สสว.จับมือพันธมิตร ปั้นเอสเอ็มอีเจาะส่งออกตลาดซีแอลเอ็มวี

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 5, 2020 14:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ส.ค.--มาดี มาร์เกตติ้ง สสว. จับมือ ธสน. และหน่วยงานพันธมิตร จัดโครงการ “เชื่อมผู้ผลิต เชื่อมผู้ส่งออก และผู้ซื้อในต่างประเทศ” หวังปั้นเอสเอ็มอี เจาะตลาดส่งออกสู่ประเทศซีแอลเอ็มวี (CLMV) เน้น 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง หวังยกระดับศักยภาพเอสเอ็มอี และเพิ่มรายได้เข้าประเทศ นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดเผยว่า ปัญหาหลักที่สำคัญประการหนึ่งของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีปัจจุบัน คือ การขาดตลาดเพื่อระบายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ จะเป็นช่องทางสำคัญในการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคจำนวนมาก และยังเป็นการยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไปสู่มาตรฐานสากล ทำให้เติบโตไปเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ในอนาคต อย่างไรก็ตาม การที่จะพัฒนาเอสเอ็มอีไปสู่ตลาดต่างประเทศได้ จะต้องยกระดับมาตรฐานการผลิตให้อยู่ในระดับสากล ให้มีความรู้ในการเจาะตลาดประเทศเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง และเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศนั้นๆ ดังนั้น สสว. จึงได้ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และหน่วยงานพันธมิตร จัดทำโครงการ “เชื่อมผู้ผลิต เชื่อมผู้ส่งออก และผู้ซื้อในต่างประเทศ” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย และสร้างแรงขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยโครงการดังกล่าว จะมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ด้านการส่งออกให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตของผู้ส่งออก ตั้งแต่การสร้างทักษะและองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการส่งออกแบบรอบด้าน สร้างเครือข่ายธุรกิจและหาโอกาสทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการไทย ผ่านกิจกรรมการเจรจาจับคู่ธุรกิจ ให้ผู้ส่งออกสามารถส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ของตนเพิ่มมากขึ้นและเพิ่มสัดส่วนการค้าของผู้ประกอบการไทยกับผู้นำเข้าสินค้าโดยมุ่งเน้นในตลาดกลุ่มประเทศ ซีแอลเอ็มวี (CLMV) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม รวมทั้งยังช่วยกระตุ้นการส่งออก โดยหาลู่ทางขยายการส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพ สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จะต้องเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจภายในประเทศและวางแผนที่จะส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศและมีศักยภาพในการส่งออก หรือผู้ประกอบการที่สนใจจะส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ และมีความพร้อมแต่ยังไม่มีประสบการณ์ หรือผู้เริ่มต้นทำธุรกิจส่งออก โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายจะอยู่ใน 1. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และรวมถึงสิ่งปรุงรส ผลไม้กระป๋อง และสินค้าแปรรูป 2. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และ 3.อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การคัดเลือกเอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย 1. เป็นนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจส่งออกในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2. ต้องการขยายตลาดส่งออกในตลาดต่างประเทศ 3. มีสินค้าที่ได้มาตรฐานสำหรับการส่งออก ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับความรู้เรื่องกระบวนการส่งออกสินค้า การบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ และสิทธิ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก กับผู้ซื้อหรือตัวแทนจำหน่ายจากต่างประเทศ รวมถึงการเข้าร่วมในช่องทางในการสื่อสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าของผู้ประกอบการไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ เช่น การจัดงานแสดงสินค้าในประเทศเป้าหมาย เป็นต้น นายวีระพงศ์ กล่าวเสริมว่า “โครงการนี้ถือเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างพันธมิตร ที่จะส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทย ผ่านการอำนวยความสะดวกด้านการส่งออก การรับบริการข้อมูลด้านการวิจัยพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การบริการทางการเงินและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0” ทั้งนี้ สสว. ได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรหลัก ได้แก่ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และหน่วยงานพันธมิตรเสริม ได้แก่ สถาบันอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และหน่วยงานองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) จัดงาน “เปิดโลกการค้า เจรจาธุรกิจ พิชิตตลาดส่งออก” ในวันที่ 7 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30-17.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูมชั้น 7 โรงแรม Sofitel Bangkok Sukhumvit กรุงเทพฯ โดยภายในงานประกอบด้วยการจับคู่ทางธุรกิจผ่านแอพพลิเคชั่นซูม (Zoom) หรือ Private Online B-2-B- Business Matching Event through Zoom ระหว่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง จำนวน 50 บริษัท กับผู้ซื้อจากกลุ่มประเทศ CLMV จำนวน 26 บริษัท ในกลุ่ม ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trades) บริษัทที่ทำธุรกิจนำเข้าส่งออกสินค้าโดยไม่ได้มีฐานการผลิตสินค้าในประเทศตนเอง (Trading Firms) ตัวแทนจำหน่าย (Distributors) ผู้นำเข้า (Importers)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ