NB-IoT Wristband Tourist Tracking หรือนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ ถือเป็น Digital Tools อันใหม่ โดยเป็นความร่วมมือ ระหว่าง เอไอเอส และบริษัท พีเอ็มเอช โฮลดิ้ง จำกัด หรือ POMO ผู้ให้บริการโซลูชั่น Tracking และ Monitoring ในการพัฒนาโซลูชัน Healthtech for Tourist Quarantine สำหรับ Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย มาช่วยมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Monitoring) ของนักท่องเที่ยว ทั้ง อุณหภูมิร่างกาย, อัตราการเต้นของหัวใจ, สัญญาณชีพจร, ค่าความดันรวมถึงพิกัดของนักท่องเที่ยว เพื่อให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพของนักท่องเที่ยวได้แบบเรียลไทม์ ในระหว่างกักตัว 14 วันบนเรือ
ทั้งยังมาพร้อมกับฟังก์ชันสำคัญ SOS ปุ่มฉุกเฉินที่จะแจ้งเตือน ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ได้ ถือเป็นการนำเทคโนโลยี AIS IoT มาช่วยงานด้านสาธารณสุข ลดการสัมผัส ลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ เสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภา
สำหรับ Devices ที่นำมาใช้ในโครงการ Digital Yacht Quarantine มี 2 รุ่นคือ Activ 10+ และSmartwatch Active 30+
เกี่ยวกับ AIS NB-IoT
เอไอเอสเป็นรายแรกที่เปิดให้บริการเครือข่าย NB-IoT และ EMTC ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยมีคุณสมบัติที่เหมาะกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Internet Of Things ที่จะเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ครอบคลุมพื้นที่ใช้งานระยะไกล, เหมาะกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ที่ไม่มีการเคลื่อนที่มากนัก,ใช้ Bandwidth น้อยในการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT , ใช้พลังงานในการเชื่อมต่อน้อย ทำใหัอุปกรณ์ IoT ที่มีการใช้พลังงานจาก Battery หรือ Solar Cell สามารถทำงานได้อย่างยาวนาน ดังนั้นจึงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับผลิตภัณฑ์หรือโซลูชันกลุ่ม Smart Things ที่เน้นการอ่านค่าจากข้อมูล Sensor และรับคำสั่งกลับไปจาก Server หรือ Cloud ส่วนกลางเป็นหลัก ตอบโจทย์ Smart City โดย สมาคม GSMA - Global System for Mobile Communications Association ได้ประกาศรับรองให้ เอไอเอส เป็นผู้ให้บริการรายแรกและรายเดียวในไทย ที่มีทั้งโครงข่าย NB-IoT และ eMTC (enhanced Machine-Type Communication) ครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2561 ซึ่ง AIS NB-IoT รองรับการใช้งานและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ครอบคลุมทั้งบนพื้นดิน สามารถกระจายสัญญาณได้มากกว่า 10 กม. ในทะเล
จุดเด่นเครือข่าย Narrow Band IoT ประกอบด้วย
1.สนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ จึงช่วยทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ IoT อยู่ได้นานถึง 10 ปี
2.สามารถรองรับปริมาณอุปกรณ์ IoT ได้สูงสุดในระดับแสนตัวต่อสถานีฐาน
3.รัศมีครอบคลุมของเครือข่ายต่อสถานีฐาน กระจายได้มากกว่า 10 ก.ม. รวมถึงในตัวอาคารก็ยังรับสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ
4.สามารถพัฒนาเครือข่ายให้เปิดบริการ IoT ได้อย่างรวดเร็ว เพราะออกแบบอุปกรณ์ให้ใช้ร่วมกับ โครงข่าย 4G ในปัจจุบันได้ เหมาะแก่การนำไปใช้ ในทุกกลุ่ม Solutions อาทิ Smart City, Smart Industrial, Smart Logistics และ Smart Home
ทั้งนี้ ในปี 2018 เอไอเอส ยังได้รับการยอมรับจาก Frost & Sullivan องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ที่ประกาศให้เอไอเอสเป็น Thailand IoT Solutions Provider of the Year 2018 หรือ องค์กรที่มีความเป็นเลิศทางด้านบริการ IoT ตอกย้ำเครือข่ายที่ดีที่สุด
กระบวนการ Digital Yacht Quarantine จ.ภูเก็ต
Process Flow by FLOWLOW
Step1: เมื่อมีนักท่องเที่ยว, เจ้าของเรือ หรือ ลูกเรือ ต้องการจะเข้ามาในราชอาณาจักรไทยในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ผู้ที่จะเข้าโครงการ Yacht Quarantine จะประสานมากับทาง Agency ในพื้นที่เพื่อดำเนินการด้านเอกสารและแจ้งรายระเอียดต่างๆ ตามขั้นตอน (SOP) ที่ได้มีการกำหนดไว้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ศรชล ด่านควบคุมโรง โรงพยาบาล ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง FLOWLOW และท่าเทียบเรืออ่าวปอ ซึ่งเป็นบริเวณจุดจอดเรือสำหรับการทำการ Quarantine ระยะเวลา 14 วัน ซึ่งทางผู้เข้าโครงการกักตัวจะต้องแจ้งรายระเอียของเรือ ลูกเรือ ท่าเรือต้นทาง ท่าเรือปลายทาง Passport รูปภาพผู้ทำการ Quarantine ทุกคน เป็นต้น
Step2: หลังจาก Agency ได้รับข้อมูลครบถ้วนและประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว จะทำการคอนเฟิร์มวันที่เรือลำดังกล่าวจะเข้าจุดจอดเรือที่ 1 หรือ 2 ตามที่หน่วยงาน ศรชล ได้กำหนดไว้ สำหรับ Day0 ทาง FLOWLOW ก็จะทำการลงทะเบียนนักท่องเที่ยวและข้อมูลที่เกี่ยวข้องทุกอย่างลงในฐานข้อมูลและลิงก์เข้ากับ Smart Wristband ของ FLOWLOW เพื่อเตรียมการต่างๆตามมาตรการของ FLOWLOW
Step3: FLOWLOW ก็จะเตรียมทำความสะอาดตัว Smart Wristband แพ็คในถุงซีลเพื่อความสะอาด ชาร์จอุปกรณ์ มีเอกสารแนะนำการใช้ รวมอยู่ใน Package และนำไปส่งมอบให้คุณหมอผู้ที่จะลงเรือเพื่อไปทำการตรวจโรคใน Day1 บนเรือของผู้ที่เข้าโครงการ Yacht Quarantine ที่จอดลอยลำอยู่ ณ จุดที่กำหนด
Step4: สำหรับ Smart Wristband ผู้ที่ทำการกักตัวจะต้องสวมใส่อุปกรณ์ตลอดเวลาที่ทำการ Quarantine บนเรือ และจะมีเวลาเพื่อถอดอุปกรณ์ออกมาชาร์จแบตเตอรี่ ในช่วงเวลา บ่าย 2 - 4 โมงเย็นของทุกวัน เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีเจ้าหน้าที่ ศรชล ที่สามารถควมคุมดูแลได้อย่างสะดวก
Step5: ในระหว่างที่ทำการ Quarantine 14 วันนั้น ทาง FLOWLOW จะมีทีมในการ Monitor ข้อมูลต่างๆของผู้ทำการกักตัวจากระบบหลังบ้าน เพื่อความเรียบร้อยและเฝ้าระวังในกรณีฉุกเฉิน โดยในระบบหลังบ้านเรามีการ Monitor ข้อมูล GPS และ Health Information ของผู้ทำการกักตัวอย่างละเอียด โดยจะมีกราฟแสดงข้อมูลในแต่ละวันอย่างชัดเจน ว่ามีความผิดปกติตรงไหน อุณหภูมิร่างกายผิดปกติไหม การเต้นของหัวใจเป็นยังไง เป็นต้น
ข้อมูลผู้ทำการกักตัวทุกคนจะถูกเก็บไว้ในระบบอย่างปลอดภัยตามกฏหมายป้องกันความปลอดภัยของประเทศไทย (PDPA) อย่างเคร่งครัด
Step6: หลังจากเสร็จสิ้นการกักตัว Agency จะนำ Smart Wristband มาคืน ณ ท่าเรืออ่าวปอ หลังจากนั้น FLOWLOW ก็จะนำอุปกรณ์มาทำความสะอาดตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดและเตรียมสำหรับการใช้งานในครั้งต่อไป