มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เผยความสำเร็จผนึกกำลัง 5 วิทยาเขตภาคใต้ เข้าร่วมโครงการบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด สร้างบัณฑิตจิตอาสา 1,000 ราย ร่วมสำรวจข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และสังคม พร้อมเตรียมนำผลสำรวจ ลุยต่อยอดสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนภาคใต้ ด้านการท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างสรรค์สังคมทุกมิติ ช่วยพลิกฟื้นสถานการณ์ประเทศไทยเผชิญกับการแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 ให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง
ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า ม.อ. ได้เข้าร่วมโครงการบัณฑิตอาสาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 เพื่อปลูกฝังให้บุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรม นอกจากด้านวิชาการที่เป็นเลิศแล้วนั้น บัณฑิตจะต้องมีจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบต่อตนเอง มีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน พัฒนาสังคมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง สำหรับโครงการบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ตระหนักถึงความสำคัญการสร้างสรรค์บุคลากรของประเทศเป็นผู้มีจิตอาสา
การดำเนินงานภายใต้โครงการบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั้ง 5 วิทยาเขต ที่มีบัณฑิตจิตอาสาจำนวน 1,000 รายเข้าร่วมโครงการที่แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 จำนวน 400 คน ปฏิบัติงานเป็นระยะ 4 เดือน (มิถุนายน. ? กันยายน) และระยะที่ 2 อีก จำนวน 400 คน ปฏิบัติงาน 3 เดือน (กรกฎาคม - กันยายน) เพื่อสำรวจทุกมิติของพื้นที่ในชุมชนภาคใต้ ทั้งการจัดทำข้อมูล ประสานงาน จัดทำแผนงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยี ในด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ตลอดจนสังคมผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน
ผศ.ดร.นิวัติ กล่าวถึงกระบวนการทำงานว่า โครงการบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนและองค์กรพัฒนา โดยมีการกระจายการทำงานใน 160 กว่าตำบล 9 จังหวัดภาคใต้ และจัดทำข้อมูล 200 คน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มีเจ้าหน้าที่สำรวจ โดยปฏิบัติงานใน 40 ตำบล 7 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งผลการดำเนินงานโครงการบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด 5 วิทยาเขต อาทิ ม.อ.วิทยาเขตตรัง ได้นำบัณฑิตอาสาเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 40 คน มุ่งเน้นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การลงทุนและแผนพัฒนาด้านท่องเที่ยวกับเศรษฐกิจชุมชน ส่วนวิทยาเขตภูเก็ต นำบัณฑิตจิตอาสา จำนวน 50 คน ลงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงา เพื่อทำการสำรวจในเชิงเศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น
ด้าน ม.อ.วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี นำนักศึกษาจิตอาสาจำนวน 100 คน ลงพื้นที่ 20 แห่ง ทำการสำรวจจัดเก็บข้อมูล โดยประสานงานกับองค์กรปกครองท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จนถึงเทศบาลในหลากหลายมิติ ทั้งด้านการท่องเที่ยวชุมชนและในเชิงอนุรักษ์ การจัดการบริหารขยะในชุมชน และด้านสังคมผู้สูงอายุ ภายใต้ร่วมงานกับบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา 43 คน เพื่อนำผลสำรวจเป็นข้อมูลตั้งต้นสำหรับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีในมิติต่างๆ อย่างยั่งยืน
ส่วน ม.อ.วิทยาเขตตรัง ได้นำบัณฑิตอาสาเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 40 คน มุ่งเน้นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การลงทุนและแผนพัฒนาด้านท่องเที่ยวกับเศรษฐกิจชุมชน ส่วนวิทยาเขตภูเก็ต นำบัณฑิตจิตอาสา จำนวน 50 คน ลงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงา เพื่อทำการสำรวจในเชิงเศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น
?เรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่นักศึกษาจิตอาสาทั้ง 5 วิทยาเขต ได้ทำสาธารณประโยชน์เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจสมดุลและยั่งยืนในระยะยาว และยังช่วยสร้างให้บัณฑิตและบุคลากรให้มีจิตอาสาที่เข้มแข็ง เป็นการสร้างคุณค่าให้กับทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ซึ่งการลงพื้นที่ทำการสำรวจข้อมูลนี้ ทำให้สามารถนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการต่อยอดเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจภาคใต้ให้เข้มแข็งและรับมือกับปัจจัยการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้? ผศ.ดร.นิวัติ กล่าว
รศ.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า บัณฑิตที่ได้กลับไปดูในชุมชนของตัวเอง ได้รู้จักชุมชนของตัวเอง รู้ว่าชุมชนนั้นมีลักษณะอย่างไร มีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร ก็ถือว่าบัณฑิตได้มีการเรียนรู้นอกห้องเรียน ผศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายส่งเสริมจิตสาธารณะ และการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการบัณฑิตอาสาในครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนทักษะสำคัญของบัณฑิต เพื่อที่จะให้ไปส่งเสริมพัฒนาชุมชนตามเป้าหมาย ร่วมกับชุมชนในการวางแผนงาน โดยมีทีมงานของมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนอย่างเต็มที่