นักท่องเที่ยวปลื้ม ททท. จัด “Fun Village” เที่ยวชุมชน กระตุ้นไทยเที่ยวไทย สุดประทับใจ ของดีภาคกลาง
ประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี หลังจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เปิดตัวโครงการส่งเสริมการขาย ภายใต้แนวคิด “Fun Village” เที่ยวชุมชนยลวิถีคนภาคกลาง กระจายรายได้สู่ชุมชน พร้อมส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวในภาคกลางให้มากยิ่งขึ้น ระหว่างเดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา โดยนักท่องเที่ยวได้กล่าวถึง ความโดดเด่นของกิจกรรมที่มีความสนุก อาหารอร่อยจากชุมชนที่หาทานได้ยาก ที่สำคัญคือได้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ และอยากให้มีโครงการท่องเที่ยวเข้าถึงชุมชนอย่างใกล้ชิดแบบนี้อีก
นาย อภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ ผู้อำนวยการ ภูมิภาคภาคกลาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เผยว่า “ หลังจาก โครงการ Fun Village เที่ยวชุมชน 3 จังหวัดภาคกลาง คือกาญจนบุรี สมุทรสงคราม และ เพชรบุรี ที่ผ่านมา เหล่านักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ ได้สัมผัสการท่องเที่ยวชุมชน ที่คนในชุมชนคอยต้อนรับและให้บริการด้วยหัวใจที่อบอุ่น ได้สัมผัสเสน่ห์และวิถีชีวิตแบบชุมชนอย่างแท้จริง ได้สัมผัสกับกิจกรรมที่เป็นอัตลักษณ์แท้ ๆ ของชุมชน ซึ่งเป็นตัวชูโรงที่สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้แก่นักท่องเที่ยว และชุมชนที่เข้าไปท่องเที่ยวนั้น รายล้อมไปด้วยธรรมชาติที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ทุ่งนา ภูเขา หรือแม่น้ำ นักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้บอกเล่าเรื่องราวผ่านภาพถ่าย บน Social media ต่าง ๆ อย่างสนุกสนานและประทับใจ พร้อมกับตอบแบบสอบถามตอบรับกับกิจกรรมที่ผ่านมาด้วยความสุข กับกิจกรรมที่เป็นประสบการณ์ใหม่ โดยอยากให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมการท่องเที่ยว เข้าถึงชุมชนแบบนี้อีกอย่างต่อเนื่อง ”
สำหรับชุมชมในโครงการ Fun Village เที่ยวชุมชน ยลวิถีคนภาคกลาง ประกอบไปด้วยชุมชน ใน 3 จังหวัดและมีกิจกรรมที่น่าสนใจที่ผ่านมาคือ
ปิดท้ายด้วยจังหวัดที่ 3 ชวนหนีกรุง ไปปืนตาล กินขนมหวาน ที่เมืองเพชรบุรี ที่ ชุมชนตำบลถ้ำรงค์ อ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี เมื่อ 20 กันยายน 2563
ทดลองเป็นชาวสวนตาลที่ ชุมชนตำบลถ้ำรงค์ เรียนรู้ทุกกระบวนการของการทำน้ำตาลโตนด ซึ่งเป็นหนึ่งในของดีเมืองเพชรบุรี ไหว้พระหลวงพ่อดำ ชมสวนตาล เรียนรู้การเป็นชาวสวนตาล (ดูสาธิตการนวดตาล บีบตาล เคี่ยวตา) เรียนรู้การทำขนมตาล / ยีตาล รับประทานอาหารเมนูเชฟชุมชน (เมนูท้องถิ่น : แกงหัวตาล ผักน้ำพริก) เรียนรู้งานหัตถกรรมจักสานใบตาล และงานประดิษฐ์จากลูกตาลแก่ เรียนรู้งานหัตถกรรมว่าวไทย ทุกกิจกรรมเรียนรู้ของที่นี่แฝงไว้ซึ่งเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์และความผูกพันของชาวชุมชนถ้ำรงค์กับต้นตาล