ผิดสังเกตมา 19 ปีแล้ว มาออกอาการทีหลัง!!
ผ่านเรื่องอาการป่วยของวัยรุ่นมาแล้ว คราวนี้จะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นกับคุณผู้หญิงชาวเชียงใหม่วัย 69 ปีที่มิใช่ว่าจะป่วยไข้ด้วยโรคฮิตติดอันดับร้ายแรงแต่อย่างใด หากแต่เกิดปัญหาที่ "นิ้วเท้า" ของเธอเองซึ่งเจ้าตัวคือ "คุณบัวรักษ์ สาธุเม" จำได้ว่าเห็นความผิดปกติตั้งแต่เมื่อ 19 ปีก่อนแล้วแต่ไม่ได้ปรากฎอาการเจ็บปวดให้ระคายเคืองและในที่สุดก็ออกฤทธิ์รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันจนทนไม่ไหวต้องไปพึ่งพาหาหมอที่ "โรงพยาบาลลานนา" ซึ่งใช้บริการกันทั้งครอบครัวอยู่แล้ว โดยได้เผยให้คุณหมอทราบว่า
"?เริ่มเห็นรูปร่างความผิดปกติของเท้าข้างขวา ตั้งแต่เห็นนิ้วเท้าเริ่มคดงอ และเริ่มเบียดกัน โดยเริ่มจากนิ้วชี้เริ่มเบียดกันกับนิ้วโป้ง โดยอาการในระยะแรกอาจจะยังไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ มากนัก ก็คิดว่าไม่เป็นไรมาก คงเป็นไปตามอายุที่มากขึ้นของเราเอง แต่ยิ่งเวลาผ่านไป อาการกลับแย่ลงกว่าเดิม เริ่มเห็นนิ้วเท้าเบียดกัน จนกลายมาเป็นนิ้วเริ่มขี่กันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะนิ้วโป้งหัวแม่เท้าเบียดจนขี่นิ้วชี้ และคดงอ ไปในแต่ละนิ้ว ถ้าหากมันเป็นแค่ลักษณะของนิ้วที่งอเฉยๆ คงจะไม่เป็นไร แต่ในกรณีที่เกิดขึ้นนี้ ยิ่งนานวัน กลับส่งผลให้ดิฉันเกิดอาการเจ็บปวดนิ้วเท้าทุกครั้ง ที่ต้องสวมใส่รองเท้า หรือต้องเดินทำกิจวัตรประจำวัน เป็นความเจ็บปวดนานหลายปี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็อาจจะเดินไม่ได้อีกต่อไป หรือไม่ก็ต้องนอนอยู่แต่บนเตียงเป็นภาระให้ลูกหลานต้องรับภาระเลี้ยงดูต่อไป จึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลลานนา เพื่อให้คุณหมอรักษาอาการที่เกิดขึ้นนี้โดยเร็วที่สุดค่ะ?"
เป็นความผิดปกติที่มักเกิดกับผู้สูงวัย!!!
หลังจากที่คุณหมอประจำ "ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา" ซึ่งเป็น "แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ เชี่ยวชาญพิเศษด้านข้อเท้า" ที่ได้ทำการตรวจวินิจฉัย "คุณบัวรักษ์" คือ "นพ.ปรัชวาล เอี่ยมพร" ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับกรณีที่เกิดกับผู้ป่วยหญิงสูงวัยท่านนี้ว่า
"?เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของนิ้วหัวแม่เท้าที่เกิดการผิดรูป (Hallux Valgus หรือ Bunion) โดยนิ้วหัวแม่เท้าเก หรือบิดโค้งเข้าหานิ้วชี้มากเกินไป จนทำให้กระดูกของนิ้วหัวแม่เท้านูนออกมา ซึ่งในกรณีที่เป็นมาก ๆ นิ้วโป้งเท้าอาจเกทับหรืออยู่ใต้นิ้วเท้าอื่นๆ (Cross over toe) การเอียงของนิ้วเท้าทำให้เส้นเอ็นที่อยู่รอบๆ นิ้วเท้า ถูกดึงยึดมากเกินไป เป็นผลให้เส้นเอ็นขาดความมั่นคง นิ้วเท้าอื่น ๆ จึงเกิดความผิดรูปได้ง่ายมากขึ้นไปอีก นอกจากนั้นยังพบว่ามีภาวะของนิ้วก้อยเอียง (Bunionette หรือ Tailor Bunion) ร่วมอีกด้วย จึงเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดทุกครั้งที่ต้องเดินลงน้ำหนัก ? ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงวัยกลางคนและพบมากในผู้สูงอายุ ซึ่งสาเหตุหลักที่พบมักจะมาจากปัจจัยต่าง ๆ คือ โครงสร้างเท้าที่ผิดปกติ เช่น เท้าแบน หรือกระดูกนิ้วหัวแม่เท้าเอียงออกเอง, พฤติกรรมการสวมรองเท้าที่มีลักษณะหัวแหลม หรือหัวแคบเป็นเวลานานๆ , สาเหตุจากพันธุกรรม, หรือเป็นมาตั้งแต่กำเนิด รวมทั้งผู้ที่มีภาวะโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น เกาต์, รูมาตอยด์ สาเหตุเหล่านี้ก็อาจเป็นต้นตอของภาวะนี้ได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อเกิดภาวะอย่างนี้ขึ้นแล้วจะทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้หารองเท้าใส่ได้ลำบาก ทำให้การเดิน และการใช้ชีวิตประจำวันลำบากมากขึ้น หากผู้ป่วยรายใดไม่ได้สังเกตตนเอง หรือเห็นแต่ไม่ยอมมารักษาโดยปล่อยให้อาการหนักมากขึ้นถึงขั้นเป็นแผลกดทับนิ้วเท้าก็ได้ดังที่ผู้ป่วยบางรายเจอมาแล้วครับ?"
หลากหลายวิธีรักษา?ถ้าเอาไม่อยู่ก็ "ผ่าตัด"
ทางด้านการรักษาภาวะนิ้วเท้าผิดรูปนั้น "คุณหมอปรัชวาล" ในฐานะเป็น "แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ เชี่ยวชาญพิเศษด้านข้อเท้า" อธิบายสรุปว่า "?มีหลายวิธี ตั้งแต่การรักษาเบื้องต้นขณะที่ยังพบอาการในระยะแรก ๆ ซึ่งอาจเลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม ใส่รองเท้าขนาดพอดี หรือการใส่อุปกรณ์ประคองนิ้วโป้งเท้า เช่น เจลคั่นนิ้วเท้า หรืออุปกรณ์กันนิ้วโป้งเบน ซึ่งจะช่วยให้มุมในการที่นิ้วโป้งเท้าเกไม่เพิ่มมากไปกว่าเดิม และเป็นการทำให้เอ็นรอบข้อนิ้วโป้งเท้าหย่อน จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดบริเวณโคนนิ้วโป้งเท้าได้ การทำกายภาพบำบัดเพื่อดัด หรือดึงข้อให้กลับมาอยู่ในแนวปกติได้มากที่สุด ทั้งนี้ควรใช้อุปกรณ์เสริมร่วมด้วย รวมไปถึงการรับประทานยา เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้น เว้นแต่ในรายของผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีอาการรุนแรงโดยเกิดอาการปวดและข้อได้ผิดรูปมากจนเห็นได้ชัดว่านิ้วเท้าได้เบียดจนขี่ทับกันดังในกรณีของผู้ป่วยหญิงสูงวัยรายที่กล่าวถึงนี้จะไม่สามารถรักษาตามวิธีขั้นต้นได้แล้ว จึงจำเป็นต้องพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุด โดยแพทย์จะใช้การตัดต่อกระดูก แม้ว่าจะมีกระบวนการที่หลากหลาย แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว จะมีการตัดกระดูกที่เท้าในส่วนที่เป็นปัญหาออกไป และจัดกระดูกที่นิ้วเท้าใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาเท้าผิดรูป แล้วยึดกระดูกด้วยโลหะ ร่วมกับการปรับแต่งกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อรอบ ๆ โดยจำเป็นจะต้องรักษาความเสถียรของเท้าผู้ป่วยให้เหมือนเดิม เพื่อให้สามารถเดินได้อย่างมั่นคงต่อไปครับ?"
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการผ่าตัดเท้านั้น "คุณหมอปรัชวาล" สรุปว่าอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับแพทย์กระดูกทั่วไป ด้วยเหตุที่โครงสร้างกระดูกเท้า เส้นเอ็น หรือกล้ามเนื้อรอบ ๆ เท้ามีความซับซ้อน และมีความสัมพันธ์กันทั้งหมด และจำเป็นต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเท้าโดยเฉพาะเป็นผู้รักษา เพื่อให้บังเกิดผลสำเร็จที่สามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยนั่นเอง
"นิ้วเท้าเอียงผิดรูป" หายไปหลังการรักษา?
หลังจากได้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดที่ "โรงพยาบาลลานนา" เป็นที่เรียบร้อย "คุณบัวรักษ์" ก็มีคิวนัดไปให้ "คุณหมอปรัชวาล" ตรวจติดตามผลการรักษาและได้เผยความในใจให้ทีมงาน "อุ่นใจ?ใกล้หมอ" ได้ทราบถึงความรู้สึกโดยระบุว่า
"?หลังจากการผ่าตัดรักษาเท้าในช่วง 3 เดือนแรก ดิฉันยังจำเป็นต้องดูแลตัวเองอย่างใกล้ชิดและต้องใช้เครื่องพยุงตัวเองเพราะยังลงน้ำหนักที่เท้าไม่ได้ แต่หลังจาก 3 เดือนแผลก็เริ่มหายดี กล้ามเนื้อโดยรอบก็สมานตัวดีแล้วจึงลงน้ำหนักและเดินได้ โดยที่ความเจ็บปวดทรมานจากนิ้วเท้าที่เบียดทับกันเริ่มหายไป สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นสุขอีกครั้งหนึ่งค่ะ?"
เห็นไหมครับว่าแค่อวัยวะส่วนล่างที่มีขนาดเล็กนิดเดียวอย่าง "นิ้วเท้า" ก็มีโอกาสสร้างปัญหาให้คนที่เป็นเจ้าของนิ้วเท้าต้องทนทุกข์ทรมานเพียงใด?ยังดีที่ในแวดวงโรงพยาบาลในบ้านเราได้อาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยีก้าวหน้าทางการแพทย์มามีบทบาทในการบำบัดรักษาดังที่ผู้ป่วยรายนี้และอีกหลาย ๆ รายได้ไปพึ่งพา "ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา" ก็ช่วยให้สามารถ "ก้าวข้ามความทุกข์ทรมาน" จากการเจอภาวะ "นิ้วเท้าเอียงผิดรูป" มีปัญหากระดูกข้อเท้า แพทย์เฉพาะทางด้านข้อเท้ารักษาได้อย่างปลอดภัยไร้ปัญหาในที่สุด..
"นิ้วเท้าเอียงผิดรูป" หายไปหลังการรักษา?
หลังจากได้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดที่ "โรงพยาบาลลานนา" เป็นที่เรียบร้อย "คุณบัวรักษ์" ก็มีคิวนัดไปให้ "คุณหมอปรัชวาล" ตรวจติดตามผลการรักษาและได้เผยความในใจให้ทีมงาน "อุ่นใจ?ใกล้หมอ" ได้ทราบถึงความรู้สึกโดยระบุว่า
"?หลังจากการผ่าตัดรักษาเท้าในช่วง 3 เดือนแรก ดิฉันยังจำเป็นต้องดูแลตัวเองอย่างใกล้ชิดและต้องใช้เครื่องพยุงตัวเองเพราะยังลงน้ำหนักที่เท้าไม่ได้ แต่หลังจาก 3 เดือนแผลก็เริ่มหายดี กล้ามเนื้อโดยรอบก็สมานตัวดีแล้วจึงลงน้ำหนักและเดินได้ โดยที่ความเจ็บปวดทรมานจากนิ้วเท้าที่เบียดทับกันเริ่มหายไป สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นสุขอีกครั้งหนึ่งค่ะ?"
เห็นไหมครับว่าแค่อวัยวะส่วนล่างที่มีขนาดเล็กนิดเดียวอย่าง "นิ้วเท้า" ก็มีโอกาสสร้างปัญหาให้คนที่เป็นเจ้าของนิ้วเท้าต้องทนทุกข์ทรมานเพียงใด?ยังดีที่ในแวดวงโรงพยาบาลในบ้านเราได้อาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยีก้าวหน้าทางการแพทย์มามีบทบาทในการบำบัดรักษาดังที่ผู้ป่วยรายนี้และอีกหลาย ๆ รายได้ไปพึ่งพา "ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา" ก็ช่วยให้สามารถ "ก้าวข้ามความทุกข์ทรมาน" จากการเจอภาวะ "นิ้วเท้าเอียงผิดรูป" มีปัญหากระดูกข้อเท้า แพทย์เฉพาะทางด้านข้อเท้ารักษาได้อย่างปลอดภัยไร้ปัญหาในที่สุด..