กรุงเทพฯ--1 ก.ค.--คาร์ลบายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
หัวเว่ย ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีชั้นนำระดับโลก ขึ้นครองอันดับที่ 6 จากการจัดอันดับ 50 รายชื่อสุดยอดบริษัทแห่งนวัตกรรมโลกประจำปี 2020 จากผลสำรวจล่าสุดโดย Boston Consulting Group (BCG) ซึ่งหัวเว่ยไต่อันดับสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 42 อันดับ ถือเป็นอันดับสูงสุดนับตั้งอยู่ในรายชื่อเมื่อปี 2012
รายงานของ Boston Consulting Group ระบุว่ารายชื่อบริษัทที่ติด 6 อันดับแรกของปีนี้ได้แก่ แอปเปิล, อัลฟาเบต อิงก์, แอมะซอน, ไมโครซอฟท์ และหัวเว่ย ตามมาด้วยอาลีบาบา, ไอบีเอ็ม, โซนี่ และเฟซบุ๊ก
การจัดอันดับดังกล่าวอ้างอิงจากการสำรวจความเห็นจากผู้บริหารในภาคธุรกิจนวัตกรรมกว่า 2,500 คนบวกกับการประเมินผลประกอบการของบริษัท โดยได้สำรวจใน 4 มิติด้วยกัน ได้แก่ ความรับรู้ในระดับโลก (Global “Mindshare”), การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industry Disruption), มุมมองจากเพื่อนร่วมแวดวงอุตสาหกรรม (Industry Peer View) และการสร้างมูลค่า (Value Creation) ซึ่งในปีนี้ทาง Boston Consulting Group ก็ได้เพิ่มอีกหนึ่งมิติใหม่ที่ใช้ในการประเมิน ซึ่งจับประเด็นด้านความหลากหลายและความจริงจังในการการทลายขีดจำกัดของแต่ละบริษัท โดยจะประเมินความสามารถของบริษัทในการฝ่าฟันอุปสรรคของการเข้าสู่อุตสาหกรรมที่มีอยู่ก่อนแล้ว และเข้ามามีบทบาทในสนามที่อยู่นอกเหนือจากตลาดเดิมของตนเอง
ในฐานะผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของโลก หัวเว่ยได้ใช้สัดส่วนมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์จากรายได้ทั้งปีของบริษัท ในการลงทุนกับฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D) อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2019 ที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ยคิดเป็นมูลค่ารวมถึง 131,659 ล้านหยวน ซึ่งคิดเป็น 15.3 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด
ในด้านเทคโนโลยี 5G หัวเว่ยได้ลงทุนกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งทำให้หัวเว่ยขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยีสำหรับยุคถัดไป โดยทางบริษัทได้ก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมความร่วมมือด้านเทคโนโลยี 5G พร้อมกับผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลก เพื่อส่งเสริมการนำแอปพลิเคชัน 5G ไปใช้ในเชิงพาณิชย์และส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ
จากรายงานประจำปี หัวเว่ยได้ปรับเปลี่ยนจากโมเดลนวัตกรรม 1.0 สู่โมเดลนวัตกรรม 2.0 ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในทฤษฎีขั้นพื้นฐานรวมทั้งยังเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานรูปแบบใหม่ ซึ่งขับเคลื่อนโดยวิสัยทัศน์ร่วมกันแห่งอนาคต
ทั้งนี้ ในด้านการต่อสู้กับสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ หัวเว่ยได้ยกระดับความมุ่งมั่นในการสร้างนวัตกรรมใหม่และได้เปิดตัวโครงการสำหรับพาร์ทเนอร์ในการต้านโควิด-19 (Anti-COVID-19 Partner Program) ที่เน้นเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) , ออฟฟิศทางไกล (Remote Office) , การสาธารณสุขอัจฉริยะ (Smart Healthcare) และการศึกษาออนไลน์ (Online Education) เพื่อส่งเสริมการรับมือกับโรคระบาดนี้ ดังจะเห็นได้จาก การวินิจฉัยโรคโดยอาศัยเทคโนโลยีผู้ช่วย AI ที่สามารถวิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เชิงปริมาณเพื่อรายงานผลตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ได้ในหลักวินาที ที่สามารถช่วยบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นด่านหน้าในการตรวจคัดกรองโควิด-19 ได้อีกด้วย
“เมื่อเราเริ่มการวิจัยสำหรับรายงานสุดยอดบริษัทแห่งนวัตกรรมโลกลำดับที่ 14 โดย Boston Consulting Group (BCG) การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่ได้เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเราได้สำรวจข้อมูลกับลูกค้า ก็เป็นที่แน่ชัดว่าผลการวิจัยหลักของปีนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อได้เปรียบด้านปริมาณและข้อบังคับสำหรับนวัตกรรมที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งมีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มผู้นำด้านนวัตกรรมจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับอุปสงค์, อุปทาน, พฤติกรรมผู้บริโภค และวิธีการดำเนินธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบอย่างรวดเร็ว” ผู้เขียนรายงาน BCG ดังกล่าวระบุ