมูล ลำดับบล็อกเชนในการเงินดิจิทัลได้ในอนาคต
วันนี้ ไอซ์ - ชานนท์ จันเป็ง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (วิชาเอกเทคโนโลยีการเรียนรู้) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) ศูนย์ลำปาง กล่าวว่า ไอซ์เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนห้างฉัตรวิทยา เป็นคนลำปางแต้ ๆ เลยขออาสาเป็น “เจ้าบ้าน” พาน้อง ๆ สัมผัสประสบการณ์การเรียนการสอนในหลักสูตร วิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ มธ. ศูนย์ลำปาง แบบทุกซอกทุกมุม พร้อมรีวิวบรรยากาศภายในศูนย์ลำปาง แบบครบรส! ซึ่งจะพบกับความสนุกแค่ไหนนั้น ติดตามได้จากรายละเอียดดังต่อไปนี้ได้เลยครับ
เริ่มที่หลักสูตรวิทย์คอมฯ ของที่นี่ จะเปิดสอนใน วิชาเอก “เทคโนโลยีการเรียนรู้” เท่านั้น โดยที่น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับ #วิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ไอเดียเชิงนวัตกรรม รวมถึงการประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับสากล โดยมีรายวิชาสนุก ๆ ที่น้อง ๆ จะได้เรียน เช่น การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน การออกแบบและพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย สถิติและการวิจัยเพื่อเทคโนโลยีการเรียนรู้ และสำหรับน้องหลายคนที่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “หนูไม่ชอบเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวะ” ที่นี่ตอบโจทย์น้อง ๆ อย่างมาก เพราะไม่ต้องเรียนใน 3 วิชานี้เลย แถมยังเลือกฝึกงานกับบริษัทชั้นนำได้อีกด้วย เท่านั้นยังไม่พอ น้อง ๆ จะมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวนจนจบหลักสูตรกันไปเลย !
ซึ่งไอซ์เอง ก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับความรู้และประสบการณ์มากมาย เพราะที่ วิทย์คอม มธ. ลำปาง เราไม่ได้เรียนอย่างเดียว แต่ยังมีเวทีประกวด ที่ช่วยให้เราได้ Skill ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น และช่วยให้เราค้นพบตัวเองได้เร็วขึ้น เช่นเดียวกับน้อง ๆ หลายคน อย่าง พี่โอม ปี 3 พัฒนาระบบควบคุมเตียงในโรงพยาบาลอัจฉริยะ และได้ไปนำเสนอผลงานถึงประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ตอนเรียนปี 2 พี่บอส พี่วี และพี่โก้ ปี 3 ฟอร์มทีมพัฒนา "บีโก้ ปลอกคอสุนัขอัจฉริยะเพื่อสร้างเครือข่ายสุนัขผู้พิทักษ์” ที่คว้าเงินรางวัลรวม 15,000 บาท จากการประกวดซอฟต์แวร์ระดับประเทศ NSC’2020 ในเขตภาคเหนือ ด้วยการจับเทคโนโลยี IoT ผสานการสร้าง AI บนขอบเครือข่ายมาสร้างปลอกคออัจฉริยะ งานนี้มีทีมพี่ไอซ์และพี่ ๆ อีก 3 ทีมได้รางวัลรอบแรกกันด้วย
นอกจากนี้ ยังมี พี่ไอซ์ พี่ปิ่น พี่มาร์ช ปี 4 ที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ "ระบบท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอัจฉริยะ เพื่อชุมชนลำปาง" ด้วยทุนพัฒนา 30,000 บาท พี่อ้วน ปี 3 รวมทีม กับพี่นัฐ นักฟิสิกส์ นำเทคนิค AI และ IoT มาประดิษฐ์ Weather Station เครื่องจ่ายน้ำในแปลงเกษตรด้วยโมเดลเฉพาะพืช ตามความต้องการของนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญพืชไร่ โดยเครื่องจ่ายน้ำนี้ติดตั้งใช้งานจริงในศูนย์วิจัยพืชไร่ จ. ขอนแก่น และกำลังเดินเครื่องผลิตโมเดลใหม่เป็นเฟสต่อไป พี่พีท ว่าที่บัณฑิตรุ่นแรก พัฒนาโมเดลทำนายลักษณะสภาพอากาศและตีพิมพ์ผลงานในที่ประชุมวิชาการที่ประเทศญี่ปุ่น เร็ว ๆ นี้
นอกจากกิจกรรมระหว่างเรียนสนุก ๆ ที่ให้น้อง ๆ ได้เก็บเกี่ยวทักษะ วิชาความรู้ และประสบการณ์ติดตัวจำนวนมากแล้ว หลักสูตรนี้จบได้ใน 3 ปีครึ่ง และเมื่อจบแล้วก็มี #อาชีพรองรับมากมาย ไม่ว่าจะเป็น นักพัฒนาเว็บไซต์แอปฯ/ โปรแกรม/ ซอฟต์แวร์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ นักวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย รวมถึงอาจารย์ในกลุ่มวิชาวิทยาการคำนวณ นอกจากนี้ ยังมี #ทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร อย่าง “ทุนคุณบุญชู ตรีทอง” ทุนเต็มจำนวนเมื่อแรกเข้า สำหรับหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิชาเอกเทคโนโลยีการเรียนรู้ มธ. ศูนย์ลำปาง และไม่ว่าน้อง ๆ จะเข้ามาในรอบไหน ก็มีสิทธิ์ได้รับทุนเหมือนกัน ขอแค่คุณสมบัติครบตรงตามเงื่อนไข โดยมีรายละเอียดดังนี้
ต้องเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางเท่านั้น โดยน้อง ๆ ที่สมัครเข้ามาเรียนผ่านระบบ TCAS รอบ 1-4 มีสิทธิ์ได้รับทุนการศึกษาแรกเข้าเหมือนกันได้รับทุนการศึกษาตั้งแต่แรกเข้า สำหรับปี 1 เทอม 1 จำนวน 22,300 บาท แต่ในกรณีที่น้อง ๆ มีเกรดเฉลี่ยสะสมในปี 1 เทอม 1 ต่ำกว่า 1.5 จะหมดสิทธิ์รับทุนในเทอมต่อไปต้องรักษาเกรดเฉลี่ยสะสม เมื่อจบปี 1 หากน้องๆ สามารถรักษาเกรดเฉลี่ยสะสมให้ไม่ต่ำกว่า 2.00 ทุกภาคเรียน กำหนด และลงทะเบียนไม่น้อยกว่าแผนการศึกษาของหลักสูตร น้องๆ จะได้รับทุนการศึกษาสมทบ ดังนี้ต้องเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางเท่านั้น โดยน้อง ๆ ที่สมัครเข้ามาเรียนผ่านระบบ TCAS รอบ 1- 4 มีสิทธิ์ได้รับทุนการศึกษาแรกเข้าเหมือนกันได้รับทุนการศึกษาตั้งแต่แรกเข้า สำหรับปี 1 เทอม 1 จำนวน 22,300 บาท แต่ในกรณีที่น้อง ๆ มีเกรดเฉลี่ยสะสมในปี 1 เทอม 1 ต่ำกว่า 1.5 จะหมดสิทธิ์รับทุนในเทอมต่อไป *ทั้งนี้ผู้ให้ทุนขอสงวนสิทธิการปรับเกณฑ์รับทุนตามความที่เห็นสมควรมีเกรดเฉลี่ยสะสม 2.50 แต่ไม่ถึง 3.00 รับทุนการศึกษาสมทบ 5,000 บาท/ปีมีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.00 แต่ไม่ถึง 3.50 รับทุนการศึกษาสมทบ 10,000 บาท/ปีมีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.50 ขึ้นไป รับทุนการศึกษาสมทบปีละ 20,000 บาท/ปีต้องลงทะเบียนเรียนต่อเนื่อง น้อง ๆ ที่ได้รับทุนจะต้องลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่องในทุกภาคการศึกษา และต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีภายในระยะเวลาปกติตามที่หลักสูตรกำหนด รวมถึงห้ามลาพักการศึกษา เว้นแต่มีเหตุผลที่สมควร
นอกเหนือไปจาก หลักสูตร และทุนการศึกษาที่ให้เปล่า สำหรับนักศึกษาที่สามารถรักษามาตรฐาน GPA ได้แล้ว บรรยากาศและสังคมภายใน มธ. ศูนย์ลำปาง ยังเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาอีกด้วย เนื่องจากถูกโอบล้อมไปด้วยบรรยากาศของความเขียวขจีขนาดใหญ่ ห้องสมุดคุณบุญชู ตรีทอง อาคารนวัตกรรมบริการ แหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 4,316 ตารางเมตร ที่เปิดให้บริการชั้น 2-3 พร้อมแบ่งพื้นที่ออกเป็นโซนต่าง ๆ ทั้ง โซนสืบค้น โซนอ่านหนังสือ โซนยืม-คืนหนังสืออัตโนมัติ และโซนเงียบ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ หอพักใหม่เอี่ยมที่สะดวกและทันสมัย รวมไปถึงสังคมเหลือง-แดง ทั้งอาจารย์
และรุ่นพี่ ที่พร้อมช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนความรู้ตลอด 4 ปีการศึกษา อีกด้วย
สำหรับน้อง ๆ TCAS63 ทั้งสายวิทย์-คณิต หรือสายศิลป์-คำนวณ ที่สนใจสาขาวิชา “วิทยาการคอมพิวเตอร์” และอยากมาเป็นครอบครัวเดียวกับเราที่ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. ศูนย์ลำปาง สามารถตรวจสอบคุณสมบัติและสมัครออนไลน์ใน TCAS รอบ 4 (รับกลางร่วมกัน) ได้ที่ www.mytcas.com ระหว่างวันที่ 7-20 พฤษภาคม 2563 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. ศูนย์ลำปาง โทร. 054 237 999 ต่อ 5625 หรือ 092 668 5625 (ในวันและเวลาราชการ) ไลน์ไอดี sci-tulp อีเมล Lampang@sci.tu.ac.th และเฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/sciencetulp หรือติดตามความเคลื่อนไหวของคณะได้ที่ www.facebook.com/ScienceThammasat และ https://sci.tu.ac.th