นอกจากเรา "เสียภาษีทางตรง" จากการที่กรมสรรพากรเรียกเก็บทุกปีอย่าง "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" หรือ "ภาษีนิติบุคคล" แล้ว ยังมี "เสียภาษีทางอ้อม" ที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บจากผู้บริโภคเมื่อขายสินค้าและบริการต่าง ๆ อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specification Business Tax) และอากรแสตมป์ (Stamp Duty) โดยข้อมูลการเก็บภาษีจากกรมสรรพากรที่รวบรวมโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) ระบุในปี 2562 "ภาษีมูลค่าเพิ่ม" คือภาษีที่มีมูลค่าการจัดเก็บสูงที่สุดถึง 6 แสนล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าการใช้จ่ายแต่ละวันของเราล้วนข้องเกี่ยวกับการเสียภาษี ตั้งแต่เราลืมตาตื่นหยิบยาสีฟันหลอดใหม่ที่เพิ่งซื้อมาจากร้านสะดวกซื้อเมื่อคืน เติมน้ำมันรถในปั้มข้างบ้านหรือซื้อตั๋วโดยสารรถประจำทางเพื่อไปทำงานต่อ จ่ายเงินซื้ออาหารจานด่วนหลากหลายมื้อตามร้านอาหาร ไปจนถึงการจ่ายค่าโทรศัพท์ ค่าเน็ต และค่าช็อปปิ้งใน Supermarket รวมถึงการช็อปในโลกออนไลน์
ข้อมูลจาก ธปท. ระบุ ณ เดือนกันยายน 2563 คนไทยมีเงินฝากเฉลี่ยต่อบัญชีเพียง 4,754 บาทเท่านั้น! สวนทางกับความเป็นจริงที่ว่า "เงินออม" เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในทุกช่วงของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นช่วงเริ่มต้นทำงานในวัย 24-25 ปี ที่หลายคนต้องการเก็บเงินเพื่อรถคันแรก หรือขยับมาช่วงวัย 28-35 ปี ที่อยากเก็บเงินไว้สร้างครอบครัว บ้านหลังแรก และเป็นทุนการศึกษาให้ลูก หรือแม้แต่ช่วงเกษียณในวัย 60 ปี สำหรับผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษีที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 11-12 ล้านราย และกลุ่มผู้เสียภาษีหน้าใหม่อย่างวัยเริ่มต้นทำงาน ถึงเวลาแล้วที่ควรเริ่มลงมือวางแผน "ลดหย่อนภาษี" อย่างจริง ๆ จัง ๆ เพราะเป็นสิทธิที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ นอกจากสร้างหลักประกัน ลดค่าใช้จ่าย แถมยังเพิ่มเงินออมเก็บไว้ใช้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในอนาคต หากเราวางแผนไว้แต่เนิ่น ๆ ก็จะมีเงินออมใช้จ่ายเหลือ ๆ แบบคูล ๆ และคุ้มค่ายิ่งขึ้นถ้าการลงทุนนั้นสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีก ลองตรวจเช็คตารางการลดหย่อนภาษี ทั้งกองทุนรวมและประกันฯ ปี 2563 และคำนวณเงินภาษีที่ต้องจ่ายตามด้านล่างเพื่อเริ่มต้นการเป็นนักลงทุนแบบ Cashless
วันนี้การลงทุนพลิกโฉมไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านการเงินที่ก้าวหน้าไปไกล เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการลงทุนได้สะดวกเหมือนเราใช้จ่ายผ่านแอปฯ e-Wallet ทั้งการเปิดบัญชีออมทรัพย์ บัญชีกองทุนรวม หรือจะเลือกซื้อประกันฯ ก็ทำได้ผ่านแอปฯ แบบไม่ต้องใช้เงินสด อย่าปล่อยให้โค้งสุดท้ายในการได้สิทธิ์ลดหย่อนฯ หลุดลอยไป สำหรับใครที่กำลังมองหาการลงทุนแนวใหม่ในกองทุนรวม ทรูมันนี่ มีหลัก 4 ข้อ มาให้พิจารณาง่าย ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ ดังนี้
- อ่านให้เยอะนโยบายการลงทุนของกองทุนเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะลงทุนในธุรกิจประเภทไหน เน้นหุ้นเติบโต หุ้นปันผล หุ้นขนาดใหญ่ หรืออ้างอิงตามดัชนี SET50 หาอ่านข้อมูลให้มาก ๆ จาก "หนังสือชี้ชวน" ซึ่งมีข้อมูลอยู่ในเว็บไซต์ของแต่ละกองทุนก่อนตัดสินใจ
- เสี่ยงน้อย เสี่ยงมาก รับได้แค่ไหน แน่นอนว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง เราสามารถรับความเสี่ยงได้มากก็สามารถลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงมาก แต่หากเรารับความเสี่ยงได้ค่อนข้างจำกัด ก็ต้องหันมาพิจารณากองทุนที่ลงทุนในหุ้นไม่เกิน 70%
- มีเงินปันผลให้ด้วยหรือไม่ สำหรับคนมองการณ์ไกล นอกจากจะซื้อไว้ใช้ลดหย่อนภาษีได้แล้ว ถ้าหากกองทุนนั้นมีการจ่ายเงินปันผลด้วยก็เหมือนกับการได้กำไรสองเด้ง
- เช็คประวัติการดำเนินงานกองทุนที่เราสนใจซื้อ ว่ามีผลการดำเนินงานย้อนหลังในรอบ 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี เป็นอย่างไร ถ้าเป็นกองทุนที่จ่ายปันผลก็ต้องดูว่าจ่ายปันผลสม่ำเสมอหรือไม่ เพราะผลการดำเนินงานในอดีตและปัจจุบัน ไม่ได้การันตีอนาคต
ทำไมต้องลงทุนผ่าน e-Wallet
ด้วยนวัตกรรมการเงินล้ำ ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อการลงทุนสมัยใหม่โดยเฉพาะ ช่วยปิดข้อจำกัด ทลายความกังวลใจเรื่องการลงทุนให้กับทั้งนักลงทุนมือใหม่และมือเก๋า ที่สำคัญ "1 บาทก็เริ่มลงทุนได้" ผ่านแอปฯ TrueMoney Wallet ตัวช่วยลดหย่อนภาษียุค Cashless Society ที่มีจุดเด่นมากมาย ดังนี้
- เริ่มต้นง่าย มือใหม่ไร้กังวล ยังไม่เปิดพอร์ตก็เข้ามาดูและศึกษาการลงทุนได้ เพราะมีบทความแนะนำมากมาย เข้าใจง่าย เข้าถึงง่ายกว่าเดิม เริ่มลงทุนได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ ใช้เวลาเปิดบัญชีไม่ถึง 10 นาที ก็สามารถเปิดพอร์ตการลงทุนและเข้าถึงกองทุนรวมกว่า 600 กองทุน แบบไม่ต้องไปสาขา หรือเตรียมเอกสารให้ยุ่งยาก
- ไม่จำกัดค่าย ซื้อกองทุนได้แบบไม่จำกัดค่าย กว่า 10 บลจ. และมีกองทุนที่เริ่มต้นเพียงหนึ่งบาทก็ลงทุนได้ ลูกค้าที่มีเงินในบัญชีที่ยังไม่นำไปใช้จ่ายจึงสามารถเอาไปลงทุนให้งอกเงยได้อย่างสบาย รวมถึงมีกองทุนจาก บลจ. ที่เราสามารถลงทุนโดยตัดจากบัตรเครดิต
- มีเทคโนโลยีล้ำ ๆ ที่เข้าใจความต้องการนักลงทุนทุกคน ด้วย Disruptive Customer Journey และจัดทำ Personalized Fund Guide ที่เหมาะกับนักลงทุนโดยเฉพาะ จัดเรียงกองทุนตาม performance ที่ผู้ใช้สามารถตั้งค่าดูได้เองง่าย ๆ
- เชื่อมต่อนวัตกรรม e-Wallet เข้ากับบริการ FundConnext ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ช่วยให้นักลงทุนสามารถศึกษาการลงทุน ติดตามหนังสือชี้ชวนการลงทุน คำแนะนำต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ซื้อ หรือขายกองทุนผ่านหน้าแดชบอร์ดในแอปพลิเคชั่นได้แบบเรียลไทม์
สำหรับใครที่กำลังมองหา กองทุนรวม SSF/RMF หรือวางแผนซื้อประกันฯ ผ่านแอปพลิเคชั่น TrueMoney Wallet สามารถคลิกอ่านรายละเอียดและเริ่มลงทุนวันนี้เพื่อความมั่งคั่งในวันหน้าได้ที่ https://www.truemoney.com/taxsaving/
เกี่ยวกับ TrueMoney (ทรูมันนี่)
TrueMoney คือผู้นำด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนท์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มุ่งเน้นให้บริการทางการเงินแก่ผู้คนรวมไปถึงผู้ที่เข้าไม่ถึงบริการของสถาบันทางการเงิน โดยให้บริการใน 6 ประเทศในภูมิภาคได้แก่ ประเทศไทย กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
TrueMoney ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2546 และเข้าเป็นธุรกิจหนึ่งของบริษัท Ascend Money ในปี พ.ศ. 2557 และเป็นพันธมิตรกับบริษัท Ant Financial Services Group ใน พ.ศ. 2559 ปัจจุบัน ทรูมันนี่ ให้บริการด้านการเงินที่หลากหลายผ่าน TrueMoney Wallet แอปพลิเคชั่นอีวอลเล็ทที่ได้รับความนิยมสูงสุดที่ช่วยอำนวยความสะดวกและทำให้การใช้จ่ายเป็นเรื่องง่าย อีกทั้งตอบโจทย์กับทุกไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้ ทรูมันนี่ ยังมีเครือข่ายตัวแทนที่ครอบคลุมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการบริการรับชำระเงินแบบออฟไลน์ทั้งหมดนี้เพื่อมอบความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมทางการเงินให้กับหลายล้านคนเพื่อก้าวล้ำไปสู่ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น