ISSDC เข้าถึงเยาวชนไทยได้เป็นครั้งแรก โครงการประกวดออกแบบการตั้งนิคมอวกาศนานาชาติของไทย

ข่าวทั่วไป Thursday February 18, 2021 13:54 —ThaiPR.net

ISSDC เข้าถึงเยาวชนไทยได้เป็นครั้งแรก โครงการประกวดออกแบบการตั้งนิคมอวกาศนานาชาติของไทย

พิรดา เตชะวิจิตร์ เข้าร่วมการประกวดออกแบบนิคมอวกาศนานาชาติของไทยในตำแหน่งผู้นำ

ตลอดชีวิต 36 ปีที่ผ่านมา คุณพิรดา เตชะวิจิตร์ ได้ทำการท้าทายแรงโน้มถ่วงและทำลายเพดานกระจกที่คอยขวางกั้นความก้าวหน้าของพวกเราหลายคนไว้ได้อย่างแท้จริง หลังจากที่คุณพิรดาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยได้ไม่นาน เธอก็เติบโต ในหน้าที่การงานอย่างรวดเร็วจนกลายมาเป็นวิศวกรดาวเทียมที่ถูกจับตามองที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย ถึงแม้ว่าเธอได้เข้ามาอยู่ในสาขาที่โดยปกติแล้วจะถูกจับจองโดยผู้ชายเป็นส่วนมาก

ในช่วงวัยยี่สิบตอนปลาย คุณพิรดาได้ไปออกรายการทีวีชื่อดังของไทยรายการหนึ่ง และในเวลาเพียงหนึ่งปีต่อมาเธอก็ได้เป็นนักบินชาวไทยคนแรกที่ได้มีโอกาสนั่งบนจรวด Lynx Mark II หลังจากที่ได้ถูกคัดเลือกอย่างพิถีพิถันโดยคณะกรรมการ จากวงการการสำรวจอวกาศ ซึ่งประกอบไปด้วยนักสำรวจอวกาศชื่อดังอย่างคุณ Buzz Aldrin และในฐานะที่เป็นผู้หญิงคนเดียว จากผู้เข้ารอบสุดท้ายสามคนของประเทศไทย การที่เธอได้รับชัยชนะจากการแข่งขัน AXE Apollo Space Academy ซึ่งถือเป็นความสำเร็จอันสูงสุดในอาชีพการบินอวกาศของเธออีกด้วย

ในฐานะวิศวกรดาวเทียมที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย คุณพิรดาได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงานกับ สอวช. (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) และได้ฝึกทักษะการขับเครื่องบินจากฐานทัพอากาศกำแพงแสนและดอนเมือง และยังได้ฝึกทักษะการบินอวกาศจากสหรัฐอเมริกาหลังจากที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิศวกรรมขั้นสูงแล้วด้วย

คนทั่ว ๆ ไปคงจะมีความสุขดีกับการได้ทำงานภายในโครงการดาวเทียมของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันได้เป็นโครงการประจำในวงการการสำรวจอวกาศ แต่คุณพิรดากลับให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการช่วยเหลือเยาวชนไทยให้ไปให้ไกลถึงดวงดาว ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา เธอได้กลายมาเป็นผู้นำในโครงการ STEMLAB และ FABLAB ในประเทศไทย ซึ่งเป็นชุดห้องปฏิบัติการพิเศษที่ถูกจัดตั้งตามโรงเรียนมัธยมปลายหลายแห่ง ซึ่งมีวิศวกรมาคอยช่วยเหลือนักเรียนที่มีพรสวรรค์ในการพัฒนาโครงงานต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของศตวรรษที่ 21 นี้ โดยที่คุณพิรดาได้ช่วยจัดตั้งโครงการต้นแบบสองแห่งแรก และเมื่อเร็ว ๆ นี้ยังได้มามีส่วนเกี่ยวร่วมในโครงการบอลลูนระยะสูง (high-altitude balloon) โครงการหนึ่ง ในขณะที่โครงการ STEMLAB/FABLAB ได้ขยายออกไปถึง 170 แห่ง

ปัจจุบันคุณพิรดาได้เข้าร่วมโครงการประกวดออกแบบการตั้งนิคมอวกาศนานาชาติของไทย (Thai International Space Settlement Design Competition, ISSDC-TH) ในฐานะกรรมการบริหารการพัฒนาอวกาศสำหรับเยาวชนไทยคนแรก ซึ่ง ISSDC นั้นเป็นโครงการริเริ่มด้านการศึกษาที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 โดยเป็นมรดกตกทอดจากการร่วมมือระหว่างองค์การ NASA และองค์กรลูกเสือแห่งสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันนี้ ISSDC กำลังดำเนินงานใน 35 ประเทศทั่วโลก และประเทศไทยเป็นประเทศแรกในสมาคมอาเซียนที่เข้าร่วมการแข่งขันระดับโลกอันทรงเกียรติรายการนี้ในปี พ.ศ. 2563

ISSDC แห่งประเทศไทย เป็นทั้งการแข่งขันและการจำลองอุตสาหกรรมอวกาศที่น่าตื่นเต้นสำหรับนักเรียนมัธยมปลายที่มีพรสวรรค์ที่สุดในประเทศไทย (อายุระหว่าง 14 ถึง 18 ปี) โดยนักเรียนจะต้องจัดตั้งทีมโรงเรียนขึ้นมาทีมละ 10 คน และยื่นเสนอไอเดียที่คิดขึ้นกันเอง เป็นเทคโนโลยีอวกาศใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้ในนิคมอวกาศที่มีประชากรระดับ 10,000 คน โดยงานที่เสนอจากนักเรียนจะได้รับการตรวจสอบโดยวิศวกรจากองค์กรการบินและอวกาศที่มีชื่อเสียง เช่น องค์การ NASA และบริษัท Boeing และยังจะได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศท่านอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น คุณพิรดา เตชะวิจิตร์

เมื่อการออกแบบได้รับการอนุมัติแล้วนักเรียนในทีมจะได้มีโอกาสเข้ามาพบเห็นชีวิตจริงของเหล่าวิศวกร และนักวิทยาศาสตร์การบินและอวกาศ อีกทั้งยังได้เข้ามาสร้างความสัมพันธ์กับพวกเขาโดยตรงแม้ในขณะที่ยังเป็นนักเรียนมัธยม โดยที่พวกวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์จะเข้ามาช่วยนักเรียนค้นหาวิธีการแก้ปัญหาทางเทคนิคต่าง ๆ และใช้เวลาทำงานด้วยกันเป็นเดือน ๆ ในขณะที่ทีมนักเรียนคอยรวบรวมและขัดเกลาแนวคิดของตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันระดับชาติครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นในกรุงเทพมหานครในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้

ในฐานะผู้อำนวยการบริหารด้านการพัฒนาการบินและอวกาศของการแข่งขัน ISSDC แห่งประเทศไทย

คุณพิรดา เตชะวิจิตร์ จะสามารถช่วยเหลือโครงการ ISSDC ทั่วโลกโดยการนำ ISSDC เข้าถึงเยาวชนไทยได้เป็นครั้งแรก นักเรียนที่ชนะการแข่งขันระดับชาติของประเทศไทยนั้นจะได้ไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาคเอเชีย ที่ประเทศอินเดียในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 และทีมนักเรียนที่ชนะการแข่งขันที่นั่นจะได้รับโอกาสครั้งหนึ่งในชีวิตในการบินไปยังสหรัฐอเมริกากับคุณพิรดา และเข้าร่วมการแข่งขันที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีขององค์การ NASA ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยมีค่าใช้จ่าย 5,000 บาท ในการสมัครสำหรับนักเรียน 10 คน หรือ 1 ทีม

คุณพิรดาได้แบ่งปันความรู้จากประสบการณ์ตรงของเธอกับคณะกรรมการบริหารของการแข่งขัน ISSDC แห่งประเทศไทย ทีมนี้ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความสามารถ ประกอบไปด้วยคุณ Jason Jellison นักข่าว และนักวิชาการที่ชื่อเสียงในฐานะประธาน คุณอรนุช คุณาธิโรจน์  ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ และรวมไปถึงสมาชิกคนสำคัญจากหน่วยงานอวกาศอื่น ๆ ทั่วโลก โดยพวกเขาทุกคนกำลังแบกรับความหวังและความฝันของผู้นำด้านอวกาศรุ่นใหม่ ๆ จากประเทศไทยอยู่ในขณะนี้

การแข่งขัน ISSDC แห่งประเทศไทย ได้มีบริษัท Astrium Competitions จำกัด เข้ามาเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข็งขัน และทางโครงการมุ่งมั่นที่จะรักษาต้นทุนให้ต่ำที่สุดสำหรับนักเรียนไทย คุณพิรดา เตชะวิจิตร์ เคยบอกกับนักข่าวเกี่ยวกับการช่วยเหลือนักเรียนเก่ง ๆ ระดับมัธยมปลายให้พยายามไปให้ถึงสิ่งที่มุ่งหวัง และไปให้ถึงมหาวิทยาลัยระดับ Ivy League ว่า

 "รู้สึกดีใจจริง ๆ ที่ความพยายามของดิฉันทำให้ตัวดิฉันเองประสบความสำเร็จ และยิ่งไปกว่านั้น ดิฉันสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นทำตามความฝันของตัวเอง และเดินทางออกไปสู่อวกาศได้ด้วย"

ในฐานะผู้อำนวยการบริหารด้านการพัฒนาการบินและอวกาศของการแข่งขัน ISSDC แห่งประเทศไทย คุณพิรดา

เตชะวิจิตร์ จะไม่เพียงแต่สร้างแรงบันดาลใจให้คนออกไปสู่อวกาศ แต่ยังช่วยให้เหล่าเยาวชนที่มีพรสวรรค์ที่สุดของประเทศไทยได้ออกไปสู่สถานที่ที่น้อยคนจะสามารถไปถึง  และในขณะที่บางคนอาจจะโต้แย้งว่า "ท้องฟ้าคือขีดจำกัด" คุณสามารถวางใจได้เลยว่าคุณพิรดากับบรรดานักเรียนเก่ง ๆ ในโครงการ ISSDC จะเมินเฉยต่อความคิดโบราณ ๆ แบบนั้น และจะมุ่งหน้าเดินทางไปสู่ดวงดาวต่อไป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ISSDC แห่งประเทศไทยได้ที่เว็บไซต์ www.thaissdc.org และติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook เพจ : https://www.facebook.com/TH.SSDC The Space Settlement Design Competition, Thailand - Thai SSDC

คุณสามารถติดต่อประธานโครงการ คุณ Jason Jellison เพื่อสอบถามข้อมูลหรือขอสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษได้ตามที่อยู่อีเมลส่วนตัวหรือที่อยู่อีเมลบริษัท ISSDC แห่งประเทศไทย info@thaissdc.org หรืออีเมลส่วนตัวที่ mitnoy@live.com

สำหรับติดต่อสอบถามเป็นภาษาไทย กรุณาส่งข้อความหาคุณอรนุช คุณาธิโรจน์ (ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ) ผ่านที่อยู่อีเมล astrium.th@gmail.com

 


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ