เอไอเอส ผู้นำเครือข่าย 5G ชั้นนำระดับภูมิภาคและอันดับ 1 ในไทยที่มีคลื่นมากที่สุดครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศ ผนึก Bosch ผู้นำด้าน Smart Manufacturing และ Factory ระดับโลก เดินหน้านำนวัตกรรมเครือข่าย AIS 5G ที่ทรงพลานุภาพ เหมาะสมกับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ทดลองทดสอบและใช้งานอย่างเป็นรูปธรรมกับโซลูชันของ Bosch ในพื้นที่โรงงานจริง ซึ่งเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกที่จะขยายผลไปสู่การเป็น Smart Manufacturing สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของประเทศ
โดยแผนการทดลองทดสอบเครือข่าย 5G ในพื้นที่โรงงานจริงในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่างเอไอเอสและ Bosch ที่ได้ลงนามร่วมกันในบันทึกความเข้าใจหรือ MOU เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาการใช้งาน 5G ในอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุน กระบวนการสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักรให้สามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงหรือข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในสายการผลิต นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย รวมทั้งเสริมสร้างการถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคลากรทุกคนในอีโคซิสเต็มที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกัน
นายฮุย เวง ชอง กรรมการผู้อำนวยการ เอไอเอส กล่าวว่า "เอไอเอส มีความตั้งใจที่จะพัฒนาเครือข่าย 5G ให้รองรับความต้องการใช้งานของคนไทยทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องการนำความสามารถของเครือข่าย 5G ไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในโรงงานและพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ล่าสุด เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับ Bosch ประเทศไทย ซึ่งถือเป็นบริษัท IoT ชั้นนำระดับโลก ในการนำเครือข่าย 5G เข้ามาเสริมประสิทธิภาพให้กับโซลูชันในโรงงานอุตสาหกรรมของ Bosch ในพื้นที่โรงงานจริงเป็นครั้งแรกของไทย ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC
โดย 5G จากเอไอเอสที่มีความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ จะเป็นมาตรฐานใหม่ในการสื่อสารระหว่างเซ็นเซอร์อุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆ ของ Internet of Things (IoT) บนโซลูชัน Industry 4.0 ของ Bosch โดยมีการนำไปใช้จริงในโรงงานที่เชื่อมต่อข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อต่อยอดระบบให้โปร่งใสผ่านการใช้โซลูชัน ActiveCockpit ของ Bosch สามารถวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลจำนวนมากแบบเรียลไทม์ เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอำนวยความสะดวกในการทำงานของระบบโลจิสติกส์ภายในโรงงาน ไร้ขีดจำกัดด้านการส่งสัญญาณและการเชื่อมต่อ นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่เอไอเอสได้นำนวัตกรรมเครือข่าย 5G เข้ามาขับเคลื่อนและยกระดับภาคอุตสาหกรรมของไทย
นายโจเซฟ ฮง กรรมการผู้จัดการ Bosch ประเทศไทยและฟิลิปปินส์ กล่าวว่า "Bosch ได้เริ่มทำการวิจัยเกี่ยวกับ 5G มาตั้งแต่ต้นปี 2557 เราเล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยี 5G ที่เปรียบเสมือนตัวปลดล็อกนวัตกรรมในโดเมนต่างๆ เช่น การขับเคลื่อนอัตโนมัติ, ระบบนำทางอัตโนมัติ (AGV), IoT สำหรับภาคอุตสาหกรรม, รวมถึงระบบการขนส่งอัตโนมัติและอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนภาคการผลิต อันเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย และ 5G จะช่วยทำให้วิสัยทัศน์ของ 'โรงงานแห่งอนาคต' (Factory of the Future) ในประเทศไทยเกิดขึ้นจริง ในครั้งนี้ เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับเอไอเอส ซึ่งถือเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเครือข่าย 5G อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง 5G จากเอไอเอสประกอบกับโซลูชันของ Bosch ไม่จำกัดเฉพาะการติดตั้งในโรงงานสร้างใหม่แต่ยังสามารถนำไปปรับใช้กับระบบโรงงานหรือเครื่องจักรที่มีอยู่เดิม โดยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักรรวมถึงกระบวนการอื่นๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนสามารถตรวจสอบและควบคุมเครื่องจักรจำนวนมากแบบไร้สายได้จากระยะไกล การถ่ายโอนข้อมูลแบบเรียลไทม์มีความน่าเชื่อถือช่วยทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ทั้งยังเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้ก้าวไปอีกขั้น"
เกี่ยวกับเอไอเอส
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ผู้นำด้าน Digital Life Service Provider อันดับ 1 ที่มีคลื่นความถี่ในการให้บริการมากที่สุดรวม 1450 MHz และมีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดกว่า 40.9 ล้านเลขหมาย (ณ กันยายน 2563) พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี 5G ที่ครบ 77 จังหวัดแล้วเป็นรายแรกผ่าน 3 สายธุรกิจ ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่, อินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ AIS Fibre และบริการดิจิทัล 5 ด้าน ได้แก่ วิดีโอ คลาวด์ ดิจิทัลเพย์เมนท์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และบริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ ตลอดจนขยายสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ อาทิ AIS eSports, AIS Insurance ทั้งหมดนี้ เพื่อสนับสนุนความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ ขยายขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยไปพร้อมกัน
เกี่ยวกับบ๊อชในประเทศไทย
บ๊อชได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 ปัจจุบัน บ๊อชสร้างความหลากหลายในธุรกิจถึงสี่ด้าน ได้แก่ โซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค และเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร บริษัทมีโรงงานผลิตในธุรกิจโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อนถึงสามแห่ง พร้อมทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา อีกทั้งสำนักงานขายและศูนย์บริการสำหรับอุปกรณ์ไฮดรอลิกและเครื่องจักรในจังหวัดระยอง ในปีที่ผ่านมา บ๊อชในประเทศไทยมีพนักงานประมาณ 1,500 คน
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.bosch.co.th และhttps://www.facebook.com/BoschThailand.
เกี่ยวกับกลุ่มบ๊อช
กลุ่มบริษัทบ๊อช ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีและบริการชั้นนำของโลก มีพนักงานทั่วโลกกว่า 400,000 คน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562) ปี 2562 บริษัทมียอดขายรวมทั้งสิ้นกว่า 77.7 พันล้านยูโร โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจสำคัญได้แก่ กลุ่มโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน กลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร ในฐานะผู้นำทางด้าน IoT (Internet of Things) บ๊อชนำเสนอนวัตกรรมแห่งโซลูชั่นส์เพื่อบ้านอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ ยานยนต์ และ อุตสาหกรรมที่สามารถเชื่อมต่อถึงกัน ด้วยความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีเซนเซอร์ ซอฟท์แวร์ และการให้บริการ รวมถึงไอโอทีคลาวด์ของบ๊อชเอง เราจึงสามารถให้บริการโซลูชั่นส์ที่เชื่อมต่อแบบข้ามโดเมนได้เบ็ดเสร็จจากแหล่งเดียว เป้าหมายกลยุทธ์ของเรา คือการส่งมอบนวัตกรรมและสร้างแรงบันดาลใจเพื่อชีวิตที่เชื่อมต่อถึงกัน ผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเสนอคำตอบที่ล้ำสมัยและเป็นประโยชน์ที่นับได้ว่าเป็น "เทคโนโลยีเพื่อชีวิต" กลุ่มบ๊อช ประกอบด้วยบริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จีเอ็มบีเอช และบริษัทในเครืออีกกว่า 440 บริษัท รวมถึงสำนักงานระดับภูมิภาคในประเทศต่าง ๆ อีกกว่า 60 ประเทศ หากรวมบริษัทคู่ค้าผู้จัดจำหน่ายและให้บริการต่าง ๆ ทั้งส่วนการผลิต งานวิศวกรรม และเครือข่ายด้านการขาย บ๊อชครอบคลุมอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก เพราะพื้นฐานสำคัญสำหรับการขยายตัวในอนาคตของบริษัทขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรม บริษัทมีพนักงานในส่วนการวิจัยและพัฒนากว่า 72,600 คน ในศูนย์วิจัยกว่า 126 แห่งทั่วโลก รวมทั้งวิศวกรด้านซอฟท์แวร์อีกราว 30,000 คน