กรุงเทพฯ--6 ส.ค.--เอไอเอส
เอไอเอส ร่วมชื่นชมความสำเร็จโครงการวิจัย 5G ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในงาน CU 5G For Real พร้อมยืนยันร่วมเป็นพันธมิตรต่อเนื่อง หลังจากร่วมทดลอง ทดสอบ และสนับสนุน Digital Infrastructure ให้แก่ Use Case ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประโยชน์แก่สังคม ช่วยรับมือโควิดได้อย่างดีในช่วงที่ผ่านมา
นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวในโอกาสการแสดงผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ของคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ร่วมกับผู้ผลิตและผู้ให้บริการสื่อสาร ว่า “AIS รู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่ได้มีส่วนสนับสนุนภาครัฐ และภาคการศึกษา เปิดพื้นที่เพื่อพัฒนาความพร้อมให้แก่นิสิต นักศึกษา นักพัฒนา รวมถึง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแวดวงของเทคโนโลยี Digital ของไทย ได้มีโอกาสลงมือทดลอง ทดสอบ เพื่อพัฒนาไอเดียด้วยเทคโนโลยีล่าสุด อย่าง 5G และเทคโนโลยีอื่นๆ อาทิ AI, IoT ฯลฯ ซึ่งตลอดช่วงระยะเวลาของการร่วมเป็นพันธมิตรกันนั้น สามารถเรียนรู้ และนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปสร้างสรรค์ และพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังเช่น การเปิดตัว 5G อย่างเป็นทางการในประเทศไทยได้สมตามเจตนารมณ์ของภาครัฐ”
โดย AIS และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนาและทดลองทดสอบเทคโนโลยี 5G ภายใต้การสนับสนุนของ กสทช. ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา เพื่อร่วมมือกันใน 3 ด้าน ประกอบด้วย
ทดลองทดสอบร่วมกันทางเทคนิค เพื่อทำความรู้จัก เข้าใจทุกแง่มุมของเทคโนโลยี 5G ไปด้วยกันในฐานะนักวิจัย และผู้ให้บริการเครือข่ายเปิดพื้นที่เพื่อให้นักวิจัยและนิสิต ได้ลงมือศึกษาบนเครือข่าย 5G จริง ผ่าน “ศูนย์ 5G AI/IoT Innovation Center” ภายใต้การสนับสนุนจาก กสทช. ที่เปิดให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ 5G แห่งแรกในเมืองไทย ทั้งนี้ เอไอเอส ยังมีความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งศูนย์ทดสอบ 5G LIVE ในชื่อ “ 5G Garage Innovation LAB”เอไอเอสและคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันพัฒนา Use case ต่างๆ ในทุกอุตสาหกรรม รวมถึงให้การสนับสนุนระบบสื่อสาร หรือ Digital Infrastructure สำหรับ Use case ในภาคสาธารณสุข ที่ได้มีโอกาสนำไปใช้งานจริงแล้วและประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา
โดยความร่วมมือที่ผ่านมา ประกอบด้วยร่วมนำเสนอเทคโนโลยี 5G และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ใน “ศูนย์ 5G AI/IoT Innovation Center” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเตรียมเปิด “ศูนย์ 5G Garage Innovation LAB” ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง AIS และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนจาก กสทช. ณ อาคารวิศวฯ 100 ปี เพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ 5G แห่งแรกในเมืองไทย ที่ให้ได้ลงมือพัฒนาจริง ภายใต้เครือข่าย 5G LIVE ซึ่งนิสิต นักศึกษา คณาจารย์ รวมถึงนักพัฒนา ใน 5G Ecosystem สามารถเข้ามาใช้ 5G Garage Innovation LAB เป็นพื้นที่ศึกษา เรียนรู้ ทดลอง ทดสอบ นวัตกรรม 5G ได้ในทุกแง่มุม เพราะจะประกอบไปด้วยข้อมูลเทคโนโลยีเกี่ยวกับ 5G ที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานแบบครบวงจร ตั้งแต่ รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานของเทคโนโลยี 5G, อุปกรณ์โครงข่าย, อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณ ตลอดจนตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน หรือ Use case ที่มาจากความร่วมมือของผู้ผลิตอุปกรณ์ระดับโลก พร้อมทั้งการสัมมนา workshop เพื่อพัฒนาความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิค รวมไปถึงร่วม Co-Develop บริการต้นแบบบน 5G เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนทุกระดับในประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง โดยคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจาก
เอไอเอส และ พาร์ทเนอร์ในแวดวงโทรคมนาคมทั้งในและต่างประเทศร่วมกับนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมนำนวัตกรรม IoT, AI, Robotic และ 5G เข้ามาประยุกต์ใช้ในเขตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพื้นที่โดยรอบ เพื่อให้เป็นเสมือนศูนย์กลางเทคโนโลยี Digital ที่ทันสมัย และสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดในประเทศ โดยรูปแบบของ Use case ที่อยู่ระหว่างการเตรียมพัฒนา เช่น Robot Mini Cargo, Smart Pole, Robot Physical therapy ฯลฯ โดยเมื่อเดือนเมษายน 2562 ได้เปิดตัวรถยนต์ไร้คนขับคันแรกของไทยที่เชื่อมต่อบนเครือข่าย LIVE Network 5G (1st 5G Connected Car) ที่เกิดจากการศึกษาและทดลองร่วมกันระหว่าง SMART MOBILITY RESEARCH CENTER จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเอไอเอส ที่ทำให้รถยนต์สามารถเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้คนขับ ผ่านการใช้งานเครือข่าย 5G ของเอไอเอสสนับสนุนระบบสื่อสารและ Digital Infrastructure ให้ Use case ของคณาจารย์ นักวิจัย ในวงการสาธารณสุข อาทิ การทดสอบหุ่นยนต์ต้นแบบในการรักษาทางการแพทย์เพื่อผ่าตัดเจาะกระดูก หรือ Teleoperation drilling robot ที่ใช้การควบคุมระยะไกล (remote) ซึ่งในระหว่างกระบวนการเจาะกระดูกคนไข้เพื่อรักษานั้น แพทย์จะสามารถรับรู้ได้ถึงทุกสัมผัสในทุกขั้นตอนการเจาะผ่าน remote ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้เครือข่ายที่ตอบโต้ได้อย่างรวดเร็วมากๆ หรือ Latency ต่ำอย่าง 5G รวมถึงเทคโนโลยี Robotic ที่ได้เข้าไปสนับสนุนระบบสื่อสาร (ซิมการ์ด) ให้กับภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์ Regional Center of Robotics Technology จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้พัฒนาหุ่นยนต์คุณหมอ และหุ่นยนต์นินจา,
ทีม CU-RoboCovid คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้พัฒนาหุ่นยนต์ปิ่นโตและหุ่นยนต์กระจก เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงระหว่างวิกฤติโควิดที่ผ่านมา
“โดยเอไอเอสยังคงยืนยันที่จะทำงานร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเพื่อคนไทยตลอดไป” นายวีรวัฒน์ กล่าวย้ำในตอนท้าย