รู้จัก 4 สารอันตรายใน "ครีมเร่งขาว" ภัยร้ายที่อยู่คู่ค่านิยมความขาวในสังคมไทย

ข่าวทั่วไป Monday February 22, 2021 16:35 —ThaiPR.net

รู้จัก 4 สารอันตรายใน

ทุกวันนี้เราอาจคิดว่าหัวข้อเรื่อง 'สีผิว' คือทอปปิกที่เอาท์ไปแล้ว เพราะไม่ว่าสีที่ผิวหนังของใครจะเป็นสีอะไรหรือโทนไหน เขาคนนั้นก็ สวย-หล่อในแบบของตัวเอง ชนิดที่คงไม่มีใครหยิบยกประเด็นนี้มานั่ง เมาท์กันแล้วด้วยซ้ำ

แต่หารู้ไม่ว่าในสังคมที่แสนศิวิไลซ์นี้ ยังมีการเมาท์เรื่องสีผิวกัน เป็นปกติ และแน่นอน ยังมีการบูชา 'ความขาว' ไว้บนหิ้ง ชนิดที่วลี 'ยิ่ง ขาว ยิ่งสวย' ยังคงใช้ได้ดีแม้ในปี 2021 แต่ที่แย่ไปกว่านั้น ความเชื่อนี้ ยังนำมาซึ่งอันตรายที่เรารู้จักกันในชื่อ 'ครีมเร่งขาว' หรือศูนย์รวมสาร เคมีตัวร้าย ที่พร้อมทำลายผิวและร่างกายให้ตายทั้งเป็นได้ในทีเดียว

แพทย์หญิงณัฐินี จิตครองธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านตจ ศัลยศาสตร์ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลเรื่องอันตรายจากครีมเร่งขาวไว้ว่า "ตัวครีมเร่งขาวส่วนใหญ่จะ ประกอบด้วยสารอันตรายอยู่ 4 ตัว ที่มีฤทธิ์ลอกผิว ทำให้เซลล์ผิวผลัด เร็วกว่าปกติ และทำให้ผิวไวต่อแสงแดดมากขึ้น และหากใช้เป็นเวลา นาน ร่างกายดูดซึมสารเหล่านี้เข้าไปปริมาณมาก ก็จะส่งผลเสียกับ อวัยวะภายใน จนเป็นอันตรายร้ายแรง"

โดยทั่วไปแล้ว ครีมเร่งขาวจะมีสารเคมีที่ทำให้เซลล์ผิวเสื่อม สภาพเป็นส่วนผสมหลักอยู่แล้ว ซึ่งถ้าโชคดี ครีมที่ว่าก็อาจมีสาร อันตรายผสมอยู่ 1-2 ชนิด แต่ถ้าบังเอิญหยิบไปเจอแจ็คพอตเมื่อไร ครีม เร่งขาวกระปุกนั้นก็อาจมี สารปรอท, ไฮโดรควิโนน, กรดวิตามินเอ และ สเตียรอยด์ กวนรวมกันอยู่ครบครันเลยก็ได้

"แล้วมันอันตรายยังไงล่ะ ก็เห็นใช้แล้วขาวขึ้นตั้งแต่เดือนแรกเลย นี่" นั่นล่ะค่ะ ถ้าบังเอิญว่าเผลอไปใช้ครีมจนคิดเองว่าได้ผล แสดงว่า สารอันตรายในนั้นเริ่มส่งผลใน 'ระยะเฉียบพลัน' กับผิวแล้ว เพราะใน ระยะแรก สารทั้ง 4 ตัว จะมีกลไกผลัดเซลล์ผิวในรูปแบบที่ต่างกันออก ไป

"ปรอท" จะลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน และทำให้เซลล์ผิวหนังผลัด ไวมากขึ้น จึงทำให้ผิวขาวขึ้นได้อย่างรวดเร็ว "ไฮโดรควิโนน" จะออก ฤทธิ์โดยการยับยั้งการสร้างเม็ดสี จึงทำให้ผิวดูขาวขึ้น "กรดวิตามิน เอ" จะกระตุ้นการแบ่งเซลล์ผิว เร่งการผลัดเซลล์ของผิว รวมทั้งยับยั้ง การสร้างเม็ดสี จึงทำให้รู้สึกว่าทาแล้วผิวขาว ส่วน "สเตียรอยด์" จะมี ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี เช่นเดียวกันกับไฮโดรควิโนน

สรุปง่ายๆ ที่เห็นว่าสารทั้ง 4 ทำให้ผิวขาวขึ้น ล้วนแต่เกิดจาก กลไกผลัดเซลล์ผิวอย่างรวดเร็วทั้งสิ้น ซึ่งผลจากการผลัดเซลล์ผิวเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดการระคายเคือง แสบร้อน ไวต่อแสง เกิดผื่นแดง และ อาจทำให้เกิดรอยด่างดำตามมา แต่หากคิดว่านี่น่ากลัวแล้ว เรายัง อยากให้คุณได้รู้จักกับอันตรายในเฟส 2 ที่จะส่งผลเสียกับอวัยวะ ภายในโดยตรง ของอาการ 'ระยะเรื้อรัง'

"การใช้ครีมเป็นเวลาติดต่อกันนานๆ จะทำให้เกิดการดูดซึมสาร ต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย จนเกิดอันตรายกับระบบต่างๆภายในร่างกายอย่าง เรื้อรัง" คุณหมอณัฐินี กล่าว "กรดวิตามินเอ ทำให้เกิดภาวะผิวด่างหรือ ภาวะผิวคล้ำผิดปกติ และหากใช้ขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกพิการได้ ส่วนสเตียรอยด์ จะทำให้เกิดตุ่มแดงคล้ายสิวจำนวนมาก ที่เราเรียกว่า สิวสเตียรอยด์ ต้นเหตุของรอยดำ-รอยแดง และปัญหาหลุมสิวถาวร ทั้ง ยังทำให้เส้นเลือดใต้ผิวหนังหดหรือขยายตัวผิดปกติ รวมไปถึงปัญหา ผิวแตกลายอย่างถาวรอีกด้วย

"แต่สำหรับไฮโดรควิโนนและปรอท จะอันตรายกว่านั้น โดยผล เสียของการใช้ ไฮโดรควิโนน โดยไม่อยู่ในการดูแลของแพทย์ จะทำให้ ผิวไวต่อแสงแดดได้ง่าย เกิดผิวคล้ำและฝ้าถาวร ส่วนกรณีร้ายแรงยัง อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังในอนาคต

"ด้าน ปรอท ถือเป็นสารที่สะสมในร่างกายได้เร็วที่สุด และส่งผล ร้ายแรงที่สุดเช่นเดียวกัน เริ่มจากมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนัก ลด ปลายประสาทอักเสบ ทำให้มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ทรงตัวผิดปกติ ชัก หรือเกิดอาการประสาทหลอน และยังทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง รวมถึงผลเสียต่อระบบหัวใจ ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง หัวใจเต้นผิด จังหวะ จนถึงอันตรายต่อชีวิต"

ทีนี้เราคงจะได้รับรู้อันตรายของครีมเร่งขาวทั้ง 2 ระยะกันไปแล้ว ซึ่งวิธีการป้องกันอันตรายจากสิ่งเหล่านี้ที่ดีที่สุด ก็คงจะเป็นการไม่หยิบ มาใช้ตั้งแต่แรก แต่หากใครเผลอใช้ครีมเหล่านี้แบบไม่ตั้งใจ จนเกิดผล ข้างเคียงกับผิว คำแนะนำเดียวคือให้หยุดใช้ แล้วรีบไปพบแพทย์ เพื่อ ประเมินสภาพผิว ความรุนแรงของผลข้างเคียง แล้วค่อยทำการรักษา ในลำดับถัดไป

ส่วนอีกคำแนะนำหนึ่งจาก คุณหมอณัฐินี ก็คือให้ลองวางค่านิยม ของการมีผิวขาวลงก่อน แล้วตัดครีมเร่งขาวออกจากตัวเลือกในใจ เปลี่ยนเป็นครีมชุ่มชื้นที่เหมาะกับสภาพผิวของเราเอง จะทำให้เซลล์ผิวดู อิ่มน้ำ ไม่แห้งกร้าน ดูเนียน ดูกระจ่างใส ที่สำคัญคือใส่ความมั่นใจลง ไปอีกนิดว่า "ผิวของเรานั้นดูดี ในแบบที่เป็นตัวของตัวเองที่สุดแล้ว"

ติดตามเกร็ดความรู้และข้อมูลสุขภาพที่น่าสนใจเพิ่มเติม กับโรงพยาบาลพระรามเก้า ได้ที่ Website: www.praram9.com / Line: https://lin.ee/vR9xrQs หรือ @praram9hospital


แท็ก โทน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ