ทำไม?...ลูกน้อยถึงตัวเหลืองหลังคลอด

ข่าวทั่วไป Friday September 18, 2020 16:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--โรงพยาบาลรามคำแหง “ตัวเหลือง” เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในทารกแรกเกิด มักพบในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอดโดยส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย จะสังเกตได้จากผิวหนังและตาขาวของทารกจะเป็นสีเหลือง สารเหลืองนี้เรียกว่า “บิลิรูบิน” ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง เมื่อเม็ดเลือดแดงสลายตัว สารบิลิรูบินในกระแสเลือดจะถูกส่งไปที่ตับและขับออกทางอุจจาระ ในเด็กแรกเกิด “ตับ” จะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่จึงทำให้ไม่สามารถกำจัดสารนี้ได้เร็วพอ ระดับสารบิลิรูบินจึงเพิ่มสูงในกระแสเลือดและไปเกาะตามเนื้อเยื่อต่างๆ โดยมากภาวะนี้จะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปเองเมื่อตับของทารกพัฒนาขึ้น นอกจากนี้ ภาวะตัวเหลืองยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ เช่น คลอดก่อนกำหนด ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะท่อน้ำดีอุดตันหรือถุงน้ำดีผิดปกติเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD หมู่เลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากัน การดื่มนมแม่ ภาวะตับอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะพร่องไทรอยด์ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้จำเป็นต้องรีบรักษา เพราะหากปล่อยไว้ระดับบิลิรูบินที่สูงมากอาจแทรกซึมเข้าไปเกาะกับเนื้อเยื่อสมองและทำให้เกิดความผิดปกติของสมองและเกิดอาการทางระบบประสาทได้ ถ้าระดับบิลิรูบินสูงจนมีอาการตัวเหลืองรุนแรง และไม่ได้รับการรักษาบิลิรูบินจะเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อสมองและก่อให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาท หากเกิดขึ้นเฉียบพลัน ทารกจะมีอาการซึม ดูดนมน้อยลง หรืออาจเกิดอาการเกร็ง ชัก มีไข้ อาการที่เกิดขึ้นนี้จะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติ และอาจมีระดับสติปัญญาลดลง ซึ่งความผิดปกติทางสมองเหล่านี้ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้แม้ว่าจะลดระดับของบิลิรูบินจนเข้าสู่ภาวะปกติ โดยทั่วไปแพทย์จะตรวจร่างกายและตรวจหาภาวะตัวเหลืองภายใน 72 ชั่วโมงหลังคลอด โดยดูจากสีผิว สีของตาขาว สีเหงือก สีปัสสาวะ สีอุจจาระ หากสงสัยว่าทารกมีภาวะตัวเหลือง แพทย์จะตรวจวัดระดับบิลิรูบินในเลือด เพื่อหาสาเหตุและพิจารณาว่าจำเป็นต้องรับการรักษาหรือไม่ และทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ส่วนกรณีที่เด็กมีภาวะตัวเหลืองจากโรคอื่นๆ การรักษาจะแตกต่างกันตามสาเหตุที่ตรวจพบ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการรักษาเป็นรายๆ ไป แม้ว่าภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดจะพบได้บ่อยและอาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสมองของทารก แต่ภาวะนี้สามารถรักษาให้หายได้ ในเด็กที่อาการตัวเหลืองไม่รุนแรงจะหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่ในรายที่อาการไม่ดีขึ้นและมีระดับสารบิลิรูบินในเลือดสูง แพทย์อาจใช้การรักษาเพื่อลดระดับสารบิลิรูบินในเลือดด้วยวิธี การส่องไฟรักษา เป็นการใช้หลอดไฟชนิดพิเศษที่มีความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมเพื่อลดระดับสารบิลิรูบินในเลือดหากระดับของบิลิรูบินในเลือดสูงเกิน 12-15 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตรถ่ายเลือดร่วมกับการส่องไฟรักษา ถ้าหากระดับของบิลิรูบินในเลือดสูงมากจนอาจเกิดการสะสมในเนื้อเยื่อสมอง หรือแสดงอาการเฉียบพลันทางสมองเบื้องต้นแล้ว เพื่อลดระดับของบิลิรูบินในร่างกายได้อย่างทันท่วงทีการรักษาด้วยยา ด้วยการฉีดอิมมูโนโกลบูลินเข้าเส้นเลือดในกรณีที่ภาวะตัวเหลืองเกิดจากเลือดของแม่และเด็กไม่เข้ากัน
แท็ก ทารก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ