'ส. ขอนแก่นฟู้ดส์' หรือ SORKON เปิดช่องทาง Ecommerce ทั้งรูปแบบ Website ของบริษัท shop.sorkon.co.th และ Market place ต่าง ๆ ในรูปแบบ Lifestyle ภาพลักษณ์ใหม่ ครั้งแรกของวงการอาหารไทย ตอบโจทย์การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในยุค New Normal เจาะกลุ่มเป้าหมาย Young generation และขยายเข้าสู่ร้านค้ารายย่อย (B2B) หวังสร้างยอดขายผ่านช่องทาง Ecommerce ให้ไม่น้อยกว่า 5% ภายใน 3 ปีข้างหน้า ชี้จุดเด่น รูปแบบการสั่งซื้อสินค้า สะดวก รวดเร็ว สะอาด และปลอดภัย ขนส่งได้ทั้ง 3 อุณหภูมิ ไม่ว่าจะเป็น สินค้าสด สินค้าแห้ง และสินค้าแช่แข็ง ทำให้ควบคุมคุณภาพสินค้าได้ก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค
นายจรัสภล รุจิราโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจอาหารพร้อมรับประทาน (RTE-QSR) บริษัท ส. ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SORKON ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์รายใหญ่ของไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันแพลตฟอร์ม E-commerce มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลายปัจจัยที่เข้ามาขับเคลื่อนการเติบโต โดยเฉพาะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และความสามารถในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น ส่งผลให้ทั้งจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายในธุรกิจอีคอมเมิร์ซของไทยเติบโตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเมื่อดูจากกิจวัตรประจำวันหลาย ๆ อย่าง แทบจะถูกย้ายจากออฟไลน์มาอยู่บนดิจิทัลเป็นหลัก ซึ่งผู้บริโภคเสพติดความสะดวกสบายในการใช้งานของ Marketplace หรือช่องทาง Social commerce ประกอบกับค่าขนส่ง รวมถึงราคาสินค้าที่ถูกลงมากจากการแข่งขันของผู้ให้บริการด้าน Logistic และ Marketplace รายใหญ่ ๆ ในประเทศ
บริษัทฯ เล็งเห็นการขยายโอกาสเพื่อสร้างการเติบโตผ่านแฟลตฟอร์ม E-commerce โดยทำการเปิดตัว Website Ecommerce shop.sorkon.co.th เว็บไซต์ซื้อของ Online Lifestyle แบบใหม่ครั้งแรกของวงการอาหารของ ส. ขอนแก่น เพื่อตอบโจทย์การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน จึงเกิดไอเดียการทำ Website เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ สะดวก รวดเร็ว สะอาดและปลอดภัย ในยุค New Normal โดยมีจุดเด่นของแฟลตฟอร์ม คือ การนำเสนอภาพลักษณ์ในการขายอาหาร ผ่านรูปแบบแฟชั่นไลฟ์สไตล์เป็นเจ้าแรกของไทย เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกถึงความเชื่อมโยงของการรับประทานอาหารพื้นเมืองในไลฟ์สไตล์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น
สำหรับแนวทางการพัฒนาสินค้าที่ให้บริการผ่าน Website Ecommerce จะเป็นสินค้าหรือบริการแบบ Exclusive เฉพาะช่องทาง E-commerce เท่านั้น อีกทั้งรูปแบบการส่งสินค้าสามารถรวมกันได้ทั้ง 3 อุณหภูมิ ไม่ว่าจะเป็น สินค้าสด สินค้าแห้ง และสินค้าแช่แข็ง ในรถขนส่งที่มีการควบคุมอุณหภูมิตลอดการขนส่ง โดยลูกค้าสามารถรอรับสินค้าภายในวันเดียวกัน หรืออาจจะเป็นวันถัดไปในพื้นที่กรุงเทพฯ หรือสามารถรับสินค้าได้ที่ 7-11 ทั่วประเทศ สำหรับกรณีสินค้าอุณหภูมิปกติ อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังสามารถสั่งสินค้าได้จากทุกช่องทางตามความสะดวก ไม่ว่าจะเป็น Marketplace, Website หรือ Social media platform ของบริษัทฯ อีกด้วย
"เรามองการทำ E-commerce ในบริษัทเป็นหน่วยงาน Start up ขนาดย่อมในองค์กรที่มีขนาดเล็ก ตัดสินใจได้เร็ว และสามารถลองผิดลองถูกได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการใช้ประโยชน์หรือต่อยอดจากเทคโนโลยี หรือช่องทางที่มีผู้พัฒนาไว้แล้วมากกว่าการพัฒนาทุกอย่างด้วยตัวเอง แล้วนำมาผนวกกับจุดเด่นเดิมของบริษัทที่มีทั้งความหลากหลายของสินค้า และช่องทางจัดจำหน่ายเพื่อให้เกิดการบูรณาการกันให้ได้ประโยชน์มากที่สุด เราจึงไม่ได้มองการทำ E-commerce เป็นการทำ Website ขายของ แต่เป็นการคิดค้นวิธีใหม่ ๆ ที่จะเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุด ในต้นทุนที่ถูกลงจากเครือข่ายทั้งหมดที่บริษัทมีอยู่ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับทางลูกค้าเอง" นายจรัสภล กล่าว
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ คาดหวังในการสร้างยอดขายผ่านช่องทาง Website Ecommerce ให้ไม่น้อยกว่า 5% ภายใน 3 ปีข้างหน้า โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมาย Young generation ที่มีข้อได้เปรียบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Technology และ Internet ในการหาซื้อของหรือหาข้อมูลเพื่อสิ่งอำนวยความสะดวกของตัวเองและการขยายเข้าสู่ร้านค้ารายย่อย (B2B) ซึ่งสามารถสร้างรายได้กับธุรกิจอย่างคุ้มค่า และภาคธุรกิจมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันยืนยาว นอกจากนี้ บริษัทฯ มุ่งขยายฐานให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นไลฟ์สไตล์วัยรุ่นมากขึ้น เพื่อที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าในการนำมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้ตอบโจทย์กับลูกค้าได้ในอนาคต