เบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคตา โรคของระบบประสาท เป็นต้น โดยสามารถควบคุมเบาหวานได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต(Lifestyle modification)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต ประกอบด้วยการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการการมีกิจกรรมและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการนอนหลับให้เพียงพอ ไม่สูบบุหรี่ไม่ดื่มสุรา
หลักการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
อาหารเบาหวานเป็นอาหารปกติสำหรับคนทั่วไปแต่อาจต้องเลือกชนิดของอาหารให้มีคุณภาพและควบคุมปริมาณในการรับประทานที่เหมาะสมเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงหรือต่ำ จนเกินไปซึ่งแต่ละสารอาหารควรมีข้อจำกัดดังนี้
คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารหลักที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากที่สุด
1.1 ข้าว แป้ง ควรรับประทาน ข้าวกล้องหรือข้าวไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวโอ๊ต ลูกเดือย เนื่องจากมีใยอาหารสูง ช่วยในการชะลอระดับน้ำตาลในเลือดได้
1.2 ผัก สามารถรับประทานได้ไม่จำกัดเนื่องจากให้พลังงานต่ำใยอาหารสูง ควรเน้นผักใบเขียวเช่น คะน้า ตำลึง ผักกาดขาว ผักบุ้งแต่อาจมีบางผักบางประเภทที่ควรจำกัดปริมาณการรับประทาน เช่นมันเทศ เผือก ฟักทอง แครอท เพราะมีปริมาณแป้งที่สูงมาก
1.3 ผลไม้ สามารถทานได้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นกับดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index)เช่น แอปเปิ้ล1ผลเล็ก,ส้ม1ผลเล็ก,ฝรั่ง1ผลเล็ก,กล้วยหอม1/2ผล,มะละกอ6-8ชิ้นคำ,แก้วมังกร1/2ผลเป็นต้น ซึ่งในแต่ละวันอาจทานได้2-3ครั้ง/วัน
ทั้งนี้ผู้ที่เป็นเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงน้ำผักผลไม้ เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
โปรตีน ควรบริโภคเนื้อปลาและหรือเนื้อไก่เป็นหลักโดยการทานปลามากกว่า2ครั้ง/สัปดาห์ จะทำให้ได้รับ โอเมก้า3ซึ่งมีอยู่ในปลาแซลมอน,ทูน่า,ปลาทู,ปลาช่อน เป็นต้นและควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปต่างๆ เช่น ไส้กรอก,เบคอน,แฮม,หมูยอ,หมูแผ่น และ หมูหยอง
โซเดียมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานทีมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ควรจำกัดปริมาณโซเดียมในแต่ละวันไม่เกิน2,000มิลลิกรัม/วัน
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 1,160-1,420 มิลลิกรัม
ซีอิ้ว 1 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 960-1,420 มิลลิกรัม
ผงชูรส 1 ช้อนชา มีโซเดียม 497 มิลลิกรัม
เกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม
อาจใช้เครื่องสมุนไพร ในการชูรสอาหารให้มีกลิ่นหอมชวนรับประทานมากขึ้นเช่น ขิง,ข่า,ตะไคร้,ใบมะกรูด(เครื่องต้มยำต่างๆ)
คำแนะนำเพิ่มเติมในการควบคุมน้ำตาลในเลือด
อาจแบ่งอาหารเป็นมื้อที่เล็กลง เพิ่มจำนวนมื้อมากขึ้นแบ่งกระจายระดับน้ำตาลในแต่ละมื้อไม่ให้สูงเกินไปหากเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ (วิงเวียนศรีษะ หน้ามืด)ให้ทำการเช็คระดับน้ำตาลปลายนิ้ว หากผลที่ได้ต่ำให้ทำการแก้ไขโดยดื่มน้ำผลไม้ 100-150 ml แล้วตรวจช้ำ ถ้าไม่ดีขึ้นให้รีบมาพบแพทย์อีกครั้ง