กรุงเทพฯ--15 มิ.ย.--สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีติเห็นชอบกรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้จัดทำแผนงานและโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านมิติวัฒนธรรม เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีรายได้ สร้างงาน สร้างอาชีพทั้งในท้องถิ่นและชุมชน วงเงินประมาณ ๗ พันล้านบาท โดยแผนงานและโครงการที่จัดทำขึ้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์กับแผนงานหรือโครงการที่ ๓ เพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย ๒ ลักษณะ ได้แก่ โครงการภายใต้แผนงาน ๓.๑ แผนงานหรือโครงการลงทุนและกิจกรรมการพัฒนาที่สามารถพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพ และยกระดับการค้า การผลิต และการบริการ ในสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยครอบคลุมภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การค้า และการลงทุน ท่องเที่ยวและบริการ มีจำนวน ๙ โครงการ ได้แก่
โครงการเปิดพื้นที่อุทยานวัฒนธรรม ส่งเสริมมรดกภูมิปัญญาเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ไทยในเวทีโลกโครงการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไทยโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมโครงการพัฒนาอัตลักษณ์เมืองวัฒนธรรมต้นแบบเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนโครงการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product Of Thailand: CPOT) สู่สากลโครงการมาตรฐาน “สำรับไทย” จากภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่ครัวโลกโครงการรณรงค์ส่งเสริมความภูมิใจในความเป็นไทยและพัฒนาทักษะวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)โครงการมหกรรมผ้าไหม ไหมไทยสู่เส้นทางโลก : Humanity United As One Theme และโครงการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนด้วย "บวรวัฒนธรรม Model” ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมจะดำเนินการเสนอโครงการดังกล่าวไปที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เพื่อพิจารณาเห็นชอบต่อไป
นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดทำโครงการภายใต้แผนงาน ๓.๒ แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน ผ่านการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ โดยการส่งเสริมตลาดสำหรับผลิต และผลิตภัณฑ์ของธุรกิจชุมชนที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว หรือภาคบริการอื่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน การจัดหาปัจจัยการผลิตและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้งการสร้างการเข้าถึงช่องทางการตลาดพร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานคุณภาพ และมูลค่าเพิ่มของสินค้า และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชน โดยมีกรอบการดำเนินงาน ๖ ด้าน เพื่อให้หน่วยงานในส่วนภูมิภาคของกระทรวงวัฒนธรรม จัดทำโครงการภายใต้กรอบแผนงาน ได้แก่
แผนงานพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแผนงานส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยมิติทางวัฒนธรรมแผนงานพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมแผนงานส่งเสริมเทศกาล ประเพณีและกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแผนงานส่งเสริมความภูมิใจในความเป็นไทยและพัฒนาทักษะวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) และแผนงานส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ โครงการภายใต้กรอบแผนงานดังกล่าวต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดบูรณาการ (ก.บ.จ.) และความเห็นชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด ส่งไปที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
“กระทรวงวัฒนธรรม ได้ใช้มิติวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ให้เกิดการเพิ่มศักยภาพการค้า การผลิต และการบริการในสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นและชุมชน เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยให้กลับมาดังเดิม” รมว.วธ. กล่าว