นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ในการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ต่อภาคการส่งออกของไทย EXIM BANK ได้ออก "มาตรการพักชำระหนี้ในพื้นที่สีแดง สีส้ม และสีเหลือง" เพื่อเข้าไปดูแล ช่วยเหลือ สนับสนุนลูกค้า ทั้งที่เป็นผู้ผลิตเพื่อผู้ส่งออกและผู้ส่งออก ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดหรือพื้นที่สีแดง (Red zone) สีส้ม (Orange zone) และสีเหลือง (Yellow zone) ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ดังนี้
- พักชำระหนี้เงินต้น ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน
- พิเศษ! พักชำระดอกเบี้ย เป็นระยะเวลาสูงสุด 3 เดือน สำหรับผู้ประกอบการอาหารแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็ง และผักผลไม้
ลูกค้า EXIM BANK สามารถแจ้งความประสงค์ขอพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยได้ทางเว็บไซต์ของธนาคาร www.exim.go.th หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารที่ดูแลลูกค้า ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 มีนาคม 2564 โดยธนาคารจะติดต่อกลับภายใน 3 วันทำการ
ขณะเดียวกัน EXIM BANK ยังมีมาตรการฟื้นฟูกิจการลูกค้าที่ประสบปัญหาสภาพคล่องจากผลกระทบของโควิด-19 โดยจำแนกลูกค้าเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการของกิจการ ก่อนจะเข้าไปดูแลในรูปแบบการ "ส่งเสริม-ผ่อนปรน-ขยายระยะเวลา-ประคับประคอง" ดังนี้
ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถขอขยายระยะเวลา เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระเงินกู้ให้สอดคล้องกับธุรกิจ และขอรับวงเงินสินเชื่อเพิ่มได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 ธันวาคม 2564
EXIM BANK ติดตามสถานการณ์ผลกระทบของโควิด-19 อย่างใกล้ชิด และออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2563 โดยช่วยเหลือลูกค้าด้วยการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุดนาน 6 เดือนไปแล้วกว่า 1,400 ราย เป็นจำนวนเงิน 36,853 ล้านบาท และหลังจากนั้น มีลูกค้าติดต่อขอรับมาตรการฟื้นฟูกิจการ เป็นจำนวนเงิน 4,050 ล้านบาท ล่าสุด EXIM BANK จึงได้เพิ่มมาตรการที่จะเข้าไปดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แม้จะได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นจากการระบาดของโควิดระลอกใหม่ อาทิ ขาดแคลนวัตถุดิบ ขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนการขนส่งเพิ่มสูงขึ้น หรือผู้ซื้อปฏิเสธสินค้า โดยเฉพาะสินค้าอาหาร อาหารทะเลแช่แข็ง และผักผลไม้ของไทย เพื่อช่วยให้ภาคเศรษฐกิจและการส่งออกของไทยสามารถเติบโตต่อไปได้ รอจังหวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์ของผู้บริโภคต่อสินค้าส่งออกของไทยในระยะถัดไป