ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลัง เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และฟังบรรยายสรุปผลการปฏิบัติการฝนหลวง ณ สหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับเขื่อน และอ่างเก็บน้ำในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจากการปฏิบัติการฝนหลวงของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ตอนล่าง) มีหน่วยปฏิบัติการ 4 หน่วย คือ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.บุรีรัมย์ จ.อุบลราชธานีจ.นครราชสีมา และจ.สุรินทร์ ในระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ถึง 7 ตุลาคม 2563 มีการขึ้นบินปฏิบัติการ รวม 188 วันจำนวน 1,129 เที่ยวบิน ทำให้เกิดฝนตกคิดเป็นร้อยละ 94.68 มีพื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์ จำนวน 43.56 ล้านไร่รวมถึงภารกิจเติมน้ำต้นทุนในเขื่อนกับเก็บน้ำระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ถึง 30 กันยายน 2563 จำนวน 83 เขื่อน รวม172,023 ล้านลูกบาศก์เมตร และ ช่วงระหว่างวันที่ 1 ? 5 ตุลาคม 2563 จำนวน 20 เขื่อน รวม 53,528 ล้านลูกบาศก์เมตร
ในปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ร้อยเอ็ดจ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ จ.มหาสารคาม และจ.ยโสธร มีพื้นที่เพาะปลูกรวมกันประมาณ 2,707,390 ไร่ โดยในปี 2562 จังหวัดร้อยเอ็ดมีเนื้อที่เพาะปลูกมากที่สุดประมาณ 826,724 ไร่ ให้ผลผลิต รวม 276,953 ตัน มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 5 อำเภอได้แก่ อ.เกษตรวิสัย อ.สุวรรณภูมิ อ.หนองฮี อ.ปทุมรัตน์ และอ.โพนทราย ซึ่งพันธุ์ที่นิยมปลูก คือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105, ข้าวหอมมะลิ กข15, ข้าวเหนียว กข 6, ข้าวหอม นิล, ข้าวหอมมะลิแดง และข้าวเหนียวดา (ข้าวก่า) ส่วนช่องทางการตลาดของเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูก ข้าวหอมมะลิ GI มีตลาดรองรับผลผลิตที่ชัดเจน รวมถึงยังมีการเพิ่มช่องทางการจาหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ และตลาดโมเดิร์นเทรด รวมถึงการออกบูธงานแสดงสินค้าในงานสำคัญของจังหวัด โดยกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้บริโภคที่ใส่ใจด้านสุขภาพ ซึ่งผู้ประกอบการหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถขายสินค้าเกรดพรีเมี่ยม ได้ในราคาที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีการขายในลักษณะของฝากและของที่ระลึก
นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สภาพภูมิอากาศของทุ่งกุลาร้องไห้นั้น เป็นอย่างทุ่งหญ้า ทำให้มีฝนตกเป็นช่วงๆ หากเกิดฝนตกจะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และดินไม่สามารถอุ้มน้ำได้ ดังนั้นเมื่อฝนทิ้งช่วงจะทำให้พื้นที่แห้งแล้งทันที แม้ว่าทุ่งกุลาร้องไห้จะมีลำน้ำไหลผ่านหลายสาย แต่เพราะมีพื้นที่เทลาดต่ำจากตะวันตกไปตะวันออก จึงทำให้น้ำไหลผ่านไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นกระทรวงเกษตรฯ จึงได้เร่งสั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ประสานความร่วมมือกับกองทัพบก และกองทัพอากาศ ในการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร และเติมน้ำลงเขื่อนและอ่างเก็บน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง และฝนทิ้งช่วง จนสิ้นสุดฤดูการเพาะปลูกในปีนี้