“ดำรงธรรมกรมที่ดิน นำสุข คลายทุกข์ เรื่องที่ดิน”

ข่าวทั่วไป Monday August 31, 2020 09:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--กรมที่ดิน ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ให้หน่วยงานของรัฐสนับสนุนการดำเนินการของศูนย์ดำรงธรรมให้สามารถบริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมที่ดินเล็งเห็นความสำคัญในการให้บริการประชาชนและตอบสนองตามนโยบายของรัฐบาล จึงได้จัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมกรมที่ดินขึ้น เมื่อ 6 ธันวาคม 2559 เพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชน ในการรับฟังความคิดเห็น ให้บริการข้อมูล รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ และแก้ไขปัญหาความต้องการและความเดือดร้อนด้านที่ดินของประชาชน งานเรื่องที่ดิน เป็นงานที่มีความสลับซับซ้อน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ มีพี่น้องประชาชนต้องการคำปรึกษาจำนวนมาก กรมที่ดินให้ความสำคัญกับการดำเนินการของศูนย์ดำรงธรรม จึงได้ปรับปรุงงานด้านการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ เพื่อลดและขจัดปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชนเกี่ยวกับที่ดินให้มีความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาระบบการบริหารจัดการและเพิ่มช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์และรับการติดต่อจากพี่น้องประชาชนให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวกสบาย ลดค่าใช้จ่าย และตอบสนองกับวีถีชีวิตของประชาชนในปัจจุบันครับ นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2563) มีจำนวนเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ขอข้อมูล ขอรับคำปรึกษาด้านกฎหมายที่ดิน ขอความช่วยเหลือ ฯลฯ ผ่านทาง DOL Call Center : 0-2141-5555 และ ระบบ e-Contacts DC รวมทั้งสิ้น 37,954 เรื่อง ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 37,651 เรื่อง (คิดเป็นร้อยละ 99.20) แบ่งเป็น การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จำนวน 72 เรื่องการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน จำนวน 691 เรื่องการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 42 เรื่องการพิพาทในที่ดิน จำนวน 37 เรื่องพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ จำนวน 71 เรื่องการจัดสรรที่ดิน/อาคารชุด จำนวน 399 เรื่องการรังวัดที่ดิน จำนวน 1,951 เรื่องขอให้ปรับปรุงการให้บริการ จำนวน 67 เรื่องขอความเป็นธรรม/ร้องทุกข์ จำนวน 134 เรื่องปัญหาหนี้สินของประชาชน จำนวน 10 เรื่องขอความช่วยเหลือ จำนวน 51 เรื่องการเพิกถอนตาม ม.61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จำนวน 142 เรื่องถวายฎีกา จำนวน 24 เรื่องข้อมูลทั่วไปของสำนักงานที่ดิน (ที่ตั้ง, เบอร์โทร) จำนวน 5,325 เรื่องการเขียนหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอม จำนวน 3,010 เรื่องการค้นหารูปแปลงที่ดินในเว็บไซต์ จำนวน 354 เรื่องการเตรียมเอกสารหลักฐาน จำนวน 3,929 เรื่องขอตรวจสอบระวางที่ดิน จำนวน 56 เรื่องขั้นตอนการดำเนินการภารกิจด้านที่ดิน จำนวน 5,057 เรื่องค่าธรรมเนียมฯ มัดจำรังวัด การคัดถ่ายระวาง จำนวน 9,965 เรื่องขอปรึกษาด้านกฎหมายที่ดิน จำนวน 1,304 เรื่องติดตามเรื่องเดิม จำนวน 143 เรื่องการขอใช้ ขอถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์ จำนวน 40 เรื่องนอกเหนืออำนาจกรมที่ดิน จำนวน 1,247 เรื่องอื่น ๆ จำนวน 3,833 เรื่อง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเรื่องของงานที่ดินจะซับซ้อนเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลายฉบับ และมีจำนวนผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก แต่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดิน ก็สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างเต็มที่และเต็มกำลังความสามารถเพื่อ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้กับประชาชน นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวทิ้งท้ายว่า กรมที่ดินได้ตอบสนองตามยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ในการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen - Centric & Service - Oriented Government) และได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการทำงาน จึงพัฒนาช่องทางและกระบวนการจัดการเรื่องร้องทุกข์ให้เกิดประสิทธิภาพ เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถติดตามตรวจสอบเรื่องร้องทุกข์ของตนเองได้ตลอดเวลา สร้างความโปร่งใสในการดำเนินงาน โดยปัจจุบันประชาชนที่ต้องการร้องทุกข์ร้องเรียน ตรวจสอบการทำงาน ขอคำปรึกษาหารือเพื่อความเข้าใจในการทำนิติกรรมเรื่องที่ดิน คลายข้อข้องใจในเรื่องต่าง ๆ สามารถติดต่อใช้บริการได้หลากหลายช่องทาง ดังนี้ ติดต่อด้วยตนเองหรือทางจดหมาย ได้ที่ : ศูนย์ดำรงธรรมกรมที่ดิน ชั้น 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210ทางโทรศัพท์ DOL Call Center : 0-2141-5555 (จำนวน 10 คู่สาย ตลอด 24 ชั่วโมง)ทางระบบ E-Contacts DC ได้ที่ : https://doldamrongdhama.dol.go.th/COM1I001ทาง LINE Official Account : @teedin (มี @ ด้วย) คลิกที่นี่ : https://lin.ee/xHXz6SGทางปุ่ม “ ติดต่อเรา” บน Official Facebook Page อธิบดีกรมที่ดิน : www.facebook.com/NisitJansomwong โดยกรมที่ดิน ยังคงมุ่งมั่นเพื่อยกระดับการให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดย “ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง บริการ สะดวก รวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายของประชาชน”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ