SCB PRIVATE BANKING สานต่อยุทธศาสตร์องค์กรผลักดันธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) หนึ่งในธุรกิจหลักสำคัญที่จะสร้างการเติบโตให้กับธนาคารทดแทนรายได้แบบเดิม โดยเน้นการเพิ่มรายได้ที่มาจากการลงทุน พร้อมชูกลยุทธ์รุกตลาดไพรเวทแบงก์กิ้ง ภายใต้แนวคิด "BEAT THE BENCHMARK" ผ่าน 3 แกนหลักสำคัญ ได้แก่ 1) Wealth Preservation วางแผนต่อยอดความมั่งคั่งส่วนบุคคลให้กับลูกค้า ด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและทีมที่ปรึกษาด้านการเงินการลงทุนส่วนบุคคลระดับมืออาชีพ 2) Wealth Creation บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจ เน้นการสร้างความมั่งคั่งในทุกโอกาสการลงทุนแบบใหม่ เสริมสร้างสภาพคล่องเพื่อสร้างความมั่งคั่ง และ3) SCB Financial Group ผสานความแข็งแกร่งของกลุ่มไทยพาณิชย์ ครบเครื่องทั้งด้านองค์ความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ของทีมงานระดับมืออาชีพ ครอบคลุมเรื่องการเงิน การลงทุน และการทำธุรกิจ ตั้งเป้าสิ้นปี 2566 มี AUM แตะระดับ 1 ล้านล้านบาท เพิ่มขีดความสามารถด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงสุดที่เหมาะกับความเสี่ยงของลูกค้า และนำไปสู่การสร้างมาตรฐานใหม่ที่สามารถครองใจลูกค้าไพรเวทแบงก์กิ้งของเมืองไทย
นายสารัชต์ รัตนาภรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยว่า "ภาพรวมเวลธ์ทั่วโลก มีการคาดการณ์ว่าในปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตกว่าปีละ 7% จากปี 2561 โดยเฉพาะในจีน และกลุ่มเอเชียแปซิฟิค1 ธุรกิจเวลธ์ในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าทรัพย์สินมีโอกาสเติบโตปีละ 5% โดยเฉพาะในกลุ่มบุคคลที่มีความมั่งคั่งระดับสูง (High Net Worth Individuals/ HNWIs) ขึ้นไป2 ไทยพาณิชย์มองเห็นโอกาสจากการเติบโตของตลาดและจากการเป็นสถาบันการเงินอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ที่มีฐานลูกค้าบุคคลมากกว่า 16 ล้านคน และมีฐานเงินฝากติดอันดับ 1 ใน 3 ของประเทศ ทำให้ไทยพาณิชย์สามารถต่อยอดในการทำธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) และสามารถช่วยวางแผนการเงินให้กับลูกค้าได้เต็มรูปแบบและครบวงจร ที่สำคัญธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) นับเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์องค์กรที่สร้างการเติบโตให้กับธนาคารอย่างยั่งยืนทดแทนธุรกิจเดิม"
"ตั้งแต่ปี 2560 เราได้ดำเนินการตามแผน Wealth Transformation จนกระทั่งในปี 2563 ที่ผ่านมาการดำเนินธุรกิจของ SCB Wealth ทำรายได้โตสวนกระแสทั้งธุรกิจการลงทุนและธุรกิจประกัน สร้างผลกำไรให้กับธนาคารกว่า 15% หรือคิดเป็นสัดส่วน 56% ของรายได้ที่มาจากค่าธรรมเนียม และด้วยความสามารถในการให้คำปรึกษา ธนาคารจึงได้วางเป้าหมายธุรกิจเวลธ์ในอีก 3 ปีข้างหน้า ภายใต้แนวคิด "BEAT THE BENCHMARK" ที่มาจากการให้ความสำคัญต่อการได้รับความเชื่อมั่นและความไว้วางใจที่ลูกค้ามอบให้กับไทยพาณิชย์ เราจึงทุ่มเทและเน้นในเรื่องของการดูแลให้คำปรึกษาด้านการบริหารพอร์ตการลงทุนของลูกค้า คัดสรรผลิตภัณฑ์ โซลูชันด้านการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดและเหนือกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดได้ (Beat the market) นอกจากนี้ เรายังคงมุ่งมั่นพัฒนารูปแบบการให้บริการด้านการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้คำปรึกษา พร้อมยกระดับการให้บริการที่สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนให้กับลูกค้า SCB Wealth รวมถึงนักลงทุนชาวไทย และนำไปสู่การสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Set the new benchmark) โดยเป้าหมายหลักของธนาคาร คือ ก้าวขึ้นเป็นที่หนึ่งในใจลูกค้าเวลธ์ และเป็นส่วนสำคัญในการรับผิดชอบต่อสังคม ให้คนไทยมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินและการลงทุนอย่างเหมาะสม" นายสารัชต์ กล่าวเสริม
นายณรงค์ ศรีจักรินทร์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า "ปัจจุบันภาพรวมของ SCB Wealth มีฐานลูกค้าจำนวนกว่า 300,000 ราย โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ลูกค้า SCB PRIME มีสินทรัพย์ 2-10 ล้านบาท กลุ่ม SCB FIRST มีสินทรัพย์ 10-50 ล้านบาท และกลุ่ม SCB PRIVATE BANKING มีสินทรัพย์ 50 ล้านบาทขึ้นไป และเพื่อเป็นการขานรับยุทธศาสตร์องค์กรในการผลักดันธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) หนึ่งในธุรกิจหลักสำคัญที่จะสร้างการเติบโตให้กับธนาคารอย่างยั่งยืน เราจึงปรับกลยุทธ์การบริหารธุรกิจเวลธ์ ด้วยยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า Wealth Transformation ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อสร้างรากฐานใหม่ในการทำธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management)โดยเน้นการสร้างขีดความสามารถในการให้คำปรึกษา (Advisory Capability) ควบคู่ไปกับการปรับ Operating Model พัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชันด้านการลงทุนในรูปแบบของ Open Architecture ที่คัดสรรเป็นพิเศษจากพันธมิตรด้านการลงทุนและประกันกว่า 35 แห่ง เพื่อให้ลูกค้าได้มีทางเลือกด้านการลงทุน ที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีและสามารถเพิ่มความมั่งคั่ง นอกจากนี้เรายังให้ความสำคัญกับการสร้างศักยภาพของ RM (Relationship Manager) ให้มีความรู้ ความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนเต็มรูปแบบอย่างมืออาชีพ ตอกย้ำบทบาทสำคัญของธนาคารในฐานะ "Trusted Partner" สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่วางรากฐานไว้ได้ส่งผลให้สิ้นปี 2563 ที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) เติบโตกว่า 25% สำหรับกลยุทธ์หลักของกลุ่มธุรกิจ SCB Wealth ในปี 2564 จะโฟกัสและมุ่งเน้นการเติบโตของเซกเมนต์ไพรเวทแบงก์กิ้ง ด้วยการเปิดตัวโฉมใหม่ของธุรกิจ SCB PRIVATE BANKING กับกลยุทธ์ในการให้คำปรึกษาจากทีมผู้เชี่ยวชาญครบวงจรและเต็มรูปแบบ"
ดร.เมธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน PRIVATE BANKING ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า "ปี 2563 ที่ผ่านมานับเป็นปีที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ตลาดการเงินการลงทุนทั่วโลกต้องเผชิญกับความผันผวนอย่างสูงประกอบกับการแข่งขันอย่างดุเดือดในธุรกิจ "ไพรเวทแบงก์กิ้ง" ที่แต่ละสถาบันต่างพร้อมใจกันขนโซลูชันทางการเงิน พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารความมั่งคั่ง เข้ามาดูแลกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่งระดับสูง สำหรับ SCB PRIVATE BANKING ได้สร้างปรากฏการณ์ในปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่อยู่ภายใต้การบริหาร (AUM) กว่า 850,000 ล้านบาท และหากพิจารณาเฉพาะ Investment AUM (ไม่รวมเงินฝาก) จะมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ 570,000 ล้านบาท และยังสามารถสร้างผลตอบแทนจากการบริหารพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าได้สูงถึง 14.9% ในระยะเวลา 1 ปี (1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 2563) ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนประเภทความเสี่ยงปานกลางตามคำนิยามของ AIMC3 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนารูปแบบการให้บริการจาก service-led เป็น advisory-led relationship ด้วยแผนบริหารการเงินการลงทุนที่ออกแบบเป็นพิเศษเฉพาะลูกค้าแต่ละราย (Personalized Asset Allocation) เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีบนความเสี่ยงที่ลูกค้าสามารถรับได้ โดยในปี 2564 นี้ SCB PRIVATE BANKING ยึด 3 กลยุทธ์แกนหลักอันเป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่
"หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของไทยพาณิชย์ คือ การขยายฐานลูกค้ากลุ่มไพรเวทให้เติบโตไปพร้อมกับก้าวใหม่ของธนาคาร มุ่งมั่นพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินแบบครบวงจร บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจอย่างครอบคลุมรอบด้านจากบุคลากรระดับมืออาชีพ และความแข็งแกร่งของกลุ่มไทยพาณิชย์ จะสามารถบริหารความมั่งคั่งที่ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า คาดว่าภายใต้ 3 กลยุทธ์หลักของ SCB PRIVATE BANKING ที่มุ่งพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำธุรกิจจะช่วยผลักดันให้ภายในสิ้นปี 2566 จะมี AUM แตะที่ระดับ 1 ล้านล้านบาท สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงสุดที่เหมาะกับความเสี่ยงของลูกค้า และนำไปสู่การสร้างมาตรฐานใหม่ที่สามารถครองใจลูกค้าไพรเวทแบงก์กิ้งของเมืองไทย" ดร.เมธินี กล่าวเสริม