กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตามที่ได้มีการขับเคลื่อนนโยบายเกษตร 4.0 ภายใต้การนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) เพื่อให้ปรากฎผลเป็นรูปธรรมสู่ยุคดิจิทัลทรานสฟอร์มเมชั่น (Digital Transformation) และได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 4 คณะ ได้แก่ 1) อนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ 4) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ซึ่งที่ประชุมในวันนี้ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานทั้ง 4 คณะ ดังนี้
1) อนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech มีการขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการ แลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร รวมทั้งร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ข้อมูลสำหรับการดำเนินนโยบายสนับสนุนหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว โดย ธปท. จะสามารถใช้ข้อมูลเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร อันนำไปสู่มาตรการทางด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพ ในส่วนของการดำเนินงานแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางสำหรับประชาชน (Citizen Service Platform) มีแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางสำหรับประชาชน รวมทั้งสิ้น 175 บริการ ซึ่งเป็นดิจิทัล 90 บริการ
2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติ “การจัดทำแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับสมบูรณ์)” เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร ร่วมประชุม ให้ข้อคิดเห็น และจัดทำข้อเสนอโครงการ ประกอบด้วย หน่วยงานหลัก 4 ด้าน คือ ด้านการวิจัย ด้านการส่งเสริมพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านงบประมาณ และด้านการพัฒนาเกษตรกร เป็นการวางรากฐานการเกษตรอัจฉริยะของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการความร่วมมือในการขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทยต่อไป
3) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce เตรียมจัดทำแผนการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์อย่างยั่งยืน จัดทำโครงการ The Local Hero เพื่อสร้างกลุ่มเกษตรชุมชนให้สามารถจำหน่ายสินค้าของตนเองได้ โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้ทุกอำเภอมีทีมขายสินค้าจากการขายออฟไลน์สู่ออนไลน์ พร้อมผลักดันศูนย์ AIC ทั้ง 77 แห่ง เป็นแกนในการรวบรวมข้อมูลสินค้าเกษตร ข้อมูลผู้ซื้อ ข้อมูลผู้ขาย รวมถึงเพิ่มความรู้ให้พี่น้องเกษตรกร ปูทางสู่การทำ super App เป้าหมาย ตลาดทำผลิต
และ 4. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ได้ทำความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมโยงงานเข้าด้วยกัน จัดทำหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการฝึกอบรม โดยให้ความสำคัญกับเกษตรกรที่ประสบปัญหาหนี้สินจำนวนมาก เกษตรกรที่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ยังขาดองค์ความรู้การเงิน และทางคณะอนุกรรมการฯ จะนำทีมธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นกลุ่มที่ดูแลภาระหนี้ครัวเรือนมาทำงานร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่ม young smart farmer หรือกลุ่ม AIC เป็นกลุ่มที่มีองค์ความรู้การประกอบธุรกิจ หรือเป็นกลุ่ม SMEs กลุ่มเหล่านี้จะเป็นการช่วยเหลือองค์ความรู้ด้านการระดมทุน การวางแผนธุรกิจ หรือการจดทะเบียนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทางศูนย์ AIC จะประสานกับคณะอนุกรรมการ เพื่อเชื่อมโยงกับทีมตลาด หลักทรัพย์ฯ ในการอบรม กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่ม High end ที่สามารถมีธุรกิจขนาดใหญ่ จะเป็นเรื่ององค์ความรู้ด้านตลาดหลักทรัพย์
สำหรับความก้าวหน้าของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานคัดเลือกศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะด้าน (Center of Excellence) เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 63 ที่ผ่านมา โดยมีนายยุคล ลิ้มแหลมทอง เป็นประธาน มีหน้าที่พิจารณากำหนดสาขาของศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะด้านและคัดเลือกสถาบันการศึกษาที่ควรเป็นศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะด้าน ซึ่งได้มีการประชุมไปเมื่อวันที่ 23 ก.ย. 63 มีศูนย์ความเป็นเลิศ จำนวน 35 สาขา 130 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 63) อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ประมงทะเล เกลือทะเล เป็นต้น โดยแบ่งประเภทศูนย์ความเป็นเลิศ AIC เป็น 1) แบบครบวงจร และ 2) ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดต่าง ๆ