กรุงเทพฯ--10 ก.ย.--ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาตร์ (องค์การมหาชน)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ร่วมกับ สมาคมเฮลท์เทคไทย บริษัท Healthinc และ Rise Impact จัดทำโครงการ Journey to Success 2020 by TCELS Mentoring Program เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ Startup ด้าน Life Sciences & Health Tech ให้มีโอกาสก้าวสู่ความสำเร็จในธุรกิจและเกิด Deal flow ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล
ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและนวัตกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “สิ่งที่ทีเซลส์ตั้งใจทำ คือ ต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น และสตาร์ทอัพ จะเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการ “Commercialization” คือ การนำเอางานวิจัยถ่ายทอดไปสู่การใช้ ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ มีผลทำให้อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว”
ดร.พัชราภรณ์ วงษา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หัวหน้าโครงการเปิดเผยว่า “Journey to Success ได้จัดเป็นปีที่ 2 แล้ว โดยปีนี้มีการออกแบบให้เป็นลักษณะออนไลน์ และมีกิจกรรมที่ทำให้สตาร์ทอัพแต่ละทีมได้ประโยชน์สูงสุด สร้างโอกาสในการขยายธุรกิจแบบก้าวกระโดด”
Journey to Success 2020 ได้ดำเนินการระหว่างเดือน มิ.ย. - ส.ค. ปี 2563 โดยคัดเลือก 11 ผู้ประกอบการ Startup ด้าน Life Sciences & Health Tech เข้าร่วมโครงการ ดังต่อไปนี้
บริษัท สเตปโซล จำกัด บริการออกแบบแผ่นรองเท้าส่วนบุคคลตามหลักออร์โทปิดิกส์และวิศวกรรมบริษัท อินโนเอดจ์ โกโก จำกัด บริการแพลตฟอร์มการประเมินความเจ็บปวดในผู้สูงอายุสมองเสื่อมบริษัท พานาคิวรา จำกัด บริการพยากรณ์โรคด้วยยีนส์จิโปรสไมล์ บริการออกแบบวางแผนการรักษาทันตกรรม 3 มิติบริษัท เทรคอน (เว็บไซต์) จำกัด บริการระบบช่วยองค์กรจัดการและส่งเสริมสุขภาพที่ดีของพนักงานบริษัท Expert Technology Development จำกัด บริการนวัตกรรมคัดกรองผู้ป่วยอัตโนมัติ 'Smart Easy OPD’บริษัท แอ็กนอสเฮลท์ จำกัด แอปพลิเคชันช่วยวินิจฉัยคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)บริษัท ชีวีบริรักษ์ จำกัด ผลิตภัณฑ์ Telemedicine Mobile Appบริษัท ฟินน์ โซลูชั่น จำกัด ระบบ Tele Consult ผ่าน ARบริษัท บอนด์ อาร์ดีไอ เซ็นเตอร์ จำกัด บริการแพล็ตฟอร์มเชื่อมโยงสังคมเกษตรอินทรีย์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural product) ของไทยโดยใช้เทคโนโลยี Blockchainบริษัท IQmed Innovation จำกัด บริการออกแบบ วิจัย และพัฒนาอุปกรณ์เก็บรักษาหัวใจในสภาวะเต้นอยู่เพื่อการขนส่งสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะ
กิจกรรมหลักของโครงการประกอบไปด้วย การอบรมแบบออนไลน์ (Online Learning) การให้คำปรึกษาแบบเชิงลึก (1-on-1 mentoring) และการจับคู่ธุรกิจ (Business matching)
การอบรมและให้คำปรึกษาแบบเชิงลึกเพื่อปลดล๊อคอุปสรรคมี 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ Product standard, Exit plan, Finance และ Intellectual property
Product Standard หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ได้รับเกียรติจากวิทยากรมากประสบการณ์ถึง 3 ท่าน ได้แก่ คุณธเนศ วิริยะเมธานนท์ วิศวกรชีวการแพทย์กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ด้าน Digital Transformation สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และ คุณนฤมล รัตนกรณ์พันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ บริษัท ไบโอเนียร์ เอเชีย จำกัดExit Plan ได้รับเกียรติจาก Mr.Laurens van Hoorn ผู้ก่อตั้งของบริษัท Healthinc ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการระดมทุน (Fundrising) ของธุรกิจสุขภาพชั้นนำในตลาดยุโรปที่ได้นำ EOS model หรือ 6 องค์ประกอบที่ทุกธุรกิจพึงมี ช่วยให้แต่ละทีมได้มีการวางแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีอยู่แล้วให้เป็น Exit plan ที่มีประสิทธิภาพFinance ได้รับเกียรติจาก คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ที่มาให้ความรู้ด้านการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจและการเงินของ Startup แต่ละทีมให้คุ้มค่าแก่การลงทุนและเกิดกำไรมากที่สุดIntellectual Property ได้รับเกียรติจาก คุณวีระเวช อรธนาลัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทลเล็คชวล ดีไซน์ กรุ๊ป จำกัด และทีมงานนักกลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP) มาให้ความรู้ในด้านดำเนินงานจดทะเบียน เพื่อปกป้องและพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาของแต่ละทีม
และปิดท้ายด้วยกิจกรรม Business Matching ซึ่งออกแบบให้มีการจับคู่ธุรกิจระหว่างบริษัท Startup กับ CEO มืออาชีพ ผู้ประกอบการรายใหญ่และนักลงทุน
ในระยะเวลา 2 เดือนของการดำเนินโครงการ ผลการเจรจาธุรกิจ Startup ที่เข้าร่วมมีมูลค่าที่เกิดขึ้นแล้ว 8.6 ล้านบาท โดยบริษัท Dietz สามารถเจราธุรกิจร่วมกับ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) โดยมีมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการเจรจาทางธุรกิจกว่า 40 ล้านบาท Startup ด้าน Life Sciences & Health Tech มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศษรฐกิจ และเทคโนโลยีของประเทศในปัจจุบัน จึงเป็นก้าวสำคัญของไทยที่จะช่วยผลักดันให้ Startup ผู้มีความมุ่งมั่นด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ได้เติบโตและก้าวสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน