มูลนิธิซิตี้ พร้อมด้วยมูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (มูลนิธิ EDF) จัดโครงการ "Skilling up Youth to Grow the ECC?s Growth Program" การพัฒนาศักยภาพนักเรียนนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีและนวัตกรรม เตรียมความพร้อมด้านอาชีพ สร้างโอกาสการมีงานทำ หรือการเป็นผู้ประกอบการทำธุรกิจของตนเองในอนาคต สอดคล้องกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี (Eastern Economic Corridor: ECC) โดยมีนักเรียนนักศึกษาแกนนำระดับปวช. และปวส. จากสถาบันการศึกษา 10 แห่ง จำนวน 110 คน ในจังหวัดชลบุรีและระยองเข้าร่วม โดยผลการจัดกิจกรรมพบว่า วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย จังหวัดระยอง ที่นำเสนอโครงการ BK-SERVICE โดยการนำไอเดียการเรียนที่ต้องลงมือปฎิบัติงานจริงมาต่อยอดพัฒนาเป็นรูปแบบธุรกิจขึ้น ภายใต้สโลแกน งานของคุณคืองานของเรา สามารถชนะใจกรรมการคว้ารางวัลยอดเยี่ยมรางวัลที่ 1 รับเงินรางวัลทุนการศึกษา 5,000 บาท ในขณะที่รางวัลแผนธุรกิจดีเด่นรางวัลที่ 2 ได้แก่ โครงการ Skilling Up ทำสหกรณ์ร้านค้าในวิทยาลัยจากวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด จังหวัดระยอง รับเงินรางวัลทุนการศึกษา 3,000 บาท และรางวัลแผนธุรกิจดีเด่นรางวัลที่ 3 ได้แก่ โครงการ เป๊ะ Car Delivery ให้บริการซ่อมรถถึงที่ตลอด 24 ชั่วโมงจากวิทยาลัยเทคนิคบางแสน จังหวัดชลบุรี รับเงินรางวัลทุนการศึกษา 2,000 บาท รวมถึงยังมีรางวัลขวัญใจกรรมการ ได้แก่ โครงการ Job Skills จากวิทยาลัยเทคนิคระยอง รับเงินรางวัลทุนการศึกษา 1,000 บาท ตามลำดับ
ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิซิตี้ได้ที่ www.citifoundation.com
มร. ทีบอร์ พานดิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย และผู้แทนมูลนิธิซิตี้ เผยว่า แรงงานภาคอุตสาหกรรมถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศ สำหรับประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศกำลังต้องการแรงงานเพื่อรองรับด้านอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี (Eastern Economic Corridor: ECC) ที่จะกลายมาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญขนาดใหญ่ของประเทศ ทำให้ในอนาคตจะมีความต้องการแรงงานเพื่อมารองรับการขยายตัวที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเยาวชนที่กำลังศึกษาด้านสายอาชีพหรือสายอาชีวศึกษาจึงเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่จะมาช่วยขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายได้อย่างตรงจุด ดังนั้นโครงการ Skilling up Youth to Grow the ECC?s Growth Program จะช่วยพัฒนาศักยภาพนักเรียนนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาราว 2,500 คน ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการกับนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาระดับแกนนำ 110 คน รวมทั้งหมด 3 ครั้งด้วยกัน ถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้กลุ่มนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมไปต่อยอดได้ในอนาคต และยังเป็นส่วนหนึ่งให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็งทางด้านแรงงานเพิ่มขึ้นต่อไป
นอกจากความร่วมมือกับ มูลนิธิ EDF (มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา) พัฒนาศักยภาพนักเรียนนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีและนวัตกรรม เตรียมความพร้อมด้านอาชีพ สร้างโอกาสการมีงานทำ หรือการเป็นผู้ประกอบการทำธุรกิจของตนเองในอนาคตผ่านโครงการดังกล่าวแล้ว มูลนิธิซิตี้ยังได้ร่วมมือกับองค์กรชั้นระดับประเทศมากมาย ไม่ว่าจะเป็น องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ดำเนิน "โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชน" (Career Development for Youth Program) สำหรับเยาวชนในสถานพินิจมาตั้งแต่ปี 2560 โดยเยาวชนที่ขาดโอกาสเข้าร่วมโครงการจะได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับทักษะชีวิต รวมถึงทักษะการทำงานของเด็กและเยาวชนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมให้เยาวชนเหล่านั้นอยู่ในสภาพแวดล้อมที่พร้อมสำหรับการทำงานก่อนกลับสู่สังคมจริงในอนาคตต่อไป ฯลฯ ตลอดจนโครงการยูธ โค แล็บ (Youth Co: Lab) ที่มูลนิธิซิตี้ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติผ่าน เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการทางสังคมรุ่นใหม่และกลุ่มชุมชนพื้นเมือง เป็นต้น
ทั้งหมดนี้ดำเนินงานอันเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิซิตี้ ซึ่งมีเป้าหมายในการทำงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนทั่วโลกให้ดีขึ้นด้วยการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินอย่างทั่วถึง ควบคู่ไปกับการสร้างอาชีพสำหรับเยาวชน รวมถึงสร้างสภาพเศรษฐกิจของชุมชนที่ดีขึ้น นอกจากการให้ความช่วยเหลือแล้ว มูลนิธิซิตี้ ยังได้ใช้ความเชี่ยวชาญในฐานะสถาบันการเงินชั้นนำ และความพร้อมของพนักงาน ที่สนับสนุนให้พันธกิจของบริษัทประสบความสำเร็จ และขับเคลื่อนแนวคิดความเป็นผู้นำ และนวัตกรรม มร.ทีบอร์ กล่าวสรุป
นางสาวจารุวัฒน์ บุษมาลี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการ มูลนิธิ EDF (มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา) กล่าวว่า "มูลนิธิ EDF ยินดีที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับมูลนิธิซิตี้ ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนอาชีวะศึกษาจากสถาบัน การศึกษาในจังหวัดชลบุรีและระยองจำนวน 10 แห่ง จำนวน 110 คน ในจังหวัดชลบุรีและระยองเข้าร่วม ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคบางแสน วิทยาลัยชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ วิทยาลัยเทคนิคพัทยา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) วิทยาลัยเทคนิคระยอง วิทยาลัยสารพัดช่างระยอง วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย วิทยาลัยการอาชีพแกลง และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด ให้สามารถเพิ่มพูนศักยภาพทักษะความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อการทำงานและสร้างอาชีพในอนาคตจากการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒินำโดย ดร.ศิญาณี หิรัญสาลี อาจารย์พิเศษวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"
ทั้งนี้ภายในงานเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาทั้ง 10 แห่ง ได้ทำกิจกรรมเปิดกว้างด้านความคิดสร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการนำเสนอโครงการประกวดแผนธุรกิจของแต่ละสถาบัน เพื่อสร้างโอกาสในการเกิดธุรกิจหรือนำไปต่อยอดในอนาคต โดยมูลนิธิซิตี้ยังได้มอบเงินสนับสนุนให้แก่ละทีม เพื่อนำไปคิดและปฏิบัติสำหรับโครงการแผนธุรกิจก่อนนำเสนอสถาบันละ 25,000 บาท ซึ่งหลังจากการอบรมทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา พบว่า วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย จังหวัดระยอง ที่นำเสนอโครงการ BK-SERVICE โดยการนำไอเดียการเรียนที่ต้องลงมือปฎิบัติงานจริงมาต่อยอดพัฒนาเป็นรูปแบบธุรกิจขึ้น ภายใต้สโลแกน งานของคุณคืองานของเรา สามารถชนะใจกรรมการคว้ารางวัลยอดเยี่ยมรางวัลที่ 1 รับเงินรางวัลทุนการศึกษา 5,000 บาท ในขณะที่รางวัลแผนธุรกิจดีเด่นรางวัลที่ 2 ได้แก่ โครงการ Skilling Up ทำสหกรณ์ร้านค้าในวิทยาลัยจากวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด จังหวัดระยอง รับเงินรางวัลทุนการศึกษา 3,000 บาท และรางวัลแผนธุรกิจดีเด่นรางวัลที่ 3 ได้แก่ โครงการ เป๊ะ Car Delivery ให้บริการซ่อมรถถึงที่ตลอด 24 ชั่วโมงจากวิทยาลัยเทคนิคบางแสน จังหวัดชลบุรี รับเงินรางวัลทุนการศึกษา 2,000 บาท รวมถึงยังมีรางวัลขวัญใจกรรมการ ได้แก่ โครงการ Job Skills จากวิทยาลัยเทคนิคระยอง รับเงินรางวัลทุนการศึกษา 1,000 บาท ตามลำดับ
ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิซิตี้ได้ที่ www.citifoundation.com