แม้ว่าสตรีไทยจะต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายหลากหลายรูปแบบตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าสตรีเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับประเทศ และสตรีไทยเป็นเจ้าของธุรกิจในประเทศรวม 23.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพูดถึงบทบาทของสตรีในฐานะผู้นำทางธุรกิจ ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ผลสำรวจจากดัชนีผู้ประกอบการสตรีของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Women Entrepreneurs หรือ MIWE) ประจำปี 2563 เผยว่า ประเทศไทยติดอันดับที่ 11 จาก 58 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับ โดยมาจากการให้คะแนนตัวชี้วัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและโอกาสสำหรับสตรีในประเทศนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 6 ของอันดับด้านผลความก้าวหน้าของสตรี (Women's Advancement Outcome) ซึ่งวัดความก้าวหน้าและระดับการยอมรับทางทัศนคติที่มีต่อสตรีในฐานะผู้นำทางธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ และแรงงานที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในหน้าที่การงานและในระบบเศรษฐกิจ
ขณะเดียวกัน สตรีในประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 11 ของการจัดลำดับด้านความรู้ (Knowledge Assets) และความสามารถในการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial. Access) ซึ่งพิจารณาโอกาสของสตรีในการกู้ยืม และสะสมเงินเพื่อทำธุรกิจ ตลอดจนการสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ในอันดับต้นๆ ของผลสำรวจ ยังมีตัวชี้วัดบางตัวชี้ให้ว่า ยังมีศักยภาพที่ไม่ได้รับการพัฒนาหลงเหลืออยู่ในประเทศ
แต่ความก้าวหน้าของสตรีกำลังถดถอยลง
ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 35 ของการจัดอันดับด้วยตัวชี้วัดด้านการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจ (Entrepreneurial Supporting Conditions) ซึ่งพิจารณาความลื่นไหลในการประกอบธุรกิจ และมุมมองด้านวัฒนธรรมเกี่ยวกับผู้ประกอบการ ถึงแม้สตรีในไทยจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางธุรกิจในประเทศไทย ผลการจัดอันดับจากตัวชี้วัดนี้สะท้อนให้เห็นว่า โครงสร้างเพื่อการสนับสนุนธุรกิจของสตรีในประเทศไทยยังมีช่องว่างสำหรับการพัฒนา เพื่อก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิดการมีส่วนรวมทางการเงิน
ผลสำรวจจากดัชนีผู้ประกอบการสตรีของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Women Entrepreneurs หรือ MIWE) ล่าสุด ชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจบางประเภทได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดและมีแนวโน้มจะเกิดการผันแปรมากกว่าธุรกิจอื่นๆ อาทิ ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ที่พักอาศัย ร้านอาหาร อุตสาหกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธุรกิจด้านข้อมูลและการสื่อสาร ผลสำรวจพบว่า สามในสี่ของธุรกิจซึ่งมีผู้ประกอบการเป็นสตรี อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด ในขณะที่ธุรกิจซึ่งมีผู้ประกอบการเป็นบุรุษ ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์[1] ในเวลาเดียวกัน ผลสำรวจจากองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) เผยว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีทั่วโลกมากกว่าครึ่งจะไม่สามารถรอดพ้นจากสถานการณ์โรคระบาดในครั้งนี้ ในประเทศไทย เกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นธุรกิจที่มีการดำเนินการโดยผู้ประกอบการสตรี[2] ดังนั้น การวางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่มีแนวทางครอบคลุมการสนับสนุนธุรกิจและผู้ประกอบการสตรีนับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาพนักงานและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในระหว่างที่เรากำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์โรคระบาด
การฟื้นฟูหลังสถานการณ์โควิด เกี่ยวของกับการสนับสนุนสตรีในภาคธุรกิจโดยตรง
การผลักดันให้เกิดกระบวนการในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในธุรกิจการค้าเป็นปัจจัยหลักในการผลักดันให้ผู้ประกอบการสตรีเติบโตก้าวหน้า เริ่มจากการปรับโครงสร้างที่มีการริเริ่มโดยรัฐบาลให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ อาทิ ให้ความสนับสนุนด้านการเงินโดยตรงกับธุรกิจ ด้วยการเปลี่ยนไปใช้การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในการแจกจ่ายเงินทุน การพัฒนาในรูปแบบดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กโดยเฉพาะ เนื่องจากเจ้าของธุรกิจเหล่านี้หลายคนยังไม่มีบัญชีธนาคารเป็นของตนเอง การนำพาคนเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเงินอย่างเป็นทางการ จะช่วยให้พวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มากขึ้นในทุกๆวัน พวกเขาจะสามารถรับส่งเงินได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั้งในและนอกประเทศ ผ่านการก้าวเข้าสู่โลกของอีคอมเมิร์ซ
สถานการณ์โรคระบาด และการปิดประเทศ ทำให้ธุรกิจทั่วโลกมองเห็นความสำคัญของการปรับโครงสร้างและการดำเนินธุรกิจให้เป็นแบบออนไลน์หรือดิจิทัลไลเซชั่น (digitisation) ธุรกิจหลายแห่งสามารถรอดชีวิตจากสถานการณ์ และจำนวนลูกค้าที่ลดน้อยลง สู่การริเริ่มหรือขยายธุรกิจในรูปแบบอีคอมเมิร์ซ ในบางกรณีนับเป็นการต่อลมหายใจครั้งใหม่เลยทีเดียว ทุกวันนี้ ประเทศไทยยังคงประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมที่เกิดจากโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศที่ไม่เท่าเทียมกัน (digital divide) และธุรกิจที่กำลังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ก็คือธุรกิจที่สามารถปรับตัวก้าวเข้าสู่โลกอีคอมเมิร์ซได้นั่นเอง เนื่องจากธุรกิจของผู้ประกอบการสตรีส่วนมากเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอี การปรับโครงสร้างและการดำเนินธุรกิจให้เป็นแบบออนไลน์จะมอบข้อได้เปรียบให้แก่ธุรกิจเหล่านี้โดยเฉพาะ กระบวนการดิจิทัลไลเซชั่นก่อให้เกิดประโยชน์แก่ภาคธุรกิจโดยรวม สำหรับผู้ประกอบการสตี ดิจิทัลไลเซชั่นไม่เพียงช่วยให้ธุรกิจเติบโตเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจและการจ้างงานอีกด้วย
เราทุกคนมีส่วนร่วมในการผลักดันความก้าวหน้าของสตรี
เราทุกคนควรตระหนักว่า ความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจของสตรี ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สตรีเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วย ธนาคารโลกเผยว่า ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกสูญเสียเงินถึง 172 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเนื่องมาจากความแตกต่างด้านรายได้ตลอดชีพระหว่างบุรุษและสตรี[3] ดังนั้น การพัฒนาโซลูชั่น การปรับใช้เทคโนโลยี และการนำความรู้ความเชี่ยวชาญมาประยุกต์ใช้เพื่อผลักดันให้สตรีและธุรกิจของผู้ประกอบการสตรีเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นถือเป็นเรื่องสำคัญ สตรีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์โรคระบาด เวลานี้นับเป็นเวลาที่เราทุกคนควรจะรวมพลังเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเปลี่ยนความเสี่ยงให้กลายเป็นความยืดหยุ่น นับเป็นก้าวแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความมั่นคงและเอื้ออำนวยให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้นในอนาคต
เกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ด
มาสเตอร์การ์ด เป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกด้านการชำระเงิน เป้าหมายของเราคือการเชื่อมต่อและขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้ครอบคลุมและเป็นประโยชน์แก่คนทุกคนในทุกพื้นที่ โดยการทำให้ธุรกรรมการเงินเป็นเรื่องปลอดภัย สะดวก และเข้าถึงได้ ด้วยข้อมูลที่ปลอดภัยและเครือข่ายพันธมิตร ทำให้เรามีนวัตกรรมและโซลูชั่นต่างๆ ที่สามารถช่วยบุคคลทั่วไป สถาบันการเงิน รัฐบาล และธุรกิจให้ตระหนักถึงศักยภาพของตัวเอง การทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อคนในองค์กร คือวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนทั้งภายในและภายนอกองค์กรของเรา ด้วยเครือข่ายในกว่า 210 ประเทศและพื้นที่ เราได้สร้างโลกที่ยั่งยืนและปลดล็อคความเป็นไปได้ในหลายๆ ด้าน