วีคาร์โก รุกพัฒนา ยกระดับไอทีสู่ Version 2

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 9, 2020 10:05 —ThaiPR.net

- เป็นการยกระดับการบริการส่งสินค้าถึงบ้านผู้ซื้อของลูกค้าหรือ Last Mile Service
- ทุกฝ่าย ได้เต็ม ๆ จากการยกระดับเข้าสู่ เทคโนโลยีดิจิตอล Version 2

กลุ่มบริษัทวี คาร์โก ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ชั้นนำชาวไทย เดินหน้าพัฒนาระบบเทคโนโลยี ดิจิตอลและไซเบอร์ Version 2 ต่อยอดจาก Version 1 ทำให้สามารถ บริหารจัดเส้นทางการขนส่ง (Routing) อัตโนมัติ ไปถึงบ้านลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพคือ รวดเร็ว ประหยัดและลดการใช้ทรัพยากรทั้งเวลาและพลังงานเชื้อเพลิง

นายอุดม ศรีสงคราม กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทวี คาร์โก เปิดเผยว่านับจากที่ประเทศไทยเข้าสู่กระแสโลกที่รณรงค์ในประเด็นสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่กระแสสำนักงานไร้กระดาษหรือ Paperless Office นานกว่า 20 ปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทวี คาร์โก ได้เริ่มต้นพัฒนาสำนักงานไร้กระดาษนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยเริ่มนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาให้บริการแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่ความสำเร็จในโครงการพัฒนา Transport Management System หรือ TMS ใน Version แรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558

ภายใต้ TMS Version แรก ถือเป็นความสำเร็จในการพัฒนาการให้บริการลูกค้าผ่าน Applications บนโทรศัพท์มือถือที่เป็น Smart Phone โดยพนักงานส่งสินค้าจะไม่ต้องใช้เอกสารการทำงานในแต่ละวัน แต่จะเป็นการรับคำสั่งรวมไปถึงการส่งมอบสินค้าไปจนถึงการปิดงานในแต่ละวันผ่าน Application บน Smart Phone 100% ทำให้ไม่มีเอกสารที่เป็นกระดาษหลงเหลืออยู่ในระบบการทำงานจากสำนักงานถึงบ้านลูกค้าที่สั่งสินค้าผ่านองค์กรที่เป็นลูกค้าของกลุ่มบริษัทวี คาร์โก

"แต่การพัฒนาของเรายังไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นี้ เรายังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากจะพูดให้ชัดเจนขึ้นก็คือเราสามารถพัฒนา Application บน Smart Phone ที่หัวใจอยู่ในระบบ TMS ก็เพราะเรามีถนนทางด่วนทางการสื่อสารที่เรารู้จักกันในชื่อ 3G และ 4G ทำให้เราสามารถพัฒนารูปแบบการให้บริการแบบ Paperless ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่เราไม่ได้หยุดการพัฒนาเพียงแค่นี้ เรายังพัฒนาต่อเนื่องจนมาถึงวันนี้ ผมพูดได้เลยว่า TMS Version 2 นั้นสมบูรณ์แบบ 100% และที่สำคัญ จะเป็นระบบที่ Smart ยิ่งขึ้นครับ" นายอุดม กล่าว

TMS Version 2 นี้ เสร็จเมื่อปลาย พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดจาก Version 1 ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองไปข้างหน้าของเทคโนโลยี ทำให้กลุ่มบริษัทวี คาร์โก พัฒนาระบบ TMS ให้เป็นระบบเปิดที่พร้อมจะรับการสื่อสารสองทางกับบริษัทคู่ค้าภายนอกได้อย่างลื่นไหล ไม่เกิดการสะดุด ทำให้ Applications ต่าง ๆ ที่วิ่งในระบบ TMS สามารถดึงและส่งข้อมูลเชื่อมต่อกับลูกค้าที่เป็นองค์กรภายนอกได้ อีกทั้งมีการพัฒนาระบบ Vehicle Route Planning หรือ VRP ซึ่งเป็นระบบที่อยู่ภายใต้ระบบใหญ่ TMS โดย VRP จะเป็นระบบที่นำข้อมูลชุดคำสั่งของลูกค้าแต่ละรายเข้าสู่ระบบ TMS เพื่อทำการวิเคราะห์จัดสรรรถบรรทุกว่าจำเป็นต้องใช้กี่คัน รวมไปถึงเสนอแนะเส้นทางการเดินรถ ว่าควรมีเส้นทางใดบ้าง รวมไปถึงจำนวนแต่บะจุดที่ต้องส่งก่อนหรือหลังตามลำดับ ภายใต้คำสั่งของลูกค้าว่าจะให้ส่งสินค้าไปยังจุดไหน ในปริมาณเท่าใด โดยเฉพาะสินค้าที่จะต้องทำการจัดส่งไปยังบ้านลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคที่สั่งสินค้าจากผู้ค้าปลีกหรือ โมเดิร์นเทรด พร้อมติดตั้ง หรือเป็นที่รู้จักกันในบริการ Last Mile Service ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่กระจัดกระจายไปทั่งประเทศไทยในปริมาณที่หลากหลายในแต่ละคำสั่งซื้อ

"เราโชคดีที่โครงการนี้เริ่มทดลองใช้ก่อนที่จะเกิดวิกฤติ Covid 19 ทำให้เรามีความพร้อมให้บริการทันที่ที่รับฐบาลได้ประกาศ Lock Down ประเทศในช่วงต้นปีนี้ จนถึงวันนี้ ผมยืนยันครับว่า TMS Version 2 ของเราสมบูรณ์แบบแล้ว

"ซึ่ง TMS Version 2 ที่พ่วงระบบ VRP นี้ทำให้เราเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ หากเรายังใช้ระบบ Manual อยู่นั้น ผมบอกได้เลยว่าเราจะต้องใช้คนจำนวนมากมายที่จะมาวางแผนเส้นทางการเดินรถเพื่อให้บริการกับลูกค้าอย่างทั่วถึงในระยะเวลาที่เรากำหนดไม่ได้ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนรถที่จะต้องใช้ พนักงานขับรถที่จะต้องเกิดขึ้นตามจำนวนรถ รวมไปถึงระบบการจัดวางสินค้าในรถขนส่งแต่ละคัน มันทำให้เราใช้ทรัพยากรอย่างมากมายในต้นทุนที่แพง

"แต่ TMS Version 2 นี้ ปัญหานี้หมดไปทันทีเพราะระบบจะทำการคำนวณให้ตั้งแต่การจัดเรียงสินค้าในรถแต่ละคัน การกำหนดเส้นทางให้รถแต่ละคันที่จะวิ่งส่งไปถึงบ้านลูกค้าภายใต้เงื่อนไขที่ลูกค้าผู้บริโภคคนสุดท้ายสั่งเช่นจะให้ส่งสินค้าพร้อมติดตั้งหรือไม่ ซึ่งระบบ TMS Version 2 จะกำกับพนักงานส่งสินค้าให้ทราบถึงรายละเอียดเงื่อนไข รวมไปถึงระบบการเก็บเงินปลายทาง ซึ่งรถแต่ละคันจะได้รับเส้นทางที่ชัดเจนและเป็นเส้นทางที่ลื่นไหลไปตามตำแหน่งที่จะส่งของแบบต่อเนื่อง" นายอุดม กล่าว

นายอุดมกล่าวว่าด้วยระบบการขนส่ง TMS ภายใต้การบริหารของ VRP นี้ ทำให้เกิดการประหยัด ทั้งจากเส้นทางที่สอดคล้องกับเนื้องานที่เหมาะสมในรถขนสินค้าแต่ละคัน ในเวลาที่พนักงานสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยค้าใช้จ่ายจากเส้นทางการเดินรถที่สั้นและใช้เสลาที่ต่ำที่สุด และที่สำคัญคือใช้จำนวนรถที่น้อยที่สุดด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์โดยตรงคือองค์กรที่เป็นลูกค้าของกลุ่มบริษัทวี คาร์โก ที่จะส่งผ่านต้นทุนที่ลดลงไปถึงมือลูกค้าของแต่ละองค์กร จึงทำให้กลุ่มบริษัทวี คาร์โก ได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าอนาคตที่ได้ให้ความสนใจใช้บริการของกลุ่มบริษัทวี คาร์โก ในอนาคตอันใกล้

ภายใต้ระบบ TMS Version 2 ยังมีอีกหนึ่ง Application คือ Smart Station หรือ ปั้มจ่ายน้ำมันอัจฉริยะ ที่จะช่วยให้กลุ่มบริษัทวี คาร์โก สามารถควบคุมต้นทุนหลักของธุรกิจขนส่งคือน้ำมันเชื้อเพลิง โดย Smart Station เป็นระบบการคำนวณการใช้น้ำมันของรถแต่ละคันที่เชื่อมต่อกับระบบ VRP ที่คำนวณเส้นทางซึ่งจะสามารถระบุระยะทางที่เป็นกิโลเมตรของรถแต่ละคันเชื่อมต่อกับอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันของรถแต่ละคัน ทำให้ระบบสามารถกำหนดความต้องการใช้น้ำมันของรถแต่ละคันในแต่ละวันได้อย่างแม่นยำ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งผ่านไปที่ระบบ Smart Station เพื่อกำหนดปริมาณน้ำมันที่จะเติมให้กับรถแต่ละคันในแต่ละวัน

"ทุกวันนี้ พนักงานขับรถของเราจะได้รับคำสั่งปฏิบัติงานในทุกเช้าของแต่ละวัน พนักงานก็จะนำรถไปที่ศูนย์กระจายสินค้าที่กำหนดไว้ผ่าน Smart Phone เมื่อพนักงานนำรถไปขึ้นสินค้าที่มีการจัดเรียงตามที่ระบบ VRP กำหนดเสร็จเรียบร้อย พนักงานคนนั้นก็จะทำการถ่ายภาพกลับมาที่ TMS ระบบจะส่ง QR Quote กลับไปที่ Smart Phone เพื่อให้พนักงานขับรถนำรถของเขาไปที่ Smart Station เพื่อเติมน้ำมัน โดยที่พนักงานคนนั้นจะต้องทำการ Scan ลายนิ้วมือเพื่อระบุตัวตนควบคู่ไปกับการ Scan QR Quote ที่ต้องตรงกัน ระบบจึงจะอนุมัติให้ทำการเติมน้ำมันในปริมาณที่ถูกคำนวณมาเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงนำรถออกปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละวัน โดยขั้นตอนการเติมน้ำมันนี้ ไม่จำเป็นต้องมีพนักงานส่วนกลาง ที่จะคอยประเมินว่ารถแต่ละคัน ต้องใช้น้ำมันกี่ลิตร รวมไปถึงพนักงานประจำปั้มน้ำมัน ซึ่งทั้งหมดนี้เราใช้ระบบ TMS และ Smart Station เป็นตัวควบคุมแทนคนทั้ง 100% " นายอุดม กล่าว

นายอุดมกล่าวว่าระบบ VRP และ TMS ทำให้ Smart Station และส่วนอื่น ๆ ใม่ต้องใช้เอกสารที่เป็นกระดาษอีกต่อไปหรือจะพูดว่าหมดยุคของการรับคำสั่งและดำเนินการภายใต้ระบบกระดาษอีกต่อไป อีกทั้งการใช้คนเท่าที่จำเป็น โดยยืนยันได้ที่ Smart Station ไม่มีพนักงานเติมน้ำมัน แต่พนักงานขับรถจะเป็นผู้รับผิดขอบการเติมน้ำมัน

"ผมพูดได้เต็มปากครับว่า TMS Version 2 และ VRP ทำให้เราเป็น Paperless Office และ Human Less Office ซึ่งสุดท้ายแล้วคนที่จะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เราพัฒนาขึ้นมาก็คือองค์กรลูกค้าของเรา และลูกค้าขององค์กรลูกค้าเราที่จะได้รับบริการที่ดี มีประสิทธิภาพ ในราคาที่สมเหตุสมผล ทำให้ลูกค้าเราสามารถแข่งขันกับผู้เล่นรายอื่นในตลาดได้" นายอุดม กล่าวทิ้งท้าย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ