“กรมหลวงประจักษ์ฯสร้างเมือง ลือเลื่องแหล่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง แรงศรัทธาศรีสุทโธ ปทุมมาคำชะโนด”

ข่าวท่องเที่ยว Friday September 18, 2020 15:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--นิปปอน คอมมิวนิเคชั่นส์ แอนด์ คอนซัลท์ติ้งค์ จัดหวัดอุดรธานี เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและการท่องเที่ยวทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะภาพของการเป็นดินแดนแห่งวัดป่า ประตูสู่ประเทศลาว ดินแดนอินโดจีนและดินแดนที่มีอารยะธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและมีหัตถกรรมผ้าขิตที่มีชื่อเสียงขจรขจาย เดิมทีพื้นที่จังหวัดอุดรธานีเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 5,000-7,000 ปี โดยมีหลักฐานจากการค้นพบที่บ้านเชียงอำเภอหนองหานและภาพเขียนสีบนผนังถำที่อำเภอ บ้านผือ จังหวัดอุดรธานีมีอารยธรรมความเจริญในระดับสูง โดยเฉพาะลวดลายของเครื่องปั้นดินเผา สีลายเส้นที่บ้านเชียงนั้นสันนิฐานว่า แสดงถึงอายุของอารยธรรมที่อาจจะเก่าที่สุดแห่งหนึ่งของโลก หลังจากยุคบ้านเชียงแล้ว ที่นี่ก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ กระทั่งล่วงเข้าสมัยทวาราวดี (พ.ศ.1200-1600) สมัยลพบุลี (พ.ศ.1200-1800) และสมัยสุโขทัย (พ.ศ.1800-2000) จากหลักฐานที่พบคือใบเสมาสมัยทวาราวดีลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระ พุทธบาทบัวบกอำเภอบ้านผือ แต่ก็ยังไม่ปรากฎชื่ออุดรธานีในประวัติศาสตร์แต่อย่างใด จังหวัดอุดรธานีเริ่มมีปรากฎใน ประวัติศาสตร์ เมื่อราวปี พ.ศ.2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมือง เวียงจันทน์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับ และเมืองหนองบัวลำภูนี้เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ ในปี พ.ศ. 2428 เมืองอุดรธานีปรากฎอยู่ในชื่อบ้านหมากแข้ง หรือบ้านเดื่อหมากแข้ง อยู่ในสังกัดเมืองหนองคาย ขึ้นอยู่กับการปกครองกับมณฑลลาวพวน โดยสมัยนั้น พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้าย กำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนฝั่วซ้ายแมน้ำโขงและมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือ ไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้วไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศสต้องการลาว เขมร ญวณ เป็นอาณานิคม เรียกว่า “กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)” ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสและตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตรของฝั่งแม่น้ำโขงหน่วยทหารไทยที่ตั้งประอยู่ที่เมืองหนองคายอันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมือง หรือมณฑลลาวพวน ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อบ้านเดื่อหมาก แข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำดี กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวน และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านหมากแข้งอยู่ ในการปกครองของมณฑลอุดร หลังการเปลื่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลในส่วนภูมิภาคยังคงเหลือเฉพาะจังหวัดและอำเภอเท่า นั้นมณฑลอุดรจึงถูกยุบเลิกไปเหลือเพียงจังหวัด “อุดรธานี” เท่านั้น แหล่งท่องเที่ยว Unseen ที่น่าสนใจแหล่งใหม่ ๆ ของจังหวัดอุดรธานี คำชะโนด : เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือ ตั้งอยู่ที่วัดศิริสุทโธ ตำบลวังทอง สถานที่แห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นปากเมืองบาดาล ที่มีตำนานเกี่ยวกับพระยานาคตามความเชื่อของชาวอีสานและชาวลาว ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวมีต้นชะโนดขึ้นปกคลุมหนาแน่น ต้นชะโนดมีลักษณะคล้ายกับต้นตาล และต้นมะพร้าวรวมกัน ภายในมีศาลเจ้าปู่ศรีสุทโธ และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ คำชะโนดอยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 101 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางอุดรธานี-สกลนคร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางอำเภอบ้านดุง 84 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอบ้านดุง 17 กิโลเมตร บ่อเกลือบ้านดุง : อำเภอบ้านดุง แบ่งเขตพื้นที่เป็น 3 ตำบล คือ ตำบลบ้านดุง ตำบลบ้านจันทน์ และตำบลดงเย็น บ่อเกลือบ้านดุงถือเป็นบ่อเกลือสินเธาว์แห่งแรกแห่งเดียวในประเทศไทย จังหวัดอุดรธานีเป็นหนึ่งในหลายจังหวัดของภาคอีสานที่ผลิตเกลือสินเธาว์อย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยมีพื้นที่ผลิตเกลือ ประมาณ 3,000 ไร่ อยู่ใน 4 พื้นที่คือ พื้นที่ทำนาเกลือบ้านทุ่ง ตำบลบ้านชัย พื้นที่บ้านฝาง บ้านโพนสูงเหนือ-บ้านโพนสูงใต้ ตำบลโพนสูง พื้นที่บ้านดุงน้อย บ้านศรีสุทโธ ตำบลศรีสุทโธ และ บ้านดุงเหนือ ตำบลบ้านดุง คุณสมบัติของเกลือสินเธาว์นั้น มีแร่ธาตุอยู่หลากหลายชนิด มีคุณสมบัติไม่ทำให้ผิวแห้ง ผิวชุ่มชื้น และโคลนสามารถนำมาพอกตัวหมักตัว ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ล่องแพน้ำพาน : อ่างเก็บน้ำพาน ตั้งอยู่ในอำเภอสร้างคอม ครอบคลุมพื้นที่มากถึง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลสร้างคอม, ตำบลนาสะอาด และตำบลเชียงดา มีพื้นที่รวมกว่า 4,300 ไร่ ถือเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อีกแห่งของภาคอีสาน และภายในอ่างเก็บน้ำยังเป็นแหล่งอาศัยของปลาน้ำจืดหลากหลายชนิด รอบ ๆ ยังรายล้อมไปด้วยทัศนียภาพของป่าชุมชนที่สวยงาม แม่น้ำพานจึงกลายเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้าน และเป็นที่เที่ยวอุดรธานีที่นักท่องเที่ยวเลือกมาเยือน บ้านห้วยสำราญ : เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ของจังหวัดอุดรธานี อยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี หมู่บ้านมีพื้นที่ 625 ไร่ ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเกษตรกรปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายพันธุ์ เช่น มะลิร้อยมาลัย เบญจมาศ ดาวเรือง ดอกพุด , คัตเตอร์(พีค็อก) ,กุหลาบร้อยมาลัย ,ไม้ตัดใบ เป็นต้น และยังมีกิจกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วย คือ พวงมาลัยไหว้พระ มาลัยกร,มาลัยแต่งงาน พานบายศรี ช่อดอกไม้สด,พวงหรีด แจกัน ซุ้มประตู้ เป็นต้น ลักษณะเด่นมีไม้ดอกไม้ประดับปลูกในพื้นที่ 625 ไร่ โดยมีการปลูกและเก็บตลอดทั้งปี ประวัติเดิมบ้านห้วยสำราญ ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรมีอาชีพทำนาทำไร่มันสำปะหลังในช่วงนั้นประมาณปี พ.ศ.2523 มีเกษตรกรในหมู่บ้านนำเบญจมาศพันธุ์มูเซอมาปลูกและเกิดรายได้ทำให้เกษตรกรในหมู่บ้านสนใจทำการปลูกไม้ดอก แบบต่างคนต่างปลูกผลผลิตออกมาไม่ได้คุณภาพต่อมามีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองอุดรธานี กรมส่งเสริมการเกษตรได้เข้ามารวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกบ้านห้วยสำราญเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยนำพันธุ์เบญจมาศจากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกและมีการใช้เทคโนโลยีต่างๆทั้งนำเกษตรกรไปทัศนศึกษาการปลูกไม้ดอกที่จังหวัดเชียงใหม่เชียงราย เกษตรกรจึงนำความรู้ที่ได้มาทำการปลูกและปรับปรุงคุณภาพผลผลิตออกมาได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาดและทำให้เกิดรายได้หลักของหมู่บ้านมีรายได้ดีกว่าการทำเกษตรอย่างอื่นจนมีการอพยพแรงงานคืนถิ่นจนถึงปัจจุบันนี้ วัดภูตะเภาทอง : แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมะแห่งใหม่ อ.หนองวัวซอ อุดรธานี ซึ่งเปิดให้ชมได้อย่างเป็นทางการแล้ววัดภูตะเภาทอง ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน บ้านหนองแวงสีชมพู ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ปัจจุบันมีพระครูเขมกาญจโนภาส (สุพรรณ) เป็นเจ้าอาวาสมีพระลูกวัด 6 รูป เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย มีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งวัดอย่างถูกต้องกว่า 15 ไร่ พื้นที่ส่วนมากเป็นลานหิน จะพบกับหินขนาดใหญ่มากกว่า 30 ลูก รูปร่างแปลกตา โดยทางวัดได้พัฒนาทางเดิน รวมถึงทางขึ้นหินแต่ละก้อน เชื่อมโยงกันด้วยบันได้ไม้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปร่วมชมความงามของผืนป่า และไม้ป่านานาพันธ์ที่เกิดบนภูเขาหินอย่างเหลือเชื่อ ณ วัดภูตะเภาทอง มีจุดไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด คือ บริเวณบ่อน้ำสีคราม กั้นกลางระหว่างหิน 2 ลูก ขอบบ่อเนรมิตพญานาคสีทองขนาดใหญ่ 2 ตัว เมื่อเงาของพญานาคสะท้อนในน้ำ รวมกับแสงของดวงอาทิตย์ในแต่ละช่วง จะเกิดปรากฏการณ์น้ำสีต่างๆ จากคำบอกเล่าของเจ้าอาวาส ซึ่งต้องให้นักท่องเที่ยวมาพิสูจน์ความอัศจรรย์ด้วยตนเอง มีความสวยงามอลังการที่ถูกสร้างขึ้นมาจากฝีมือของมนุษย์ ผสานกับธรรมชาติที่แวดล้อมกว่า 15 ไร่ พื้นที่ส่วนมากเป็นลานหิน ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่าเดิมเป็นทะเล ต่อมาเกิดการยกตัวขึ้นเป็นลานหินและพื้นดิน คาดว่าจะมีกลุ่มคนผู้เลี้ยงสัตว์ หรือนายพรานใช้เป็นเส้นทางในการหากิน เนื่องจากมีการพบรอยฝ่ามือคนข้างหินก้อนใหญ่ นอกจากจะเป็นสถานปฏิบัติธรรมแล้ว วัดแห่งนี้ยังมีจุดเด่นที่มีความศักดิ์สิทธิ์ คือ “พญานาคราชสีทอง” ชื่อมุจลินท์ ซึ่งหลวงพ่อได้สร้างขึ้นตามนิมิต และ “รอยฝ่ามือแดง” ที่ปรากฏให้เห็นตรงหินก้อนใหญ่ เราตั้งชื่อหินนั้นว่าเรือสำเภา เพราะมีรูปร่างคล้ายเรือ สำหรับรอยฝ่ามือแดงนั้น กรมศิลปากรตรวจสอบแล้วยืนยันว่ามีอายุประมาณ 2,500 ปี ใกล้เคียงกับผาแต้ม จ.อุบลราชธานี ช่วงเสาร์อาทิตย์จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประมาณวันละ 1,000 คน ส่วนวันธรรมดาก็มีประมาณ 300-400 คน วัดเขาช่องชาด : ตั้งบ้านหนองบัวเงิน หมู่ที่ 8 ตำบลอูบมุง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี บริเวณสันเขาภูพานคำ เขตอุทยานแห่งชาดภูเก้าภูพานคำ เขตอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี อยู่ทางทิศใต้ ของอำเภอหนองวัวซอ ห่างจาก เทศบาลตำบลอูบมุง 6 กม. สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ป่าไม้เบญจพรรณ อาทิ ป่าไผ่ ประดู่ มะค่าโมง แดง ยาง ต้นชาดและกล้วยไม้ มีสัตว์ป่าหลาย ชนิด เช่น ไก่ป่า กระรอก กระแต นก ค้างคาว งู สุนัขป่า ฯลฯวัดเขาช่องชาด เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 เป็นสำนักสงฆ์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระอาจารย์บุญมี ฐานะจาโร ตั้งแต่ปี 2545-ปัจจุบัน มีจุดไฮไลต์คือ “พระใหญ่เขาช่องชาด” เริ่มก่อสร้างพระใหญ่เขาช่องชาด มีการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2549 งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้าง 17 ล้านบาท โดยมีประชาชนทั้งในตำบลอูบมุง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดขอนแก่นและจากทั่ว ประเทศ มาร่วมพิธีมากมาย ภาพทิวทัศน์เขาช่องชาด มีทัศนียภาพงดงาม เป็นกันชนเขตแดนระหว่างจังหวัดอุดรธานี กับจังหวัดหนองบัวลำภู สามารถมองเห็นภาพธรรมชาติภายในพื้นที่อำเภอหนองวัวซอ ได้เกือบทั้งหมด ทางฝั่งตะวันออก ส่วนอีกฟากทางด้านตะวันตกสามารถมองเห็นอำเภอโนนสัง อำเภอเมืองจังหวัดหนองบัวลำภูได้อย่างชัดเจน และสามารถมองเห็นภูเก้าได้อย่างชัดและสวยงามอีกด้วย ทิศใต้มองเห็นเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก สมารถมองเห็นทัศนียภาพอันงดงาม ของอำเภอหนองวัวซอได้อย่างชัดเจนและมีความสวยงาม สภาพเทือกเขาเขียว ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มองเห็นเจดีย์วัดดอยบันไดสวรรค์ สภาพภูมิประเทศของอำเภอหนองวัวซอ อาทิ ตำบลอูบมุง ตำบลกุดหมากไฟ ตำบลโนนหวาย และตำบลหนองอ้อ เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ