ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยฝ่ายบริหารอสังหาริมทรัพย์ ได้ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาพื้นที่ต้นแบบทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา โมเดล" ร่วมสืบสานศาสตร์ของพระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG Model เปลี่ยนข้อได้เปรียบที่ไทยมีจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้เป็นความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ประชุมหารือ เรื่อง การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา โมเดล" ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ทาง Google Meet โดยมี พลตรีธนพัฒน์ โชคดารา หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและรักษาการหัวหน้าฝ่ายบริหารอสังหาริมทรัพย์ และ ดร.ณรงค์พันธ์ ฉุนรัมย์ รักษาการหัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน สำนักพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ร่วมรับฟังแนวคิดและแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการ "โคก หนอง นา โมเดล" ในพื้นที่ตำบลปากช่อง และตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน โดยมีประเด็นสำคัญจากการประชุม เพื่อการดำเนินโครงการต่างๆ ดังนี้1. โครงการสำรวจปัญหาของชุมชนและข้อมูลภูมิสังคมโดยรอบพื้นที่โครงการ2. โครงการจัดทำแผนที่แสดงระดับความสูง/เส้นชั้นความสูง3. โครงการจัดทำผังแม่บททางกายภาพของอุทยานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พื้นที่ต้นแบบทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา โมเดล"#โคกหนองนาโมเดล#อุทยานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์#ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์#เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต