นโยบายเกษตร 4.0 ก้าวหน้าจัดตั้งบิ๊กเดต้าศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ พร้อมคิกออฟ AIC เดือนหน้า จับมืออาลีบาบา-แกร็บ เปิดหลักสูตรตลาดออนไลน์

ข่าวทั่วไป Wednesday May 27, 2020 13:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 พ.ค.--กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นโยบายเกษตร 4.0 ก้าวหน้าจัดตั้งบิ๊กเดต้าศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ พร้อมคิกออฟ AIC เดือนหน้า จับมืออาลีบาบา-แกร็บ เปิดหลักสูตรตลาดออนไลน์ และร่วมดีป้า-กลต.เพิ่มช่องทางลงทุนภาคเกษตรด้วยคราวด์ฟันดิ้งก์ (crowd funding) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center: AIC) ว่า ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center: AIC) จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนและส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตร การประดิษฐ์นวัตกรรม รวมทั้งเครื่องจักรกลเกษตร อีกทั้งยังเป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะเกษตรกร สนับสนุน Smart Farmer รวมถึง Young Smart Farmer ในแต่ละจังหวัด และผลักดันงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านการวิจัย การพัฒนา การลงทุน การแปรรูป และการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์ มีความเชื่อมโยงภายใต้คณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 อันประกอบด้วยคณะอนุกรรมการอีก 4 คณะ ได้แก่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech, คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ, คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-commerce, และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายของ รมว.กษ. ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน ภายหลังที่ได้มีการลงนามบันทึกตกลงความความร่วมมือการจัดตั้งศูนย์ AIC ในสถาบันการศึกษาไปแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 69 สถาบัน 83 แห่ง 77 จังหวัด ขณะนี้ได้เร่งจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์ AIC ให้มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งในวันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 นี้ จะมีการประชุมเพื่อ Kick off ศูนย์ AIC โดยจะหยิบยกประเด็นสำคัญขึ้นมาหารือ ดังนี้ 1) การอบรมบ่มเพาะ เรื่อง ตลาดเกษตร โลจิสติกส์เกษตร เกษตรอนาคตทางเลือกใหม่ 2) การถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม เช่น ระบบสูบน้ำส่งน้ำด้วยพลังงานทางเลือก 3) จัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย 4) จัดทำ Action plan 5) จัดตั้งโครงสร้างขับเคลื่อน ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตร คณะกรรมการส่งเสริมนวัตกรรมและเครื่องจักรกลเกษตร คณะกรรมการพัฒนาตลาดเกษตร (ออนไลน์และออฟไลน์) คณะกรรมการโลจิสติกส์เกษตร คณะกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 4 คณะ ที่เชื่อมโยงกับศูนย์ AIC ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น อาทิ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ GovTech (โดยมี นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นประธาน) มีการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยให้บูรณาการข้อมูลให้ครอบคลุมในทุกมิติและเป็นปัจจุบัน เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (National Agricultural Big Data Center : NABC) เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 และวางแผนขับเคลื่อนการจัดทำ Big Data ในช่วง 6 เดือน (เมษายน – กันยายน 2563) อย่างเป็นระบบ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ (โดยมี ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ เป็นประธาน) มีการปรับแผนการดำเนินงานด้านเกษตรอัจฉริยะ จำนวน 9 โครงการ/กิจกรรม มีการดำเนินงานแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะมันสำปะหลัง แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะผักสลัดในโรงเรือน แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะกุ้งขาวแวนนาไม และการสร้างการรับรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะ ร่วมกับ AIC คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce (โดยมี นายศตพล จันทร์ณรงค์ เป็นประธาน) มีการจัดทำโครงการคอร์ส Cloud Kitchen ซึ่งเป็นการร่วมมือกับ Grab และได้มีการแถลงข่าวเปิดโครงการ Cloud Kitchen ซึ่งขณะนี้โครงการ Cloud Kitchen ได้ขึ้นระบบการเรียนรู้ผ่าน Facebook ของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce เรียบร้อยแล้ว และการทำความร่วมมือร่วมกับผู้แทน Alibaba เพื่อเปิดคอรส์สอนขายสินค้าเกษตร มุ่งเน้นเรื่องการฝึกอบรมเกี่ยวกับการนำสินค้าเกษตรขึ้นบน Platform ของ Alibaba โดยแนวทางการทำงานร่วมกับ Alibaba จะเป็นการอบรมออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม Zoom เป็นการสอนในเรื่องของการนำสินค้าเกษตรขึ้นบน Platform ของ Alibaba โดยมีกลุ่มเป้าหมายรุ่นใหม่ที่มีความรู้พื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ต และ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร AgriBusiness (โดยมี นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ เป็นประธาน) ได้จัดทำมาตรการบรรเทาผลกระทบการระบาดของโควิด 19 เป็น 2 มาตรการ ประกอบด้วย มาตรการเร่งด่วน ได้แก่ 1) รวบรวมข้อมูลสินค้าเกษตรที่มีปัญหา 2) ใช้ช่องทางการตลาดออนไลน์ หรือ Platform หน่วยงานราชการ 3) รับ Pre-Order สินค้าเกษตร 4) การกระจายสินค้าเกษตรผ่านสหกรณ์การเกษตร 5) การเชื่อมโยงเกษตรกรสู่ Platform ของ StartUP ด้านการตลาดมาตรการระยะกลางและระยะยาว ได้แก่ 1) การแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น สินค้าประเภทอาหาร สินค้าประเภทของใช้ 2) ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยเสนอโครงการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงเกษตร โดยได้ลงพื้นที่สำรวจสินค้าเกษตร จ.จันทบุรี หารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด และบริษัทเอกชนในพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด และราคาตกต่ำ ตลอดกระจายผลไม้ช่วยเกษตรกร โดยการจัดทำ “โครงการเราทำได้ We can do it” เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนมังคุด จ.จันทบุรี ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจทัล (ดีป้า) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพิ่มช่องทางลงทุนภาคเกษตรด้วยคราวด์ฟันดิ้งก์ (crowd funding) เพื่อให้ ผู้ประกอบการระดมทุนจากผู้ลงทุนในจำนวนเงินคนละเล็กคนละน้อย ผ่านตัวกลาง “Funding Portal” เพื่อนำเงินมาใช้ตามวัตถุประสงค์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย Young Smart armer, Start up และ SMEs

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ