วว. ได้รับรางวัล Bronze Award จากการประกวดผลงานนิทรรศการ Thailand Research Expo Award 2020

ข่าวทั่วไป Monday August 10, 2020 08:51 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 ส.ค.--สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มอบรางวัล Bronze Award ถ้วยรางวัลจากปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นการพิจารณาคัดเลือกผลงานที่มีกระบวนการนำเสนอที่มีความโดดเด่นในรูปแบบที่หลากหลายและสามารถเชื่อมโยงส่งต่องานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ให้แก่ นางสาวยุพิน พุ่มไม้ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ สำนักสื่อสารองค์กร ในฐานะผู้แทนสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากการประกวดผลงานนิทรรศการ Thailand Research Expo Award 2020 เนื่องในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2563 ซึ่ง วว. นำเสนอผลงานโครงการนวัตอัตลักษณ์…ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมไทย คืนกำไรสู่สังคม เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการจาก 170 หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บางกอกคอนเวนชัน เซ็นทรัลเวิลด์ “โครงการนวัตอัตลักษณ์…ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมไทย คืนกำไรสู่สังคม” ซึ่ง วว. นำเสนอผ่านการจัดนิทรรศการในกิจกรรมดังกล่าวตลอด 5 วันของการจัดงาน (2-6 สิงหาคม 2563) ณ บูธ EL 4 โซนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน BCG Model วว. มุ่งส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือแบบเพื่อนช่วยเพื่อนในชุมชน มีการแบ่งปันอุปกรณ์ แบ่งปันความรู้ โดยประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาดั่งเดิมที่ชุมชนมี แล้วนำมาผสมผสานกับภูมิปัญญาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ที่ วว. ได้สั่งสมองค์ความรู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยมุ่งดำเนินงานเพื่อสร้าง “นวัตอัตลักษณ์” หรือความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ในแต่ละชุมชน เพื่อนำไปสู่การค้าการขาย การสร้างอาชีพสร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน ภายใต้แนวคิดดำเนินงาน “แชร์ ใช้ ทุกคนได้ประโยชน์” โดยมุ่งดำเนินงานร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน รวมทั้งประชาสังคมในชุมชนที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบ 4 ประสาน (Quadruple Helix) เพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนของชุมชน เพิ่มรายได้ ยกระดับชุมชน ด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ขับเคลื่อนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ให้มีช่องทางเข้าถึง วทน. ที่สามารถตอบโจทย์ผู้ประกอบการเชิงพื้นที่ได้อย่างชัดเจน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดและค้าขายได้จริง ซึ่งเป็นการพัฒนางาน วทน. อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม นอกจากนี้การดำเนินงานของโครงการยังมุ่งสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและชุมชนในระดับฐานราก โดย วว. มุ่งเน้นแนวคิดการแปรรูปผลิตผลจากทรัพยากรท้องถิ่นให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเอกลักษณ์เป็นของตนเองที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมในท้องถิ่น โดยนำนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เข้าไปมีส่วนสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ดังนี้ ส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีพร้อมใช้อย่างทั่วถึง พัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน ความสามารถการผลิตสินค้าโอทอป บูรณาการหลายหน่วยงานดำเนินงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนา เทคโนโลยีมุ่งเป้าเพื่อแก้ไขปัญหารายพื้นที่ รายผลิตภัณฑ์พัฒนาและยกระดับด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้า ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้การรับรองมาตรฐาน (Product Certification) สร้างความแตกต่าง ยกระดับผลิตภัณฑ์ ด้วยการให้บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพและมาตรฐานสินค้า สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคพัฒนาด้านบริหารจัดการโดยช่วยเชื่อมโยงเครือข่ายให้เกิดการรวมกลุ่มร่วมผลิต ร่วมจำหน่ายสินค้า เชื่อมต่อการเข้าแหล่งทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา ช่องทางการตลาดเพื่อขยายโอกาสทางการตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ผ่านเครือข่ายช่องทางการตลาดใหม่ๆ เช่น การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) และ e-Market โครงการนวัตอัตลักษณ์ฯ ผ่านการดำเนินงานโดย 2 โครงการหลัก ได้แก่ 1.โครงการ Thai Cosmetopoeia หรือ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมไทยด้วยการสร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสำอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่นไทย วว. ขับเคลื่อนร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชน มากกว่า 30 หน่วยงาน มุ่งเน้นการคืนกำไรสู่สังคมอย่างยั่งยืน นำทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ ผู้ใช้ประโยชน์จะต้องคืนหรือชดเชยให้กับทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมที่ใช้ไป เพื่อให้เป็นต้นทุนและสร้างสมดุลอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต สร้างอาชีพ และรายได้ให้ท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อส่งเสริมทรัพยากรชีวภาพของแต่ละท้องถิ่นที่มีความเป็นอัตลักษณ์ หรือ เอกลักษณ์ที่โดดเด่น นำมาพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ “นวัตอัตลักษณ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของไทย” ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบท้องถิ่นให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นที่รู้จักในระดับชาติและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดความยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมนโยบาย BCG ให้เกิดการขยายตัวอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน 2.โครงการครัวชุมชนในพื้นที่ หรือ ศูนย์ต้นแบบ Shared production services เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ตั้งในพื้นที่ภูมิภาค (Area-based) โดยมีเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับใช้ในกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และมีการเชื่อมโยงกิจกรรมกับหน่วยงานต่างๆในระดับพื้นที่ เช่น จังหวัด องค์กร สมาคม สถาบันการศึกษาในพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนี้โครงการครัวชุมชน ยังอาศัยการดำเนินงานร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน รวมทั้งประชาสังคมในชุมชนที่เกี่ยวข้องในรูปแบบ 4 ประสาน (Quadruple Helix) เพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนของชุมชน สังคมชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน พื้นที่ดำเนินโครงการนวัตอัตลักษณ์ วว. ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ 15 จังหวัดกระจายทั่วประเทศ ดังนี้ กระบี่ : ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากน้ำแร่ธรรมชาติ (น้ำแร่)เพชรบูรณ์ : ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฟังก์ชั่นจากสารสกัดเมล็ดมะขาม (มะขาม) : ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสารสกัดเมล็ดมะขาม (มะขาม) : ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากอะโวคาโด (อะโวคาโด)สมุทรสงคราม : เทคโนโลยีการผลิตแผ่นมาส์กหน้า Biocellulose (มะพร้าว)น่าน : เทคโนโลยีและชุดการสกัดใบหมี่ (ใบหมี่) : ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิวจากน้ำมันเมล็ดมะไฟจีน (มะฟจีน)แพร่ : ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับตกแต่งจากห้อม (ห้อม)อุตรดิตถ์ : ผลิตภัณฑ์น้ำมะม่วงหิมพานต์เข้มข้น (มะม่วงหิมพานต์)ปทุมธานี : ปุ๋ยเสริมซีรีเนียมปราจีนบุรี ; ผลิตภัณฑ์มะพร้าวแปรรูป (มะพร้าว)อุดรธานี : ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองกล้วยและนมถั่วเหลืองมะม่วง (ถั่วเหลือง กล้วย มะม่วง) : ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากบัวแดง (บัวแดง)แม่ฮ่องสอน : ผลิตภัณฑ์สมานแผลจากสารสกัดบัวตอง (บัวตอง)เชียงใหม่ : ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวกระจ่างใสจากใบชาเมี่ยง (ใบชาเมี่ยง)ลำพูน : ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิวจากน้ำผึ้งดอกลำไย (น้ำผึ้ง)กำแพงเพชร : ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวจากกล้วยไข่ (กล้วยไข่)ร้อยเอ็ด : ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและผมจากสารสกัดข้าว (ข้าว)น่าน : ครัวชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปเห็ดเกษตรอินทรีย์ (เห็ดสวรรค์สมุนไพร)สงขลา : ครัวชุมชนแปรรูปมังคุด (น้ำมังคุดพร้อมดื่ม) ผลิตภัณฑ์จากโครงการ Thai Cosmetopoeia ที่สำเร็จเป็นรูปธรรมมี 4 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 1.ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากน้ำแร่ธรรมชาติ จ.กระบี่ : SALINE HOT SPRING WATER มีผลดีต่อผิวในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระต้านเชื้อแบคทีเรีย ให้ความชุ่มชื้นต่อผิวสมานแผลได้ดีกว่าสารสกัดจากว่านหางจระเข้ช่วยให้ริ้วรอยลดลง สีผิวเรียบเนียนขึ้น 2.ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าจากสารสกัดอะโวคาโด จ.เพชรบูรณ์ : AVOCADO มีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสระ ชะลอริ้วรอยต้านการเกิดเม็ดสีผิว 3.เครื่องสำอางจากสารสกัดเมล็ดมะขาม จ.เพชรบูรณ์ : LALLUVIA มีสรรพคุณเพื่อความกระจ่างใสบำรุงผิวหน้า 4.ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฟังก์ชั่นจากมะขามหวาน จ.เพชรบูรณ์ : Nature Bright มีฤทธิ์ทางชีวภาพ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในเซลล์กระตุ้นการทำงานของไมโทคอนเดรีย ต้านการอักเสบ ต้านการเกิดเม็ดสีผิว จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานของ วว. ในโครงการนวัตอัตลักษณ์นั้น มีรูปแบบที่ชัดเจน สามารถตอบโจทย์ทั้งในระดับนโยบายและตอบโจทย์ในระดับการให้บริการคำแนะนำที่ปรึกษาแก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ รวมทั้งการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ช่วยแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด เพิ่มมูลค่าผลผลิตและสินค้า ช่วยสร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเข้มแข็งและความมั่นคงยั่งยืน ด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ