อาชีวะตอกย้ำสาขาการเลขานุการยังไปอีกไกล

ข่าวทั่วไป Friday September 25, 2020 13:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ดำเนินการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตอบโจทย์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการบริการ โดยเน้นการให้ความรู้ควบคู่ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม และการปลูกฝังลักษณะนิสัยในการทำงาน เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข รวมทั้งส่งเสริมผู้เรียน ให้มีนิสัยรักการทำงาน มีศรัทธา และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยเฉพาะการเรียนสาขาเลขานุการและภาษาต่างประเทศ ที่ยังเปิดสอนในสถานศึกษาอาชีวะอีกหลายแห่ง ถือว่าเป็นสาขาวิชาดั้งเดิม แต่ยังเป็นที่ต้องการ ของสถานประกอบการและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยติดต่อมายังสถานศึกษา เพื่อขอให้ส่งนักศึกษาไปทำงานด้วย ซึ่งปัจจุบัน ผู้จบการศึกษาทั้งสองสาขานี้มีไม่เพียงพอ ความต้องการของหน่วยงาน เช่นที่ วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ที่เปิดสอนมากว่า 10 ปี และจากการสำรวจ พบว่า นักศึกษาทั้งสองสาขานี้ จบแล้วมีงานทำทันที นางบัญชาลักษณ์ ลือสวัสดิ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี กล่าวว่า วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ได้เปิดการเรียนการสอนมากว่า 6 ทศวรรษ โดยได้จัดการเรียนการสอนประเภทวิชาพณิชยการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเปิดทำการสอน 8 แผนกวิชา ประกอบด้วย แผนกวิชาการบัญชี แผนกวิชาการตลาด แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจแผนกวิชาธุรกิจค้าปลีก แผนกวิชาการท่องเที่ยว แผนกวิชาการจัดการโลจิสติกส์ แผนกวิชาการเลขานุการ และแผนกวิชาภาษาต่างประเทศ ซึ่งทั้งแผนกวิชาการเลขานุการ และแผนกวิชาภาษาต่างประเทศ เป็นแผนกวิชาที่มีบทบาทสำคัญต่อองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ปัจจุบันพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้เรียนแผนกวิชาการเลขานุการ และแผนกวิชาภาษาต่างประเทศ ในฐานะผู้บริการสนับสนุนองค์กร มีความสำคัญมากขึ้น ส่งผลถึงประสิทธิภาพของการบริหารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยแผนกวิชาการเลขานุการ ได้เน้นให้มีการเรียนการสอน วิชาชวเลขไทยเบื้องต้น ซึ่งเป็นวิชาที่หาเรียนได้ยากในปัจจุบัน แต่เป็นวิชาที่จำเป็นอย่างยิ่งในการทำงาน รวมทั้งวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างบุคลิกภาพ ให้ดูดีในที่สาธารณชน สำหรับแผนกวิชาภาษาต่างประเทศ มีการจัดการเรียนการสอนทั้ง ภาษาอังกฤษ จีน และญี่ปุ่น เน้นทักษะการพูดและการฟัง โดยนำเทคโนโลยีที่เป็นสื่อการสอนสมัยมาใช้ เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และมีความสนุกสนานในการเรียน นางบัญชาลักษณ์ ลือสวัสดิ์ กล่าวต่อไปว่า สาขาวิชาดังกล่าว ไม่ได้เปิดสอนทุกวิทยาลัยฯ แต่เป็นสาขาที่ตลาดมีความต้องการอย่างมาก ทั้งภาครัฐ และเอกขน ทำให้หางานได้ง่าย และได้ค่าตอบแทนที่สูง ซึ่งเป็นเงินเดือนรวมกับค่าทักษะ ที่เป็นความสามารถเฉาพะทาง เช่น การใช้ภาษาชวเลข และภาษาต่างประเทศ ด้านนางสาวทิพย์อัปสร เม่นคล้าย เจ้าพนักงานชวเลขชำนาญงานรัฐสภา ศิษย์เก่าวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ได้เล่าให้ฟังว่า เลขานุการ คือบุคคลสำคัญในการประสานงานระหว่างผู้บริหารและบุคคลอื่น ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เป็นผู้ช่วยให้งานของผู้บริหารดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วและประสบผลสำเร็จตามที่มุ่งหวัง เป็นผู้สร้างสัมพันธ์ภาพอันดีในองค์กร เป็นสื่อกลางระหว่างผู้บริหารกับผู้มาติดต่องาน เป็นผู้ช่วยพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กร ซึ่งปัจจุบันตำแหน่งเจ้าพนักงานชวเลข ในรัฐสภายังขาดอยู่อีกหลายตำแหน่ง โดยได้ให้คำแนะนำรุ่นน้อง พร้อมแนะแนวทางศึกษาต่อ และสถานที่ฝึกประสบการณ์ในสายอาชีพ เลขานุการ ความสำคัญของแผนกวิชาการเลขานุการ เลขานุการบริหาร ( Executive Secretary ) คือบุคคลสำคัญในการประสานงานระหว่างผู้บริหารและคนอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เป็นผู้ช่วยให้งานของผู้บริหารดำเนินไปโดยเร็วประสบผลสำเร็จตามที่มุ่งหวัง เป็นผู้สร้างสัมพันธ์ภาพอันดีในองค์กร เป็นสื่อกลางระหว่างผู้บริหารกับผู้มาติดต่อ เป็นภาพลักษณ์ขององค์การและผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านเลขานุการเป็นอย่างดี ทั้งงานในหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย และรู้จักใช้ดุลยพินิจพิจารณาว่างานใดควรทำงานใดไม่ควรทำ ลำดับคามสำคัญของงานภายในขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของตน โดยไม่ไปก้าวก่ายงานในหน้าที่ของผู้อื่น การดำเนินงานในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นวงการธุรกิจ หรือหน่วยงานราชการ ซึ่งเราเรียกว่ายุคโลกาภิวัฒน์ หรือยุคไฮเทค หรือยุคข้อมูลข่าสาร หรือยุคไอที และเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา จึงทำให้ผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์รูปแบบใหม่ในการปฏิบัติงานเหนือคู่แข่งขัน ดังนั้น เลขานุการบริหาร หรือผู้ช่วยผู้บริหารจึงมีความสำคัญต่อผู้บริหารเป็นอย่างมาก และเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดผู้บริหารและได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารเป็นอย่างมาก ฉะนั้น เลขานุการบริหาร จึงเป็นผู้พร้อมที่จะรับบทบาท ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นอย่างเต็มกำลัง ปฏิบัติงานเต็มศักยภาพตามที่ผู้บริหารและองค์กรคาดหวัง จึงมอบหมายให้ปฏิบัติงานในเรื่องสำคัญ ๆ เช่น วางแผนงานเละนโยบายเพื่อให้กิจการประสบความก้าวหน้าชนะคู่แข่งได้ กล่าวคือ ผู้บริหารทุกคนต้องการผู้ช่วยที่มีความสามารถช่วยแบ่งเบาภาระในการงาน ให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ราบรื่น ประสบความสำเร็จตามที่ผู้บริหารต้องการ และช่วยปฏิบัติงาน สำคัญ ๆ แทนผู้บริหารได้ตามความเหมาะสมและถูกต้องโดยไม่ต้องให้ผู้บริหารคอบสั่งการอยู่ตลอด ในปัจจุบัน ผู้บริหารทุกคนเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีเลขานุการที่มีความสามารถเพื่อช่วยงาน แต่ผู้ที่จะทำหน้าที่นี้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี และต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น เป็นผู้ที่เก็บรักษาความลับมีความรู้ ความสามารถ มีปฏิภาณ ไหวพริบ เฉลียวฉลาด มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี มีบุคลิกลักษณะดี เลขานุการจึงเป็นเสมือนคู่คิดและร่วมทำงานร่วมรับผิดชอบในงานที่สำคัญ ๆ จนผู้บริหารบางคนกล่าวว่า การเสียเลขานุการไปเท่ากับการเสียแขนขวาไปทีเดียว เลขานุการบริหาร เป็นบุคคลสำคัญในการประสานงานระหว่างผู้ปริหารและบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกองค์การ เป็นผู้ช่วยให้งานของผู้บริหารดำเนินไปโดยเร็ว ประสบผลสำเร็จตามที่มุ่งหวัง เป็นผู้สร้างสัมพันธภาพอันดีในองค์การเป็นสื่อกลางระหว่างผู้บริหารกับผู้มาติดต่อ เป็นภาพลักษณ์ขององค์การและผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านเลขานุการเป็นอย่างดี ทั้งงานในหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย และรู้จักใช้ดุลยพินิจพิจารณาว่างานใดควรทำงานใดไม่ควรทำ ลำดับความสำคัญของงานภายในขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของตน โดยไม่ไปก้าวก่ายงานในหน้าที่ของผู้อื่น ในวงการอาชีพทุกวงการ เช่น นักธุรกิจ นักการเมือง แพทย์ ศิลปิน การศึกษา ตลอดจนวงการของหน่วยงานราชการ การปฏิบัติงานจะประสบความสำเร็จได้ดี จะต้องอาศัยเลขานุการด้วยกันทั้งนั้น จึงนับได้ว่าเลขานุการเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อวงการทุกสาขาอาชีพ จึงมีผู้กล่าวว่า ถ้าเลขานุการนัดหยุดงานพร้อมกัน ธุรกิจทุกอย่างก็ต้องหยุดชะงักตามไปด้วย แต่จะต้องไม่ลืมว่า เลขานุการที่มีความรู้ความสามารถดีเท่านั้น ที่จะเป็นผู้ช่วยในการบริหารงานต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี การปฏิบัติงานในตำแหน่งเลขานุการ จะก้าวไปถึงตำแหน่งเลขานุการบริหารนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายนัก ฉะนั้น ผู้ที่ทำงานเลขานุการทุกคนจงภูมิใจ ว่าเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี จึงมีผู้กล่าวว่า เลขานุการบริหารที่ดีในวันนี้ คือ ผู้บริหารคนสำคัญในวันหน้านั่นเอง ความสำคัญของแผนกวิชาภาษาต่างประเทศ ในภาวะปัจจุบันที่อิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั้นการเรียนรู้ภาษาของประเทศอื่นย่อมได้เปรียบในการทำกิจการต่างๆ เพราะคงไม่มีใครจะติดต่อสื่อสารและรู้เรื่องได้ดีเท่ากับการพูดภาษาเดียวกัน เคยมีเรื่องเล่ากันเล่นว่าประเทศไทยที่ค้าขายสิงคโปร์ มาเลย์ ฮ่องกง ไต้หวัน ไม่ได้ก็เพราะว่ามาติดต่อกับประเทศไทยแล้วสื่อสารกันยังไม่ชัดเจนจึงต้องผ่านตัวแทนที่รู้ภาษาดีกว่าเช่นสิงค์โป มาเลย์ ฮ่องกง ไต้หวัน หรือแม้แต่ฟิลิปปินส์ก็ตาม ซึ่งเราจะเห็นว่าประเทศเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่อาจคิดได้ว่าเป็นภาษาสากล หลายประเทศประกาศให้เป็นภาษาราชการอีกภาษาหนึ่ง นอกจากภาษาของตัวเอง แน่นอนว่าประเทศที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้นย่อมทราบดีว่า คนจะเรียนรู้ภาษาให้ซาบซึ้งสามารถใช้ภาษาเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรม สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสังคมวัฒนธรรมตามสถานการณ์ได้ในทุกทักษะของภาษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดีจะมีโอกาสในการจ้างงาน และได้รับการสนับสนุนส่งเสริมในงานในหน้าที่ให้ยิ่งขึ้นไป มากกว่าผู้ที่ไม่มีทักษะทางภาษาเลย ดังตัวอย่างที่หน่วยงานห้างร้านบริษัท ที่ประกาศรับพนังงาน แต่แนบท้ายด้วยคำว่ามีความสามารถทางภาษาที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ นั่นก็คือต้องมีทักษะการฟังและการพูดเป็นอย่างน้อย อันเนื่องจากภาษาอังกฤษมีการใช้กันทั่วโลกมากกว่าภาษาอื่นๆ มีการเรียนการสอนกันทั่วโลกมากกว่าภาษาอื่นจึงคิดให้เป็นภาษาสากลที่ติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลก การเรียนการสอนภาษาอังกฤษประการแรกน่าจะใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ เช่นเดียวกับการที่เราเรียนรู้ภาษาแรกจากพ่อแม่ พี่เลี้ยง เป็นการเรียนรู้แบบธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องท่องศัพท์ แปล หรือ รู้หลักไวยากรณ์ ดังนั้นการเรียนการสอนในระดับเริ่มเรียนรู้ภาษานั้น คงต้องเน้นการมีส่วนร่วมทางภาษาให้มากที่สุด คือผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการฟังและพูดอย่างเป็นธรรมชาติจนเกิดทักษะ เริ่มจากการพูดในชีวิตประจำวันในครอบครัว แล้วค่อยขยายออกไปสู่โลกภายนอกมากขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในการศึกษาขั้นสูงขึ้น การสอนทักษะการพูดและการฟังจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และผู้สอนอันเป็นต้นแบบจะต้องพัฒนาความรู้ทางภาษาให้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาให้มากที่สุด มิฉะนั้นแล้วจะเข้าลักษณะแม่ปูสอนลูกให้เดินให้ตรง ในเรื่องนี้ปัจจุบันแม้จะแก้ได้บ้างโดยอาศัยเทคโนโลยี ที่บันทึกเสียงการพูดคุย การออกเสียงที่ถูกต้องไว้ แล้วก็ตาม แต่การแสดงความรู้สึก แสดงอารมณ์ที่เกี่ยวข้องนั้นก็ยังต้องใช้เจ้าของภาษามาเป็นผู้สอนถึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษาได้เร็ว การสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ จะสื่อสารกันได้อย่างน้อยที่สุดก็ต้องฟังรู้เรื่องก่อนแล้วจึงจะทำให้สามารถพูดโต้ตอบได้ หรือพูดได้ พูดเป็น หรือใช้เป็น และเป็นประโยชน์ นอกจากการโต้ตอบแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกันก็คงรวมไปถึงการเล่าเรื่อง บรรยาย แสดงความคิด ความเห็น ความรู้สึก วิพากษ์วิจารณ์ ซึงก็ต้องมีการประเมินที่ได้ยินได้ฟังมา จากการวิเคราะห์สังเคราะห์อีกทีหนึ่ง จึงถือว่าสุดยอดในการเรียนรู้ทางภาษา และจากที่ประเทศเรากำลังประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ตากเศรษฐกิจกระแสโลก และวิกฤติการเมือง กาเรียนรู้ภาษาให้แตกฉานก็เป็นการช่วยบรรเทาภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนี้ได้ อันเนื่องมาจากที่รัฐบาลประกาศให้การท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ การเข้าใจเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจะทำให้การติดต่อสื่อสารกับชาวต่างประเทศที่จะเข้ามา ท่องเที่ยวประเทศไทยดีขึ้น เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจให้เข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น สถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพ น่าจะมีส่วนส่งเสริม ช่วยเหลือประเทศในแง่นี้ได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ