เนื่องในโอกาสวันคุมกำเนิดโลก (26 กันยายน 2563) ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ หน่วยงานกำกับดูแลด้านนโยบาย องค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGO) และผู้มีอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับผู้หญิง (women influencer) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคร่วมกันรณรงค์ให้ผู้หญิงหันมาให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพตัวเองและการวางแผนครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้หญิงและความสามารถในการวางแผนครอบครัว ไบเออร์จึงเปิดตัวแคมเปญ #HerHero เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพตัวเอง และในวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา ผู้มีอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับผู้หญิง และตัวแทนจากองค์กรต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเข้าร่วมงาน #HerHero Virtual Forum on Health, Empowerment and Progress และร่วมกันสร้างปณิธานเพื่อทำหน้าที่เป็น 'Herheroes? ในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้หญิงเกี่ยวกับทางเลือกในการดูแลสุขภาพของตนเอง
งานสัมมนาออนไลน์ #HerHero นี้จัดขึ้นโดยไบเออร์และ Population Council, Doctor Anywhere, UWS และสื่อพันธมิตรอย่าง Clozette โดยงานนี้ยังถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมเพื่อฉลองครบรอบ 60 ปีของการคิดค้นยาเม็ดคุมกำเนิดอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีผู้เข้าร่วมสัมมนาที่เป็นผู้สนับสนุนด้านสุขภาพผู้หญิงและผู้นำด้านการวางแผนครอบครัวหลายราย รวมถึง Dr. Ashish Bajracharya รองผู้อำนวยการซึ่งเป็นตัวแทนจาก Country Strategy & Regional ของ South & East Asia, Population Council, Dr. (H.C.) Dr. Hasto Wardoyo, Sp.OG(K) ประธานจาก BKKBN, Usec นาย Juan Antonio Perez III กรรมการบริหารจาก POPCOM, Dr. Shobha Gudi ประธานกรรมการ Family Welfare Committee ของ FOGSI, Ms. Georgette Tan ประธาน UWS และ คุณ Ping Rong Chen ตัวแทนจากมูลนิธิ Garden of Hope Foundation ของไต้หวัน
แม้ว่าการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตัวเองของผู้หญิงจะดำเนินมาแล้วกว่า 60 ปี แต่ก็ยังคงมีปัญหาอยู่ นอกจากนั้นสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ก็ยิ่งส่งผลเสียในเรื่องนี้มากขึ้น ผู้หญิงทั่วโลกจำนวนมากไม่สามารถเข้ารับบริการด้านสุขภาพและการวางแผนครอบครัวได้เนื่องด้วยข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 และตัดสินใจเลื่อนนัดหมายการเข้าพบแพทย์ออกไป เนื่องจากกลัวว่าจะมีโอกาสได้รับเชื้อไวรัส ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ประเมินว่าผู้หญิงกว่า 47 ล้านคนอาจเข้าถึงการคุมกำเนิดไม่ได้ และอาจก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์กว่า 7 ล้านรายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า(1) อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์นี้จะส่งผลกระทบด้านสุขภาพ รวมถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมต่อผู้หญิงและครอบครัวในระยะยาว
Dr.Ashish Bajracharya รองผู้อำนวยการ Country Strategy และRegional Representatives ประจำภูมิภาค South & East Asia, Population Council กล่าวว่า ?ในขณะที่โลกกำลังรับมือกับวิกฤตโควิด-19 เรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ในผู้หญิงและสิทธิสตรีควรจะต้องได้รับการดูแลอย่างละเอียดถี่ถ้วน เราจะต้องร่วมกันสร้างและดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้ผู้หญิงเข้าถึงการคุมกำเนิด รวมถึงข้อมูลและทรัพยากรต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้หญิงสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของตนเองได้อย่างชัดเจน?
ในช่วงภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 แพลตฟอร์มออนไลน์จึงเป็นช่องทางรูปแบบใหม่สำหรับผู้หญิงในการขอความช่วยเหลือ ปัจจุบัน ระบบ เทเลเมดิซีน (Telemedicine) จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ปลอดภัยและสะดวกในการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ในด้านสุขภาพและการวางแผนครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่มีความกังวลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 การหันมาใช้ระบบ เทเลเมดิซีนเป็นจำนวนมากของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้จะยังคงได้รับความนิยมต่อไป โดยที่ผู้บริโภคคาดการณ์ว่าจะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากบริการทางการแพทย์ออนไลน์ในอีกห้าปีข้างหน้า
Dr. Catherine Donovan ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ แผนกฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า ?ความมุ่งมั่นในด้านสุขภาพผู้หญิงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราส่งเสริมและสนับสนุนผู้หญิงในการตัดสินใจตามข้อมูลทางเลือกเกี่ยวกับสุขภาพและการวางแผนครอบครัวของตนเอง ด้วยผลิตภัณฑ์ยาคุมกำเนิด และนวัตกรรมด้านการแพทย์ออนไลน์ โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุมกำเนิด แคมเปญ #HerHero ซึ่งเป็นแคมเปญใหม่ฉลองครบรอบ 60 ปีของการคิดค้นยาเม็ดคุมกำเนิด อีกทั้งยังเป็นแคมเปญที่เน้นย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการคุ้มครองและให้ความสำคัญกับสุขภาพและความต้องการของผู้หญิง แม้ว่าจะเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดก็ตาม จากการที่เราริเริ่มพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ ร่วมกับการสนับสนุนผู้ที่ช่วยส่งเสริมผู้หญิง บริษัทหวังว่าจะช่วยสนับสนุนเพื่อให้ผู้หญิงหันมาสนใจเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น?
ไบเออร์คิดค้นสิ่งต่างๆ อยู่เสมอเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้ผู้หญิงในปัจจุบัน สามารถตัดสินใจตามทางเลือกของตนเองได้อย่างเต็มที่ เราสร้างแชทบอท (chatbots) เพื่อให้บริการในประเทศแถบเอเชียที่จำเป็นต้องได้รับความรู้ความเข้าใจด้านการวางแผนครอบครัว ควบคู่กับการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ไบเออร์มีจุดประสงค์ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับทางเลือกในการคุมกำเนิดและอนามัยการเจริญพันธุ์ได้อย่างง่ายดาย
ไบเออร์ร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเพื่อส่งเสริมในเรื่องของความรู้ความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับการคุมกำเนิด เช่นความร่วมมือดังกล่าวเป็นการดำเนินงานร่วมกับ BKKBN ของประเทศอินโดนีเซีย, POPCOM ของประเทศฟิลิปปินส์, สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัยของประเทศไทย รวมถึง Family Planning and Women?s Union (FPWU) และ Government Office of Family Planning (GOPFP) ของประเทศเวียดนาม ไบเออร์ดำเนินงานโดยมีเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ Health for all, Hunger for none โดยไบเออร์ สำนักงานใหญ่จะดำเนินการในโครงการช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายให้ผู้หญิง 100 ล้านคนในกลุ่มประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลางสามารถเข้าถึงวิธีการคุมกำเนิดได้ภายในปี 2573