หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ได้รับโอกาสการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ในการทำโครงการการสังเคราะห์บทเรียนในเชิงหลักคิดและหลักปฏิบัติเพื่อการขยายผลพัฒนากิจการพระพุทธศาสนา ในประเทศไทย
โดยได้เลือกทำใน ๓ ด้าน ประกอบด้วย
๑.ด้านศาสนธรรม-การส่งเสริมการปฏิบัติธรรม
๒.ด้านศาสนประเพณี พิธีการ
๓. ด้านศาสนสมบัติ ในวัดและองค์กรทางพระพุทธศาสนา
โดยได้ทำการวิจัยด้านละ ๔ แห่งซึ่งเป็นตัวแทนลักษณะ ระดับ ขนาด และพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย นำเสนอโมเดลในการจัดการวัดให้สมสมัย : ทบทวนว่าวัดมีไว้เพื่ออะไร, เราช่วยวัดอะไรได้บ้าง, กรณี ที่วัดหรือ องค์กรพุทธ บริหารจัดการได้ดีแล้ว อยากนำมาเป็น โมเดลให้กับวัดในประเทศไทย, งานวัด คือ working for วัด ไม่ใช่จัดแค่งานวัดของเล่น
โดยมี 'พระธรรมกิตติเมธี' (เกษม สุญญโต) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร รักษาการเจ้าคณะภาค ๑๖, ๑๗, ๑๘ (ธรรมยุต) ในหมู่นักเคลื่อนไหวชาวพุทธ จะรู้จักพระธรรมกิตติเมธีในนาม "เจ้าคุณเกษม" ประธานศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย (ศพศ.)เรื่อง ศาสนประเพณี ทำอย่างไร จึงจะเข้าถึงใจ, 'ดร.วิรไท สันติประภพ'(ประธานกรรมการ บริหาร หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ภาพรวมการจัดการงานพระพุทธศาสนา วิถีใหม่, 'ศาสตราจารย์เกียรติคุณ 'นายแพทย์ประเวศ วะสี', 'นายสมปรารถนา สุขทวี' รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), 'รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล' ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม (สกสว.), 'ดร.บัณฑิต นิจถาวร' ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมา ภิบาล เรื่องการจัดการ ศาสนสมบัติ / ความโปร่งใสของการจัดการเงินบริจาค, 'นพ.บัญชา พงษ์พานิช' กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ ร่วมกับคณะสงฆ์ที่สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ที่มาจากพื้นที่ที่ได้ทำการวิจัยเพื่อเป็นการร่วมถวายงานเปลื้องธุระสงฆ์
โดยสรุปเนื้อหาสำคัญในงาน ที่จะก่อเกิดประโยชน์ต่อการพระพุทธศาสนาสมเจตนาของโครงการสืบไป ดังนี้
'สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)' "แต่ก่อนนี้วัดแต่ละวัดเป็นวัดของชาวบ้าน เป็นวัดของหมู่บ้าน วัดนี้ชื่อนี้ เป็นวัดของเรา มีความผูกพันกัน มีความสำคัญต่อชีวิตของเขา ปัจจุบันนี้ วัดกับบ้านจะแยกกันแล้ว โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่เขาไม่ค่อยได้ไปวัด เวลาไปวัดเขามองวัดยังไง ภาษาสมัยใหม่เขาเรียกว่าแปลกแยก ไม่รู้สึกสัมพันธ์ ทำยังไงจะฟื้นพุทธศาสนาที่เป็นของหมู่บ้าน ชุมชนให้มันขึ้นมา ถ้าอันนี้ไปหมดเราจะฟื้นข้างบนยังไงก็ไม่ยั่งยืน พุทธศาสนาในเมืองไทยตอนนี้ ใกล้จะเหมือนน้ำที่เหลือแต่ขวดเปล่า ขวดคือประเพณี พิธีกรรมยังอยู่, แต่เนื้อในที่เป็นธรรมะแถบจะหมดเพราะงั้นเวลานี้สำคัญมากเอาน้ำมาใส่ขวดให้ได้..."
'พระเทพพัชรญาณมุนี (ชยสาโรภิกขุ)' "
อาตมาขอฝากไว้ 2 ข้อ
'ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี' "ความเก่งอย่างเดียวไม่ได้, หลักคิดและหลักปฏิบัติที่ถูกต้องสำคัญมาก, ถ้าหลักคิดผิด หลักปฏิบัติผิด จะนำไปสู่ความเสื่อม
ทุน ๑. วัด ๒. พระ ๓. ประชาชนที่มีศรัทธา ๔. คำสอนของพระพุทธเจ้า (ปัญญาที่สูงที่สุดในโลก). ใช้ทุนที่มีมหาศาลนี้ อย่างไร ให้เกิดประโยชน์ ที่ยิ่งใหญ่ จะจัดการอย่างไร
สำคัญที่สุดคือ คิดเชิงระบบและการจัดการ โครงสร้างและระบบกำหนดคุณสมบัติ การจัดการเป็นอิทธิปัญญา คือ ปัญญาเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างให้ครบ และเกิดคุณสมบัติใหม่ที่มหัศจรรย์
'ดร.บัณฑิต นิจถาวร' "ผมประทับใจ ๓-๔ เรื่อง เห็นความเหมือนในความแตกต่าง ขนาดวัด จำนวนคน ความเหมือนคือความพยายามในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ข้อค้นพบคือวัดไทยให้ความสำคัญกับการตรวจทาน จากการตัดสินใจโดยเจ้าอาวาสคนเดียว ไปสู่การตัดสินใจโดยคณะกรรมการ ตรวจสอบได้ ตรวจทานได้
การมีส่วนร่วมของประชาชนสำคัญมาก เช่น ระบบบัญชี ก. วัดขนาดเล็ก เจ้าอาวาสจดเอง มีผู้ช่วยเป็นเณร หรือบุคคลภายนอกมาช่วยตรวจทานได้ ข. วัดขนาดกลาง มีบุคคลภายนอกเข้ามาช่วยอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เป็นระบบการทำงานที่โปร่งใส หลักการคือมอบหมายอำนาจให้ทำ และสามารถตรวจสอบได้ มีปัจจัยภายนอกเข้ามาช่วยอย่างเป็นระบบ และเข้ามาประจำ ทำให้พระสงฆ์สามารถมีเวลาทำกิจอื่นได้ ค. วัดขนาดใหญ่ มีระบบกรรมการวัด มีการตรวจสอบทางบัญชีอย่างเป็นระบบโดยผู้รู้
สำคัญคือมีศรัทธาจากภายนอกมาช่วยเหลือ, การมีส่วนร่วมของประชาชน สำคัญที่สุด มีความถูกต้อง ๓ ด้าน : ตามกฏหมาย พระธรรมวินัย ธรรมภิบาล
ในการเสวนาบทวิจัยเล่มนี้มีรายละเอียดน่าสนใจหลายส่วน หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหรือ ไฟล์งานวิจัย สามารถส่งเมล์มาขอรับได้ที่ info@bia.or.th