ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นประธานการประชุมพนักงานทุกระดับ (Town Hall Meeting) ครั้งที่ 1/2564 ณ สำนักงานใหญ่ บสย. ห้องประชุมชั้น 21 อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ 2 และผ่านระบบ Conference ไปยังสำนักงานสาขา และกลุ่มพนักงานที่ Work from Home เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 โดยกล่าวขอบคุณเพื่อนพนักงาน บสย.ที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ทำงานเต็มความสามารถตลอดปีที่ผ่านมา ท่ามกลางวิกฤตรอบด้าน ซึ่งสามารถช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ ด้วยสถิติการค้ำประกันสินเชื่อที่น่าทึ่ง โดยยังได้กล่าวถึงเส้นทางความสำเร็จ บสย. ที่แสดงถึงการเติบโต ก้าวไกลและแข็งแกร่ง ทั้งทีมหน้าบ้าน กลางบ้าน และ หลังบ้าน ความสามารถในการติดตามหนี้ ความสามารถในด้านการบริหารการลงทุน และความร่วมใจผลักดันยอดค้ำประกันสินเชื่อทะลุ 1 ล้านล้านบาทเป็นผลสำเร็จ ผลดำเนินงานที่สมบูรณ์แบบทุกด้านนี้ พิสูจน์ให้เห็น จากการได้รับรางวัลแห่งความสำเร็จ "Bank of the Year 2020" จากเครือดอกเบี้ย
แผนการดำเนินงานของ บสย.ในปี 2564 คือ การพัฒนาองค์กรและเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างรายได้ระยะยาว โดยเน้นแผนธุรกิจที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน และเห็นผลจริง เพื่อปิด Gap การดำเนินงาน ทั้งด้านระบบดิจิทัล และไอที อาทิ CGS, Auto Approve, Core Guarantee System, Data Management Platform, HRMS รวมถึงการออก TCG Digital Plus เพื่อการชำระเงินที่สะดวก แม่นยำ และเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานของ บสย. รวมถึงการปรับปรุงระบบการวิเคราะห์ การอนุมัติ และการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ยืดหยุ่น เหมาะกับความต้องการของผู้ประกอบการในภาวะวิกฤต
โดยในปีนี้ได้วางบทบาท 3 กลุ่มงานหลักคือ 1. สายงานบริหารช่องทางและพัฒนาผู้ประกอบการ สู่การเป็น Bank Agent มอบหมายให้สำนักงานเขตเป็น Profit Center สร้างรายได้ เพิ่มศักยภาพศูนย์ให้คำปรึกษาการเงิน SMEs หรือ บสย. F.A. Center เน้นช่วยเหลือและแก้ไขหนี้ ผลักดันให้ ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อ และเป็นศูนย์การพัฒนาบุคคลากร บสย. สู่การเป็นหมอหนี้เพื่อ SMEs 2.สายปฎิบัติงาน วางเป้าการขยายฐานประนอมหนี้ ผ่านช่องทางใหม่ ๆ 3.สายงานกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ ชูบทบาทพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ และการขยายเครือข่ายสถาบันการเงินสู่กลุ่ม Non-Bank นอกจากนี้ยังได้เตรียมพัฒนาส่วนงานต่าง ๆ รองรับแผนการสร้างรายได้ (Financial Performance) ได้แก่ การปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพิ่มรายจากธุรกรรมค้ำประกันสินเชื่อ เพิ่ม Service Fee และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ SMEs (SMEs Data Bank)