อุตสาหกรรมดิจิทัลยุคหลังโควิด-19 กับการรับมือภาวะขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday September 15, 2020 12:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ก.ย.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ เราไม่ได้เพียงกำลังก้าวเข้าสู่โลกยุคอัจฉริยะเท่านั้น แต่โลกอัจฉริยะได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว โลกที่เรากำลังอาศัยอยู่ค่อยๆ ผันเปลี่ยนทีละน้อยสู่การใช้เทคโนโลยีและสัญญาณดิจิทัล รู้สึกตัวอีกครั้งมนุษย์เราก็ได้เชื่อมต่อและเชื่อมโยงเข้ากับเครื่องจักรกลต่างๆ อย่างแยกจากกันไม่ขาดเสียแล้ว เทคโนโลยีบิ๊กดาต้าและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น ตอบสนองไวขึ้น และมีความอัตโนมัติยิ่งขึ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นไปได้ก็เพราะการที่เรามีเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง 5G, IoT และ AI ในขณะเดียวกัน งานวิจัยของคอร์น เฟอร์รี (Korn Ferry) พบว่าภายในปี 2030 เทคโนโลยีเหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญด้านแทคโนโลยีดิจิทัลอีกราว 47 ล้านคน สอดคล้องกับผลการสำรวจซีอีโอในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 20 ของบริษัท PwC ที่เผยให้เห็นว่าซีอีโอในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากกว่าครึ่งกำลังประสบความท้าทายด้านการหาผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลที่มีความสามารถตรงตามต้องการมาร่วมงาน นายเจย์ เฉิน (Jay Chen) รองประธานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย ได้แบ่งปันประสบการณ์ที่หัวเว่ยใช้แก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านฝีมือแรงงานและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยอาศัยความร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชีย เพื่อรับมือกับอุปสรรคของการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สืบเนื่องจากการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ด้านการเรียนรู้ผ่าน Cloud หัวเว่ยมีโอกาสได้ให้ความช่วยเหลือในด้านการเชื่อมต่อและระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ให้แก่นักเรียนนักศึกษาและผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะทาง เช่น ในบังกลาเทศ หัวเว่ยได้ร่วมกับบริษัท Bijoy Digital และองค์การยูเนสโก ในการจัดหาโซลูชันดิจิทัลต่างๆ และอำนวยความสะดวกให้กับการเรียนทางไกล รวมถึงในประเทศอินโดนีเซียที่มีความร่วมมือกันระหว่าง Huawei Cloud และ U-Learning เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการการเรียนออนไลน์ การศึกษาคือหนึ่งในบริการพื้นฐานทั้ง 3 ด้านของ Huawei Cloud (ร่วมกับระบบ AI เพื่อการสาธารณสุข และระบบคลาวด์สำหรับองค์กรธุรกิจ) โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปฏิบัติงานทั่วโลกของหัวเว่ย เพื่อช่วยเหลือลูกค้าในการต่อสู้กับโควิด-19 ซึ่งหัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์หลายรายในการมอบบริการการเรียนการสอนออนไลน์ให้หลายโรงเรียนในช่วงที่เกิดการระบาดใหญ่ เพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอนยังคงดำเนินไปได้อย่างราบรื่น แพลตฟอร์ม Cloud จะสนับสนุนการศึกษาทางไกล ซึ่งครูและนักเรียนจะสามารถตอบโต้กันได้ผ่านเสียง วิดีโอ และห้องสนทนา (chat room) เครื่องมือออนไลน์จะช่วยส่งเสริมศักยภาพการพัฒนาหลักสูตร ทำให้ครูสามารถทำงานทางไกลร่วมกัน หรือแบ่งปันสื่อการสอนกันได้ นอกจากแพลตฟอร์มนี้จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเองโดยใช้ Video On Demand (VOD) ที่มีความคมชัดสูงและค่าความหน่วงต่ำแล้ว ยังจะช่วยให้สามารถเผยแพร่เนื้อหาการการเรียนสอนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จัดการสอบออนไลน์ได้ และตรวจสอบความคืบหน้าของการเรียนการสอนได้แบบเรียลไทม์ ด้านความร่วมมือในระดับภูมิภาค ในงาน Huawei Ecosystem Summit 2020 ที่จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์เป็นครั้งแรก ณ ประเทศสิงคโปร์ หัวเว่ยได้เสนอให้ขยายการร่วมงานกับกลุ่มพาร์ทเนอร์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นเพื่อยกระดับนวัตกรรมที่มีโซลูชันร่วมกัน เนื่องจากสิงคโปร์อยู่ในช่วงฟื้นฟูทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 ทางหัวเว่ยยังได้แถลงเรื่อง Virtual AI Academy ซึ่งประกอบด้วยหลักสูตรออนไลน์แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายกว่า 140 หลักสูตร ที่จะเร่งพัฒนาการฝึกฝนและการเพิ่มพูนทักษะของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีทีในสิงคโปร์ รวมถึงการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล (Digitalisation) ของธุรกิจ SME ซึ่งประเทศสิงคโปร์ได้เพิ่มความพยายามเป็นเท่าตัวเพื่อมุ่งสู่อนาคตแห่งดิจิทัล หัวเว่ยยังได้ริเริ่มหลักสูตรที่คล้ายคลึงกันในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ โดยได้เตรียมหลักสูตรไอซีทีหลายหมื่นหลักสูตรพร้อมผู้ฝึกสอนที่มีทักษะหลายร้อยคน เพื่อส่งเสริมอีโคซิสเต็มระดับชาติของผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล หลักสูตรของหัวเว่ยดังกล่าวประกอบด้วยมาตรฐานการรับรองความสามารถด้านไอซีทีที่ได้รับการออกแบบในระดับแนวหน้า และโครงการความร่วมมือ Huawei ICT Academy สำหรับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในระดับโลก ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้มีการจัดการแข่งขันด้าน ICT และมหกรรมจัดหางาน (Job Fair) สำหรับนักศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะให้เป็นที่ยอมรับ และมอบโอกาสการทำงานในสาขาที่พวกเขาสามารถเลือกได้เองอีกด้วย ด้านการพัฒนาทักษะบุคลากร ปีนี้ หัวเว่ยได้เปิดตัว Huawei ICT Academy Program 2.0 อย่างเป็นทางการ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีกว่า 2 ล้านคนและเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลให้แพร่หลายในอีก 5 ปีข้างหน้าด้วยการร่วมงานกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งนี้ หัวเว่ยจะจัดตั้ง กองทุนเพื่อการพัฒนา Huawei ICT Academy (Huawei ICT Academy Development Incentive Fund – ADIF) ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนรวมอย่างน้อย 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาอีก 5 ปีข้างหน้า ในปัจจุบัน หัวเว่ยได้ร่วมสนับสนุนด้านการศึกษาและยังรับรองกลุ่มพาร์ทเนอร์ด้านการฝึกอบรมที่สามารถจัดการฝึกตามมาตรฐานใบรับรองของหัวเว่ย (Huawei Certification) ได้ทั่วโลก เราเล็งเห็นความได้เปรียบด้านความรู้ในอุตสาหกรรมและได้ส่งมอบใบรับรองของหัวเว่ยผ่านโซลูชันการพัฒนาที่ทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้และรับทักษะใหม่ๆ นอกจากนี้ โลกในภายภาคหน้าจะถูกครอบคลุมด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อถึงกันและตอบสนองต่อทุกสิ่งรอบตัว เราหวังว่าโครงการด้านการศึกษาต่างๆ ของเราจะไม่เพียงตอกย้ำความมุ่งมั่นของหัวเว่ยที่มีต่อสังคม แต่ยังเบิกทางให้ผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่ที่จะออกแบบและชี้นำทิศทางของโลกดิจิทัลต่อไปเพื่ออนาคตของทุกคน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ