ข้าวมาบุญครอง สานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นเกษตรกรไทย "ผ้าขาวม้าทอมือ" สร้างความภาคภูมิใจจากผู้ให้ สู่ความสุขใจของผู้รับ สร้างรายได้ให้เกษตรกรสู้ภัยโควิด - 19

ข่าวทั่วไป Tuesday January 26, 2021 09:31 —ThaiPR.net

ข้าวมาบุญครอง สานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นเกษตรกรไทย

ข้าวมาบุญครองขอมอบ "ความสุข และสุขภาพดี ให้กับคนที่คุณรัก" ด้วยชุดผลิตภัณฑ์ข้าวเพื่อสุขภาพ ภายใต้คอนเซ็ปท์ "Rice-Style for All Lifestyle ไลฟ์สไตล์ไหน ๆ Rice-Style ข้าวมาบุญครอง" หลากหลายผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพ ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ภายใต้บรรจุภัณฑ์กระเป๋าผ้าขาวม้าทอมือ ที่ข้าวมาบุญครองขอจับมือพี่น้องเกษตรกร ฝ่าวิกฤติที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกัน สู่การส่งเสริมอาชีพเสริมให้กับพี่น้องเกษตรกรในช่วงหมดฤดูการเก็บเกี่ยว สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สานต่อความภาคภูมิใจจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จากผลิตภัณฑ์ "ผ้าขาวม้าทอมือ" สร้างความภาคภูมิใจจากผู้ให้ สู่ความสุขใจของผู้รับ ต่อยอดสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร และชุมชนอย่างยั่งยืน

นางสาวพรพิมล กิริวรรณา ผู้อำนวยการสายการตลาด บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ข้าวมาบุญครองได้จัดกิจกรรมตอบแทนสังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งกับภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น เพื่อความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น โดยในปี 2564 นี้ ข้าวมาบุญครองได้จัดแคมเปญพิเศษ จับมือพี่น้องเกษตรกร ในการจัดทำชุดของขวัญข้าวเพื่อสุขภาพ บรรจุในกระเป๋าพรีเมี่ยมผ้าข้าวม้าทอมือ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สานต่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคอีสาน จากชุมชนบ้านม่วงเจริญ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ประกอบเป็นอาชีพเสริมในช่วงหมดฤดูกาลทำนา ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ให้ผลิตภัณฑ์ โดยเป็นการบูรณาการร่วมกัน ที่ข้าวมาบุญครองจะเข้ามาดีไซน์ตั้งแต่เฉดสีของเส้นไหม และดีไซน์รูปแบบกระเป๋า ให้โดดเด่น ผู้รับสามารถนำไปใช้งานต่อได้หลายประเภท เพื่อนำมาเป็นของขวัญช่วงเทศกาลพิเศษให้กับลูกค้า รวมทั้งจำหน่ายให้กับลูกค้าทั่วไป เพื่อมอบเป็นของขวัญที่สร้างความภาคภูมิใจจากผู้ให้ และสร้างความสุขใจให้กับผู้รับ

นายจีรศักดิ์ ศรีนาม กำนันตำบลสระทอง เปิดเผยว่า "จากเดิมที่ชาวบ้านทำเพียงอาชีพเดียวเป็นอาชีพหลัก คือทำนา โดยจะปลูกข้าวหอมมะลิพันธุ์ 105 เป็นหลัก ต่อมาในปี 2549 ภาครัฐมีการอบรมพัฒนาชุมชนส่งเสริมอาชีพเสริม สานต่อภูมิปัญาท้องถิ่น ที่ชาวบ้านมีพื้นฐานอยู่แล้วคือการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าไหมและผ้าขาวม้า เพื่อใช้เองภายในครัวเรือน เมื่อเริ่มทอจริงจังก็ประสบปัญหาคือผลิตเป็นแต่ไม่มีที่ขาย จึงเริ่มจากการไปออกบูธตามงานต่างๆ รวมทั้งผู้นำชุมชนท้องถิ่นเองก็ช่วยซื้อไปแจกตามงานต่างๆ จนผลิตภัณฑ์เริ่มเป็นที่รู้จักของตลาด หลังจากนั้นเริ่มมีลูกค้าเข้ามาหาถึงที่หมู่บ้าน โดยยึดมั่นในความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า อาชีพนี้ช่วยเสริมรายได้ให้กับคนในหมู่บ้าน โดยเฉพาะกลุ่มสตรี รวมทั้งผู้สูงวัยผู้ชายในการเลี้ยงหม่อนไหม เมื่อชาวบ้านมีอาชีพเสริม รายได้มากขึ้น อิ่มท้อง หลับสบาย แล้วเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมกับกลุ่มมากยิ่งขึ้น สร้างสัมผัสที่ดี และมีความสามัคคีมากยิ่งขึ้น"

นางสาวสุนันทา ละเอียด ปลัดอำเภอชำนาญการพิเศษ และรักษาราชการแทนนายอำเภอหนองหงส์ กล่าวว่า ทางอำเภอ ร่วมกับพัฒนาการอำเภอหนองหงษ์ เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เรื่องของการผลักดันให้กลุ่มทอผ้าบ้านหนองหงส์เข้าร่วมเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และผลักดันให้เป็น OTOP 5 ดาว เพื่อให้เป็นกลุ่มชุมชนที่แข็งแรง และง่ายต่อการพัฒนา นอกจากการพัฒนาภายในชุมชนแล้ว ทางอำเภอยังดำเนินการโดยการเชื่อมโยงของดีแต่ละตำบล เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งอำเภอของจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อช่วยสนับสนุนกัน อาทิ หากมีคำสั่งซื้อเข้ามามาก จะมีกลุ่มชุมชนอื่นที่ได้มาตรฐานเช่นเดียวกันมาช่วยซัพพอร์ตเพื่อให้ทันเวลา ในขณะเดียวกันได้หาสิ่งใหม่ๆ ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนมีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น โดยได้ดำเนินการบูรณาการกับราชภัฎบุรีรัมย์ เพื่อร่วมกันพัฒนาให้ผ้าทอมือมีสีติดทน อยู่นาน ผ้านิ่มมากขึ้น โดยล่าสุดอยู่ระหว่างการผลิตเครื่องย้อมสี เพื่อช่วยลดขั้นตอนการผลิต ลดต้นทุน และระยะเวลาการผลิตให้เร็วขึ้น รวมทั้งทางอำเภอกำลังนำวิชาชีพพิเศษเข้าสู่กระบวนการศึกษาเพื่อให้เยาวชนเรียนรู้ และต่อยอดสู่รายได้ เพื่อให้ลูกหลานกลับมาต่อยอด กลับคืนสู่บ้านเกิด


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ