การค้าผิดกฎหมายมีแนวโน้มเติบโตขึ้นหลังการแพร่ระบาด โดยในรายงานได้ออกคำแนะนำ เพื่อรับมือกับการค้าผิดกฎหมาย และกลุ่มอาชญกรรมข้ามชาติ
สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป (EU-ABC) ซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวสำหรับธุรกิจในยุโรปที่ทำตลาดครอบคลุมภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด ได้ออกรายงานฉบับล่าสุดที่มีชื่อว่า "การต่อสู้กับการค้าผิดกฎหมายในอาเซียน" (Tackling Illicit Trade in ASEAN) ในขณะนี้การค้าผิดกฎหมายเป็นเรื่องที่อาเซียนต้องเร่งผลักดัน เจ้าหน้าที่กำลังเตรียมการสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (AMMTC) ครั้งที่ 14 ที่กำลังจะมาถึง รายงานนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีที่รัฐบาลและผู้นำในอุตสาหกรรมทำงานร่วมกันเพื่อแนะนำการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนนี้
ทั้งนี้ มีตัวเลขคาดการณ์ว่าการค้าผิดกฎหมายจะทำลายเศรษฐกิจโลกราว 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับสินค้าลอกเลียนแบบมีมูลค่าราว 461 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขนาดของตลาดสินค้าปลอมมีมูลค่าสูงถึง 35.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] และสภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป คาดว่า ตลาดสินค้าลอกเลียนแบบจะมีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เวียดนามยึดหน้ากากอนามัย 3M ปลอมได้กว่า 150,000 ชิ้น ขณะที่ฟิลิปปินส์ยึดเวชภัณฑ์มูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าผิดกฎหมายทำให้รัฐสูญเสียรายได้ และกระทบต่อธุรกิจที่ดำเนินงานอย่างถูกต้อง และยังส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อชีวิตมนุษย์และสิทธิมนุษยชน เมื่อเข้าใจถึงผลกระทบที่เป็นอันตรายของอุตสาหกรรมการค้าที่ผิดกฎหมาย ผู้นำอาเซียนได้แสดง ความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ ท่ามกลางความท้าทายและภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่เกิดจากการระบาดของโควิด -19 รวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ให้มากขึ้น ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 เมื่อเร็ว ๆ นี้
คริส ฮัมฟรีย์ ผู้อำนวยการบริหาร สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป กล่าวย้ำถึงความมุ่งมั่นของคณะมนตรีในการแก้ไขปัญหานี้ โดยกล่าวว่า "คาดว่าตลาดค้าของปลอมในอาเซียนมีมูลค่าเกือบ 10% ของการค้าระหว่างประเทศ สำหรับสินค้าเหล่านี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหากปล่อยทิ้งไว้อุตสาหกรรมที่ผิดกฎหมายนี้จะเติบโตขึ้นในช่วงเวลาที่เราต้องเผชิญกับวิกฤตด้านสุขภาพและเศรษฐกิจที่ไม่เคยประสบมาก่อน กลุ่มผู้ปลอมแปลงและผู้ค้าของเถื่อน ใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของระบบ ดังนั้นแล้ว ผู้นำอาเซียนจำเป็นต้องเห็นความเร่งด่วนในการประสานงานและร่วมมือกันเพื่อต่อต้านปัญหาข้ามแดนนี้ เราเข้าใจดีว่าการแก้ปัญหานี้มีความสำคัญมากและผู้นำรัฐบาลไม่สามารถจัดการเรื่องนี้ได้โดยลำพัง พวกเราที่คณะมนตรีพร้อมที่จะสนับสนุนความพยายามของอาเซียนในการต่อสู้กับการค้าผิดกฎหมายและผลกระทบเชิงลบที่จะตามมา"
สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโปร ได้ร่วมกับ Societe Generale de Surveillance (SGS) ซึ่งเป็น บริษัท ด้านการตรวจสอบชั้นนำของโลก และฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล จัดเวิร์กชอปการฝึกอบรมเสมือนจริงเพื่อสร้างความตระหนักในประเด็นการค้าผิดกฎหมายโดยเน้นเฉพาะเรื่องความเสี่ยง เทคนิคการทำโปรไฟล์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้บริหารศุลกากร ในการระบุสินค้าที่ผิดกฎหมายได้ดีขึ้น งานดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ศุลกากรกว่า 80 คนเข้าร่วมในงานประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค โดยได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม เช่น นายคริสทาฟ ชิมเมอออร์แมน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาของ SGS เพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีที่ประเทศในอาเซียนจะทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น และรับมือกับภัยคุกคามระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นของการปลอมแปลงและการค้าที่ผิดกฎหมาย
ดร. แพทริก คอส หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ บริษัท Roche Pharma APAC กล่าวว่า "การค้าผิดกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับส่วนผสมของยา ตัวยา และเครื่องมือวินิจฉัยโรค นับเป็นเรื่องที่อันตรายต่อชีวิตและความเป็นไปของผู้ป่วย และจำเป็นต้องมีการป้องกัน อาชญากรอาศัยช่วงโควิด-19 กอบโกยผลประโยชน์ ดังนั้น การปกป้องผลิตภัณฑ์และผู้ป่วยจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสูงสุด ทำให้เกิดดำเนินการเชิงรุก เพื่อต่อต้านการปลอมแปลงและใช้ระบบซัพพลายเชนที่มีความปลอดภัย ผมขอแนะนำอย่างยิ่งให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ และความพยายามของรัฐบาลในการพัฒนากฎหมายที่เข้มแข็งขึ้น และปรับปรุงการบังคับใช้ ให้ความรู้กับประชาชน และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของแต่ละประเทศ"
การเติบโตของการค้าผิดกฎหมาย สร้างความกดดันให้กับการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วงเวลาที่ผู้นำต้องการสร้างฐานทางการเงินใหม่หลังจากใช้จ่ายเงินหลายพันล้านเพื่อให้แน่ใจว่าวิกฤตสุขภาพจะไม่ลุกลามไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ตัวอย่างเช่น เมียนมาร์ผลิตหยกมูลค่า 12-31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่มีการลักลอบนำออกมากถึง 80% ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียรายได้ทางภาษี[3]
ลิซ่า บีชทิเจอร์ จาก PMI และหัวหน้ากลุ่มต่อต้านการค้าผิดกฎหมาย สภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน กล่าวว่า" องค์กรการค้าและอาชญากรที่ผิดกฎหมายกลายพันธุ์โยกย้ายและปรับเปลี่ยนสถานการณ์ใหม่ วิกฤต โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น เกิดการค้าผิดกฎหมายบนอีคอมเมิร์ซ การเติบโตที่เห็นนับตั้งแต่เดือนมีนาคมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ โลกหลังโควิดจะส่งผลกระทบต่อวิธีที่เราในฐานะตัวแทนของภาครัฐและเอกชนและภาคประชาสังคมมีปฏิกิริยาตอบสนอง การทำงานร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมภาครัฐและเอกชนไม่เคยมีความสำคัญมากไปกว่านี้ ถึงเวลาที่อาเซียนจะลงมือทำแล้ว"
แก็งค์ทำสินค้าลอกเลียนแบบเป็นภัยคุกคามทางการเงินและชื่อเสียงต่อแบรนด์ดัง ในขณะที่ธุรกิจต่างๆ มองไปถึงช่วงเทศกาลที่กำลังจะมาถึง การดูแลปกป้องแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ โรบิน สมิธ รองประธานและที่ปรึกษาของกลุ่มเลโก้ เอเชียแปซิฟิกและจีน กล่าวว่า "การวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าเด็ก ๆ ต้องการเวลาเล่นกับครอบครัวมากขึ้น และพ่อแม่เห็นว่าการเล่นเป็นกิจกรรมสำคัญที่ทำให้ทุกคนในครอบครัวได้รับความบันเทิงในช่วงการระบาดของโควิด-19 แต่อย่างไรก็ดี จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้เองทำให้ของเล่นด้อยคุณภาพมีการซื้อขายอย่างผิดกฎหมาย จากสินค้าที่ขายไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก ในภูมิภาคอาเซียนควรมีการดูแลให้เด็กมีความเพลิดเพลินในการเรียนรู้ผ่านการเล่นด้วยความปลอดภัยและมีความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการปกป้องจากอันตรายที่อาจเกิดจากของเล่นที่ซื้อขายผิดกฎหมาย การลงทุนของอาเซียนในการต่อต้านการค้าที่ผิดกฎหมายในปัจจุบันจะส่งผลที่ดีในอนาคตและจะมีส่วนสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียนที่มั่งคั่งและปลอดภัยสำหรับคนรุ่นต่อไป"
เจฟฟรีย์ ฮาร์ดี ผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มพันธมิตรข้ามชาติเพื่อต่อต้านการค้าผิดกฎหมาย (TRACIT) ผู้เขียนร่วมของรายงานฉบับนี้กล่าวว่า "เรายินดีที่ได้ร่วมมือกับสภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน (EU-ABC) เพื่อจัดการกับการค้าผิดกฎหมายในรูปแบบต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ อาชาญกรรมดังกล่าวส่งผลกระทบในวงกว้าง ดังนั้น ภาครัฐ สังคม และธุรกิจไม่ควรมองข้าม รายงานฉบับนี้ ได้กล่าวถึงประเด็นเร่งด่วนที่รัฐบาลควรใช้ความพยายามมากขึ้นในการนำกรอบภูมิภาคที่แข็งแกร่งมาใช้ เพื่อต่อสู้กับการค้าที่ผิดกฎหมายอย่างมีประสิทธิผล ขณะนี้ รัฐบาลอาเซียนมาถูกทางแล้ว ผลการวิจัยจากรายงานแสดงให้เห็นว่าต้องให้ความสำคัญกับการบังคับใช้ การจัดสรรทรัพยากร และการยกระดับความร่วมมือในภูมิภาค TRACIT และ EU-ABC เป็นกลุ่มความร่วมมือโดยรัฐบาลอาเซียนในการอุดช่องว่างการกำกับดูแลเหล่านี้และนำเสนอแนวร่วมต่อต้านกลุ่มอาชญากรที่ซื้อขายสินค้าผิดกฎหมาย"
ในขณะที่อาเซียนมองไปข้างหน้าเพื่อเข้าสู่ภาวะปกติแบบใหม่ ภายในภูมิภาคจำเป็นต้องเปลี่ยนบทเรียนในการล็อคดาวน์ ให้เป็นระบบการกำกับดูแลหลังวิกฤตที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยต้องทำความเข้าใจว่ากลุ่มอาชญากรใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนได้อย่างไรบ้าง ถึงเวลาของอาเซียนแล้วที่จะต้องเอาจริงกับเรื่องนี้ หากไม่มีการดำเนินการใด อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและวิกฤติในการรักษาพยาบาล
เกี่ยวกับสภาธุรกจิอาเซียน-สหภาพยุโรป
สภาธุรกจิอาเซียน-สหภาพยุโรป EU-ASEAN (EU-ABC) เป็นหน่วยงานหลัก สำหรับธุรกิจในยุโรปที่ทำตลาดครอบคลุมภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด
สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรปได้รับการยอมรับจากคณะกรรมาธิการยุโรปและสำนักเลขาธิการอาเซียนและเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองภายใต้ภาคผนวก 2 ของกฎบัตรอาเซียน จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลผลประโยชน์ของธุรกิจในยุโรปที่ดำเนินงานภายในอาเซียน และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างยุโรปและภูมิภาคอาเซียน EU-ABC ทำงานบนพื้นฐานของหลากหลายอุตสาหกรรมเพื่อช่วยปรับปรุงเงื่อนไขการลงทุนและการค้าสำหรับธุรกิจในยุโรปที่ดำเนินธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน มีอิทธิพลต่อนโยบายและผู้มีอำนาจตัดสินใจทั่วทั้งภูมิภาคและในสหภาพยุโรป รวมทั้งทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวคิดระหว่างสมาชิก และผู้เล่นระดับภูมิภาคในภูมิภาคอาเซียน
สมาชิก EU-ABC ประกอบด้วย บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ในยุโรปและหอการค้ายุโรป 9 แห่งจากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ EU-ABC มีสมาชิกจากอุตสาหกรรมที่หลากหลายของยุโรป ตั้งแต่การผลิตรถยนต์ไปจนถึงบริการทางการเงิน และรวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภค สมาชิกทุกองค์กรมีความสนใจร่วมกันในการส่งเสริมการค้า และการลงทุนระหว่างยุโรปและอาเซียน
ผู้อำนวยการบริหารของสภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป คือ นายคริส ฮัมฟรีย์ และประธานคือ นายโดนัลล์ แคแนก สภานำโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งประกอบด้วยผู้นำองค์กรที่เป็นตัวแทนของภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญและตัวแทนของหอการค้ายุโรป
[1] TRACIT (2019) Mapping the Impact of Illicit Trade on the Sustainable Development Goals
[2] Transnational Organized Crime in Southeast Asia. UNODC, 2019.
[3] Myanmar steps up fight against illicit trade. UNCTAD, 2020.