กรุงเทพฯ--4 มิ.ย.--กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายแบนสารเคมีการเกษตร พร้อมด้วยคณะทำงาน และนางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร โดยมีนายวีระศักดิ์ ศรีโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดชัยนาท ให้การต้อนรับ ณ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยภายหลังการมอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติการแบนสารเคมีการเกษตร ให้กับหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร ว่าตามนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยในการนี้ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศให้คลอไพริฟอส และพาราควอต เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งห้ามมิให้ผลิต การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือการมีไว้ในครอบครอง โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 จึงขอให้เกษตรกร ผู้ค้าผู้จัดจำหน่าย ส่งคืนสารดังกล่าว ในส่วนไกลโพเซต ให้มีการจำกัดการใช้ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร เป็นผู้ดูแลและรวบรวมดำเนินการต่อไป
ด้านนางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดี กรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามที่ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย(ฉบับที่ 6) ผศ. 2563 โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้ออกประกาศไว้ ให้วัตถุอันตราย พาราควอต และ คลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 กรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสำคัญตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการ พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส เมื่อประกาศเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (วอ.4) ใบทะเบียน ใบอนุญาตผลิตและใบอนุญาตครอบครองซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จะสิ้นสุดทันที ดังนั้น ผู้ที่มีพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส ไว้ในครอบครองก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2563 ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของกรมวิชาการเกษตร ดังนี้
เกษตร ส่งคืนให้ร้านที่ซื้อมาภายใน 90 วัน (ไม่เกิน วันที่ 29 สิงหาคม 2563)ร้านค้าจัดจำหน่าย ส่งคืนผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า และแจ้งปริมาณต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ภายใน120 วัน (ไม่เกิน วันที่ 28 กันยายน 2563)ผู้ผลิตและผู้นำเข้า แจ้งปริมาณต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรเพื่อรวบรวมแจ้งปริมาณวัตถุอันตรายตามแบบ วอ./วก.5 ภายใน 270 วัน(ไม่เกิน วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564)
จากนั้นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการได้กำหนดวัน วิธี และสถานที่ในการทำลายโดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทำลาย นอกจากนี้ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการ เกี่ยวกับการจัดการสารคลอร์ไพริฟอส และพาราควอต ของผู้ครอบครองตามประกาศกระทรวงอุตสหกรม ให้ปฏิบัติป็นไปตามประกาศอย่างเคร่งครัด เนื่องจาก ผู้ที่ฝ่าฝืนให้ระวังโทษ จำคุกไม่กิน 10 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมทั้งได้ดำเนินการสร้างการรับรู้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ฏิบัติงานเกษตรกรผู้ใช้ ผู้รับจ้างพ่น ผู้ขาย ผู้นำเข้าผู้ส่งออก ผ่านช่องทางการรับรู้ต่างๆได้แก่ หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ เว็บไซด์ของกรมวิชการเกษตร การประชุมร่วมกับหน่วยงานจังหวัดและพื้นที่ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาการกษตร (ศพก) และผ่านทางสารวัตรเกษตรอาสา เป็นตัน
ในการนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติสำหรับสารคมีเกษตรที่กำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 และวัตถุอันตรายที่จำกัดการใช้แก่สารวัตรกษตรและเจ้าหน้าที่ที่กี่ยวข้องในเครือข่ายของ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร ซึ่งในส่วน สวพ.5 มีพื้นที่รับผิดชอบอยู่ในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก ครอบคลุม 19 จังหวัด มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการควบคุมตาพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย7 หน่วยงาน กับอีก 1 กลุ่มงาน มีบุคลากรที่เป็นสารวัตรเกษตร 16 คน เป็นผู้ช่วยสารวัตรเกษตร 28 คน ข้อมูลความก้าวหน้าของสารเคมีดังกล่าว ในเดือน พ.ค. ในเขตที่ 5 มีจำนวน 3,158 ร้าน (ทั่วประเทศ 16,005 ร้าน)
ร้านจำหน่ายสารเคมี 3 สารในพื้นที่ 19 จังหวัด
มีปริมาณพาราควอต 700.43 ตัน (8,562.64 ตันจากทั่วประเทศ )
มีปริมาณคลอไพริฟอส 103.73 ตัน (697.08 ตันจากทั่วประเทศ )
มีปริมาณไกลโฟเชต 528.42 ตัน (9,019.10 ตันจากทั่วประเทศ )